นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท.กล่าวถึง การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสำหรับแรงงานแรกเข้า 400-425 บาทต่อวัน ว่า ขบวนการแรงงานกำลังจับตาการดำเนินการของรัฐบาลอยู่ เพราะพรรคแกนนำรัฐบาลได้หาเสียงไว้ ถือเป็นสัญญาประชาคม และเชื่อว่าหากมีความจริงใจสามารถทำได้ทันที เพราะเมื่อครั้งภาครัฐมีนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 150 กว่าบาท เป็น 300 บาทต่อวัน หรือขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ยังสามารถทำได้และนายทุนก็ไม่ได้ล้มละลาย แต่ได้ประโยชน์จากการลดอัตราภาษีและมาตรการอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันหากขึ้นค่าแรงจาก 325 บาทคิดจากในกรุงเทพมหานครเป็น 400 บาท ก็ขึ้นเพียง 75 บาท หรือราวร้อยละ 23 เท่านั้น
ดังนั้นรัฐบาลหรือนักการเมืองจึงต้องทำตามที่หาเสียงไว้ สมัยหน้าประชาชนจะได้เลือกเข้ามาทำงานอีก และไม่ต้องกลัวว่าแรงงานข้ามชาติจะได้ประโยชน์ เพราะก็ทำงานและใช้จ่ายในไทย อาจส่งเงินกลับประเทศไม่ถึงร้อยละ 20 เพราะลำพังใช้จ่ายรายวันก็อาจไม่เพียงพออยู่แล้ว ความคิดดังกล่าวจึงถือส่า ไม่เป็นธรรมกับแรงงานข้ามชาติอย่างยิ่ง
ส่วนข้อกังวลที่ว่า นายจ้างอาจแบบรับต้นทุนการผลิตไม่ไหว จนถึงขั้นย้ายฐานการผลิตหรือปิดกิจการนั้น ไม่เป็นความจริงและเป็นเพียงข้ออ้างของฝ่ายนายจ้างผ่านสภาอุตสาหกรรม, สภาหอการค้าและองค์กรของนายทุนต่างๆ เท่านั้น เพราะหากจะย้ายฐานการผลิตก็ย้ายเพราะมีอยู่แผนงานของนายทุนอยู่แล้วในกิจการบางแห่งหรือบางส่วนงาน ที่สำคัญจากที่ คสรท.และองค์กรแรงงานต่างๆได้สำรวจพบว่า ต้นทุนการผลิตในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เป็นค่าแรงงานไม่ถึงร้อยละ 5 เท่านั้น นอกนั้นเป็นค่าต้นทุนอื่นๆ และภาษีรวมประมาณร้อยละ 70 ขณะที่นายทุนได้กำไรจากผลิตภัณฑ์คิดเป็นรายชิ้นและผลผลิตโดยรวมถึงร้อยละ 30
นายชาลี ระบุด้วยว่า การที่ผู้มีอำนาจโยนการตัดสินใจเรื่องขึ้นค่าแรง ให้คณะกรรมการไตรภาคี ที่ประกอบด้วย นายจ้าง, ลูกจากและภาครัฐ 3 ฝ่ายนั้น เป็นเพียงวาทกรรม เพื่อเบี่ยงประเด็นให้สังคมไปโทษคณะกรรมการไตรภาคีหากไม่มีการขึ้นค่าแรงตามที่หาเสียงไว้ ที่สำคัญ การขึ้นค่าแรงอยู่ในการตัดสินใจของคณะกรรมการไตรภาคีตลอดมา แล้วพรรคการเมืองจะมาหาเสียงว่าจะขึ้นค่าแรงทำไม ถ้าไม่มีอำนาจทำได้ นอกจากนี้ เมื่อมีความเห็นขัดแย้งกันในคณะกรรมการไตรภาคี ก็จะมีการลงมติ 3 ฝ่าย ซึ่งฝ่ายรัฐมักเข้าข้างนายจ้างเป็นมติ 2 ต่อ 1 เสมอ ถ้าภาครัฐเห็นว่าต้องขึ้นค่าแรง ก็ควรลงมติร่วมกับฝ่ายลูกจ้างซึ่วงรียกร้องมาตลอดได้ และการที่ค่าแรงจะขึ้นมากน้อยขนาดไหนหรือไม่ขึ้นเลยนั้น ถือเป็นตัวชี้วัดความจริงใจของรัฐบาลภายใต้ระบบไตรภาคีได้
ส่วนข้ออ้างที่ว่า ให้แรงงานพัฒนาหรือยกระดับฝีมือแรงงานก่อนนั้น ฟังไม่ขึ้น เพราะเเรงงานพัฒนาตัวเองเสมอ เชี่ยวชาญในอาชีพที่ทำตามอายุงาน อีกทั้งมีการประเมิณจากนายจ้างเพื่อให้คุ้มทุนในการผลิตและใช้เป็นเกณฑ์เพิ่มค่าแรงรายปีอยู่แล้ว นอกจากนี้การฝึกอบรมของรัฐต่างๆก็ทำในวันทำงานซึ่งต้องถามกลับว่า นายจ้างจะให้ลาไปฝึกอบรมหรือไม่ด้วย ที่สำคัญ เมื่อฝึกอบรมได้ใบประกาษรับรองแล้ว ก็ไม่มีงานทำหรือไม่ได้ขึ้นค่าแรงตามที่กล่าวอ้าง เพราะถาครัฐไม่มีกฎหมายบังคับให้นายจ้างต้องจ้างผู้ผ่านการอบรม ลักษณะคล้ายคนจบปริญญาตรีที่ตกงานจำนวนมาก หรือ ต้องใช้วุฒิการศึกษา ปวช.หรือ ม.6 เพื่อเข้าทำงานโรงงานในอัตราค่าจ้าง 300 บาทต่อวัน เนื่องจากวุฒิปริญญาตรี 500 บาทต่อวัน นายทุนไม่รับเข้าทำงานนั่นเอง
นายชาลี ยืนยันว่า ค่าแรงที่เหมาะสมจากที่เคยสำรวจหลายปีก่อนคือ 360 บาทต่อวันต่อคน แต่ตามหลักการสากลที่ต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัวอีกอย่างน้อย 3 คน จึงอยู่ที่ 760 บาทต่อวันโดยประมาณ แต่ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย ซึ่งคำนวนค่าแรงที่เหมาะสมมีหลักการคำนึงทั้ง ศักยภาพนายจ้าว GDP ค่าครองชีพ, เงินเฟ้อ และอื่นๆราว 10 หลักเกณฑ์ ซึ่งในระบบไตรภาคีก็นำมาใช้
พร้อมย้ำว่า ต้องกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเท่ากันทั่วประเทศ เพราะค่าครองชีพในต่างจังหวัดก็สูงเท่าๆกับในกรุงเทพมหานคร บางจังหสุดค่ารถโดยสารแพงกว่าด้วยซ้ำ และค่าแรงปัจจุบันไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของแรงงาน ทำให้ต้อวทำโอที ห่างเหินครอบครัวและมักกระทบสุขภาพจนเกิดโรคหรืออุบัตืเหตุจากการทำงาน อย่างไรก็ตาม การขึ้นค่าแรง 400 บาททำให้ชีวิตแรงงานดีขึ้น แต่ก็ไม่มากนัก ส่วนนายทุนได้รับผลกระทบน้อยมาก เมื่อเทียบกับกำไรที่ได้รับ
อ่านเพิ่มเติม