ไม่พบผลการค้นหา
'วิเชียร' โวยฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจครึ่งเดียวถ่วงดุลไม่ได้ อ้างตั้ง ส.ส.ร.กันข้อครหา ส.ส.ปกป้องประโยชน์ตัวเอง

วิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ อภิปรายสนับสนุนร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของฝ่ายรัฐบาลเพื่อเป็นการเปิดประตูด่านแรกแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ของคนไทยที่ร่วมกันกำหนดขึ้นมา และรัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับเป็นกฎหมายสูงสุด จึงแก้ไขยาก และเมื่อแก้ยากและแทบจะแก้ไขไม่ได้จึงต้องยกเลิกแล้วร่างฉบับใหม่ขึ้นมารวมแล้วกว่า 20 ฉบับ ขณะที่รัฐธรรมนูญที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นของประชาชนโดยแท้จริงคือรัฐธรรมนูญ ปี 2540

อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าบทบัญญัติใดเป็นปัญหาก็ควรได้รับการแก้ไข แต่จริงๆ การแก้ไขรัฐธรรมนูญคนที่น่าจะกังวลเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตัวเองควรเป็น ส.ส.เพราะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่จำนวนมาก

ทั้งนี้ การถ่วงดุลอำนาจตามหลักการประชาธิปไตย ฝ่ายนิติบัญญัติน่าจะมีอำนาจน้อยที่สุด และไม่รู้จะเอาอะไรไปถ่วงดุลได้ แม้อำนาจที่แท้จริงของนิติบัญญัติคือการตรากฎหมาย แต่ตอนนี้เหมือนมีอำนาจครึ่งเดียว เพราะมีแผนยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูปที่เป็นกรอบการทำงานและต้องประชุมร่วมกับ ส.ว.ถ้าให้ฝ่ายสภาผู้แทนราษฎรเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญก็อาจจะถือว่าเข้ามาปกป้องอำนาจของตัวเอง จึงต้องมีตัวแทนประชาชนมาเป็นคณะร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ขึ้นมา เราทุกคนไม่ใช่เจ้าของอำนาจนี้อย่างยั่งยืน เราจึงต้องทำให้รัฐธรรมนูญนี้มีความสมบูรณ์ต่อไป

‘อนุศักดิ์’ ป้อง ส.ว. ไม่ได้มีขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจ แต่มีเพื่อแก้ปัญหาเชิงระบบ

อนุศักดิ์ คงมาลัย ส.ว. อภิรายว่าการยื่นเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญแม้บรรยากาศอาจทำให้ดูเหมือนมีหลายขั่ว แต่เป็นความงดงามบนความแตกต่าง ประเทศไทยผ่านการหมุนเวียนของกลุ่มที่มีอำนาจแต่ละขั่ว และการหมุนเวียนนี้ก็อยู่ภายใต้คำว่าแก้ไขปัญหาให้ประชาชน แม้ไม่แน่ใจว่าประชาชนกลุ่มใด ของผู้แทนกลุ่มใด แต่เราก็มีประชาชนเป็นเป้าหมายเหมือนกัน ส.ว.เป็นผู้แทนปวงชน ใครบอกว่าไม่ยึดโยง ก็จะบอกว่าไม่ยึดโยงกับคะแนนเสียงเลือกตั้ง แต่ยึดโยงกับปวงชน ส.ว. ทำหน้าที่ติดตามเสนอแนะการปฏิรูปประเทศ เพราะกลไกบ้านเมืองบกพร่อง กฎหมายซ้ำซ้อน

แต่คนกลุ่มหนึ่งขึ้นมามีอำนาจก็ถูกอีกกลุ่มหนึ่งวิจารณ์เสมอ และคนอีกกลุ่มก็จะรวยขึ้นผิดหูผิดตา อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีไม่ใช่แก้ไขไม่ได้ ทำให้ประเทศชาติมีความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสความเสมอภาคในสังคม สร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปรับปรุงสมดุลของภาครัฐ ดังนั้นหน้าที่ของวุฒิสภาในการดำเนินการจึงเป็นการติดตามยุทธศาสตร์ชาติละแผนปฏิรุปประเทศ 12 ด้านซึ่งเป็นปัญหาของประชาชนทั้งนั้น และปัญหาบางอย่างแก้ด้วยการเมืองไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาในเชิงระบบ ควบคุมการทุจริตคอร์รัปชัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ

ส.ว. ชุดนี้ อีก 3 ปีกว่า ส.ว. ชุดนี้ก็จะหมดวาระและ ก็จะมี ส.ว. ที่มาจากการเลือกกันเองของคนที่สมัครและตัวแทนองค์กร ดังนั้นจึงอย่าเข้าใจผิดว่า ส.ว. ชุดนี้เป็นการไปสืบทอดอำนาจให้ใคร แต่มาแก้ปัญหาให้ประชาชน แต่ถ้าจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแก้เท่าไรก็ไม่จบ เพราะยังมีปัญหาการคุกคามจากสิ่งแวดล้อม ฯลฯ อีกทั้ง ส.ส. ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การกระจายอำนาจ ดังนั้นจึงเรียกว่า ส.ว. แก้ปัญหาเชิงระบบโดยยึดโยงกับประชาชนท การยกเลิกอำนาจของ ส.ว. เท่ากับเป็นการไประงับการแก้ไขปัญหาของประชาชน

“อย่าแก้ไขปัญหาโดยการสร้างปัญหาหรือกล่าวหาคนอื่นว่าไม่ได้เห็นด้วยกับตนนั้นเป็นศัตรูทั้งหมด ในขณะที่จะมาขอคะแนนเสียง อย่าปลูกฝังความคิดเกลียดชังทำลายล้างระบบอาวุโส ซึ่งเป็นะรบบที่มีความอบอุ่นของประเทศไทย ความหลากหลายทางสังคมยุคใหม่ที่ไม่สร้างสรรค์อย่านำเอามาใช้ สิทธิเสรีภาพที่ไร้ขอบเขตที่เกินเหตุและขาดหลักเหตุผล การใช้สื่อยุคใหม่เพื่อทำลายล้างสร้างข่าวเท็จข่าวลือ ปลุกปั่นอารมณ์และเพิ่มความร้าวฉานให้กับประชาชนคนไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ลดทอนศักยภาพของประเทศเราโดยตรงเหมือนไก่ที่จิกกันเองแล้วทำให้ทุกคนแพ้หมดทั้งสิ้น”

สมาชิกรัฐสภาบางส่วนอยากให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขบางมาตรา อยากเลือก ส.ว. ด้วยตนเองแต่เสียดายงบประมาณ อยากทำอะไรด้วยตนเองที่ไม่อยากให้พรรคการเมืองครอบงำ ตนจะโหวตให้แก้ไขได้ทุกๆ หลักการ แต่ต้องผ่านการรณรงค์สร้างความรู้ให้ประชาชนก่อน แต่วันนี้ตนยังไม่รับทั้งหมด