ไม่พบผลการค้นหา
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ระดมนักวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และมหาวิทยาลัยชั้นนำ20 แห่งทั่วโลก สร้างความเข้าใจ “หลักนิติธรรม”ให้กับ หน่วยงานรัฐ นักวิชาการ คนรุ่นใหม่ในไทย หวังแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศตามหลัก SDGs สหประชาชาติ

ในภาวะที่สังคมไทยเรียกร้องหาหลักนิติธรรมเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและความขัดแย้งในประเทศ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)  ได้ร่วมกับ Institute for Global Law and Policy (IGLP) แห่งคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จึงร่วมกันผลักดันหลักสูตร “หลักนิติธรรม” และระดมนักวิชาการทั่วโลก เข้าร่วมอบรมสร้างความเข้าใจ “ หลักนิติธรรม “ ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

ศ.พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย(TIJ) กล่าวว่า ทำงานร่วมกับสหประชาชาติ ที่มีบทบาทระดับนานาชาติในการเสริมสร้างมาตรฐานกระบวนการยุติธรรมและหลักนิติธรรมในระดับสากล ร่วมกับ Institute for Global Law &Policy (IGLP) คณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จัด World-Class Workshops ในรูปแบบ Co-Program เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักนิติธรรมแก่นักวิชาการ  มหาวิทยาลัย นักวิจัย และผู้นำองค์กร ผู้บริหารประเทศในภูมิภาคนี้

ทั้งนี้การทำให้สังคมมีความเข้าใจและเกิดหลักนิธิธรรมเป็นเรื่องท้าทายและเรื่องใหม่ เนื่องจากสหประชาชาติได้เป้าหมายปี 2030 หรือ Sustainable Development Goals SDGs ซึ่ง ข้อ 16 ให้ความสำคัญกับการสร้างหลักนิติธรรมโดยตรง และให้หลักนิติธรรมเป็นปัจจัยเอื้อให้เป้าหมายข้ออื่น ๆ ประสบความสำเร็จ   

ขณะเดียวกันยังรวมถึงการนำเอาหลักนิติธรรม เพื่อออกนโยบายแก้ปัญหาต่างๆ ในสังคม เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การคอรัปชั่น หรือแม้แต่โลกร้อนนั้น เพราะปัญหาเหล่านี้จะสำเร็จก็ต่อเมื่อมีกฎหมาย กติกา กลไกที่เหมาะสมออกมาบังคับใช้  ดังนั้นหลักนิติธรรมจึงมีการสำคัญ ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพราะถ้าคนในประเทศไม่ศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม ย่อมเกิดความสงบ จนไม่สามารถพัฒนาประเทศได้ 

ในส่วนประเทศไทยมีประสบการณ์ความเข้าใจเรื่องการเชื่อมโยงกฎหมายค่อนข้างสูง อย่างเช่น การแก้ปัญหาชาวเขาปลูกฝิ่นตามแนวทางของรัชกาลที่ 9 ก็ต้องแก้โดยการสร้างอาชีพใหม่ให้เขา เพื่อให้เลิกปลูกฝิ่น ไม่ได้ใช้กฎหมายมุ่งไปจับกุมอย่างเดียว 

เมื่อสหประชาชาติชูธงเรื่องนี้เป็นสำคัญ TIJ จึงกำหนดแนวคิดในการทำงานโดยเน้นเรื่องการส่งเสริม การศึกษาทำความเข้าใจเรื่องหลักนิติธรรมและการสร้างความเข้าใจเรื่องความเกี่ยวข้องระหว่างหลักนิติธรรมกับการพัฒนา จึงเป็นที่มาของการเปิด World-Class Workshops ดังกล่าว ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

“ ในปีนี้ ได้เชิญผู้เข้ารับการอบรม World-Class Workshops กว่า 120 คน ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญเกือบ 50 คนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลกกว่า 20 แห่ง คณะนักวิจัยจากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก เพื่อให้ไปขยายผลเรื่องหลักนิติธรรม สอนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของตัวเอง”

