โลกสูญเสียมนุษย์เกิน 2.6 ล้านคน จากโควิด-19 แต่การจากไปอาจไม่ส่งผลร้ายแรงกับอนาคตความมั่นคงของมนุษยชาติเท่ากับการไม่เกิดใหม่
ประเทศแรกๆ ในยุโรปที่ได้รับผลกระจากวิกฤตข้างต้นอย่างอิตาลีมีตัวเลขอัตราการเกิด ลดลงถึง 22% ในเดือน ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา (9 เดือนเต็ม หลังโควิดปะทุ)
เทรนด์ดังกล่าวยังเกิดขึ้นกับประเทศอย่างญี่ปุ่น รวมไปถึงไต้หวัน ที่มีสัดส่วนเด็กเกิดใหม่ต่อผู้หญิงลดลงต่ำกว่า 1 เป็นครั้งแรก
เกาหลีใต้อยู่ในสถานะสุ่มเสี่ยงอย่างหนัก เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศมีประชากรเกิดใหม่เพียง 275,800 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น้อยกว่าปี 2562 ถึง 10% ทั้งยังมีสถิติผู้เสียชีวิตทะลุไปถึง 307,764 ราย
ขณะประเทศจีนที่เคยมีเด็กแรกเกิดสูงถึง 11.8 ล้านคน เมื่อปี 2562 ลดลงมากว่า 12% เหลือประมาณ 10 ล้านคนในปีที่ผ่านมา
แนวโน้มเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงลางร้ายอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาที่ถูกประเมินว่าจะมีตัวเลขผู้สูงอายุแซงหน้าเด็กเล็กในปี 2573 ตั้งแต่ก่อนจะเกิดโควิด-19 ด้วยซ้ำ
เจมส์ โพเมอร์รอย นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคา HSBC ระบุว่า หากปล่อยให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อไปเรื่อยๆ อัตราการเกิดของเด็กก็จะยิ่งลดลง จนกลายเป็นปัญหาถาวรที่ส่งผลกระทบกับอัตราการเติบทางเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีแรงงานเข้าสู่ระบบน้อยลง ขณะที่ภาระหนี้ระยะยาวมีความเสี่ยงจะไม่ถูกใช้คืนมากขึ้น เจมส์คำนวณว่า ในอีก 20 ปีต่อจากนี้ จะมีแรงงานวัยหนุ่มสาวเข้าสู่ระบบน้อยลงประมาณ 10% ถึง 15%
เมื่อเข้าสู่ภาวะเช่นนั้น รัฐบาลที่มีแรงงานไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลโดยตรงกับรายได้ภาษี ต้องเอาเงินรายได้ที่น้อยอยู่แล้วนั้น ไปทุ่มให้กับกลุ่มประชากรอายุเยอะที่มีศักยภาพในการสร้างเศรษฐกิจน้อย อาทิ ในกลุ่มสาธารณสุขหรือเบี้ยผู้สูงอายุในจำนวนมากขึ้น เป็นวังวนให้ประเทศพัฒนาไม่ได้
งานวิจัยยังพบความเชื่อมโยงระหว่างอัตราการเกิดกับอัตราดอกเบี้ยออย่างมีนัยสำคัญ อัตราการเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงอย่างหนักในช่วงทศวรรศที่ 60 และ 70 ในสหรัฐฯ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในทศวรรษที่ 80 ตกลง
ในทำนองที่คล้ายคลึงกัน วิจัยจากธนาคารกลางของญี่ปุ่นพบว่า อัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นที่ตกลงมากกว่า 40% ระหว่างทศวรรษที่ 60 ถึงปี 2558 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของประชากรวัยทำงาน ที่ส่วนหนึ่งมีบุตรน้อยลง ขณะที่อีกส่วนมีอายุยืนยาวขึ้น
ไม่เพียงว่าสภาพเศรษฐกิจจะส่งผลกับการมีบุตรแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ถูกมองข้ามคือสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษในปัจจุบันทำให้การมีลูกเป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น
วิจัยที่ตีพิมพ์ในปี 2560 พบว่า จำนวนสเปิร์มหรือตัวอสุจิของผู้ชายลดลงถึง 50% ระหว่างปี 2516 - 2554 ขณะที่ในเวลาใกล้เคียงกัน งานวิจัยอีกฉบับพบการแท้งลูกของผู้หญิงเพิ่มสูงถึง
หนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อภาวะข้างต้นเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษจนเข้าไปทำลายระบบต่อมไร้ท่อซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการสร้างฮอร์โมน
ยิ่งเมื่อสภาพเศรษฐกิจทำให้ครอบครัวตัดสินใจมีลูกช้าลง ร่างกายของผู้หญิงในอายุที่มากขึ้น ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ ยิ่งส้รางความเสี่ยงต่อการคลอดบุตรอย่างปลอดภัยเพิ่มขึ้น
สิ่งที่น่ากังวลที่สุดสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันคือ นอกจากโควิด-19 จะทำให้เกิดการชะงักตัวในการสร้างครอบครัวแล้ว ปัญหาอัตราการเกิดที่ต่ำลงยังยากต่อการแก้ไขในระดับโลก เพราะแม้จะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศจากประเด็นค่าแรงที่ได้เปรียบกว่า แต่ท้ายสุดแล้วเมื่อมองภาพรวมระดับโลก ตัวเลขเด็กเกิดใหม่ที่จะกลายมาเป็นพลเมืองโลกและแรงงานของโลกยังคงน้อยลงอยู่ดี