 ขณะเดียวกัน ก็ได้เชิญผู้นำองค์กร ที่จะมีบทบาทเป็นผู้เปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคต รวมถึงผู้บริหารส่วนราชการระดับอธิบดี ที่จะเวลาทำงานเหลืออีก 10 ปีขึ้นมา มาร่วมอบรมด้วย เพื่อให้เกิดการนำหลักนิธิธรรมไปเชื่อมโยงกับการบริหารและเกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ” ศาสตราจารย์พิเศษ

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กล่าวต่อว่า หลักการสำคัญของหลักนิติธรรมที่ต้องสร้างความเข้าใจ คือ กฎหมายไม่ใช่ความยุติธรรม แต่เป็นเครื่องมือไปสู่ความยุติธรรม ทำให้สังคมเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้น กฎหมายจะต้องมีการคุณค่า เริ่มจากมีกระบวนการออกกฎหมายที่ดี ออกกฎหมายโดยมองในภาพรวม และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนำกฎหมายไปบังคับใช้ ต้องมีจิตใจที่ยุติธรรม เอากฎหมายไปใช้อย่างเป็นธรรม คุ้มครองสิทธิของทุกคนที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ ดร. เดวิด เคนเนดี้ ผู้อำนวยการสถาบันกฎหมายและนโยบายระดับโลก มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กล่าวว่า หลักนิติธรรมที่สำคัญนั้น ประชาชนต้องมีส่วนร่วม ตั้งแต่การยกร่างกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และประชาชนต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญของหลักนิติธรรมด้วย

 ทั้งนี้ การจัด World-Class Workshops ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เป็นโอกาสให้นักวิชาการ มาเจอกับผู้บริหารประเทศที่มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทั้ง 2 กลุ่มได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กัน

หลักสูตรการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านนิติธรรมนี้ มีทั้งสิ้น 3 หลักสูตร ประกอบด้วยหลักสูตรนานาชาติสำหรับนักวิจัยและนักวิชาการด้านหลักนิติธรรมและนโยบาย (IGLP Workshop for Scholars on The Rule of Law and Policy) ซึ่งจัดขึ้น เพื่อให้เป็นเวทีสำหรับนักวิชาการ นักวิจัย โดยเฉพาะคณาจารย์จากประเทศไทย ประเทศในอาเซียน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาการสอนและการเขียนงานวิจัยที่มุ่งความเป็นเลิศและสร้างเสริมองค์ความรู้เชิงวิชาการด้านหลักนิติธรรม รวมทั้งให้ความรู้ในด้านการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ หรือ Policy Advocacy ไปยังนิสิตนักศึกษา

นอกจากนี้ได้จัดเวทีคู่ขนานไปกับการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรนานาชาติสำหรับผู้นำรุ่นใหม่ด้านนิติธรรมและนโยบาย (TIJ Workshop for Emerging Leaders on the Rule of Law and Policy)มุ่งปลูกฝังให้ผู้เข้าร่วมอบรม

ซึ่งมีทั้งผู้นำรุ่นใหม่จากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน รวมถึงประชาสังคม ให้เห็นถึงความสำคัญของ “หลักนิติธรรม” โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยในเวทีที่ส่งเสริมการอภิปรายที่สร้างสรรค์อย่างกว้างขวาง ระหว่างผู้นำในทุกภาคส่วน ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ มุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของกฎหมายในฐานะเครื่องมือต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเท่าเทียม

“จะทำให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเลื่อมล้ำ และผู้เข้าร่วมประชุมจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ที่เพิ่มมากขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปยังผู้นำในสาขาอื่นๆ ต่อไป”

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้นำนโยบายโลกรุ่นใหม่ผ่านการวิเคราะห์หลักนิติธรรมและนโยบายสาธารณะ (Student Workshop for Next-Gen Global Policy Leaders) ซึ่งเป็นหลักสูตรล่าสุดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก

หลักสูตรดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการร่วมกันระหว่าง TIJ และมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดร่วมกับคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยความเชื่อที่ว่า เยาวชนรุ่นใหม่มีความสามารถความคิดสร้างสรรค์ และสามารถเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต