สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นรายงานว่า โตชิฮิโร นิไค เลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP)กล่าววิจารณ์ว่า คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ที่แต่งงานและไม่มีลูกนั้นเป็นพวกที่มีความคิดที่เห็นแก่ตัว พร้อมยังกล่าวอีกว่า ความยากจนไม่ได้เป็นปัญหาหรืออุปสรรคจต่อการมีครอบครัวใหญ่ โดยอ้างถึงในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงครามโลกครั้ง 2 ที่เป็นช่วงที่ประชากรญี่ปุ่นเกิดเป็นจำนวนมาก
ผลสำรวจเมื่อเร็วๆนี้พบว่า กว่าร้อยละ 70 ของประชากรญี่ปุ่นที่แต่งงานนั้นอยากจะมีลูกเพิ่มขึ้น แต่เนื่องด้วยปัญหาทางด้านการเงินและปัญหาด้านการจัดการเวลาระหว่างบ้านและการทำงานยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการมีครอบครัวขยายที่ใหญ่
ผลสำรวจพบว่ามีชายชาวญี่ปุ่นร้อยละ 3 เท่านั้นที่ใช้สิทธิลาเลี้ยงดูบุตรตรามกฎหมาย ทั้งนี้ส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในผลกระทบต่อหน้าที่การงานในอนาคตหากพวกเขาใช้สิทธิการลาตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตามแม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีนโยบายกระตุ้นการมีบุตร แต่เนื่องจากความกังวลเรื่องความก้าวหน้าในการทำงาน และการมีสถานรับเลี้ยงเด็กที่ยังไม่เพียงพอ รวมไปถึงการเลือกปฏิบัติทางเพศระหว่างหญิงและชายส่งผลให้หลายครอบครัวตัดสินใจที่จะไม่มีบุตร หรือมีบุตรเพียงแค่คนเดียว
สถาบันวิจัยโนมูระระบุว่า มีเด็กที่ไม่สามารถลงทะเบียนในสถานรับเลี้ยงเด็กได้กว่า 348,000 คน ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งที่ของคนวัยทำงานที่จำเป็นต้องลาออกจากกงานเพื่อมาเลี้ยงดูบุตร ขณะที่รัฐบาลของนายชิโส อาเบะมีนโยบายที่จะสร้างความเท่าเทียมทางเพศในสังคมการทำงานระหว่างหญิงชาย โดยมีเป้าหมายเพิ่มอัตราส่วนของผู้หญิงทำงานในช่วงอายุ 25- 44ปี ให้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 ในปี 2022 ดังนั้นจึงมีความต้องการสถานรับเลี้ยงเด็กที่สามารถรองรับเด็กเพิ่มเกือบ 600,000 คน
เมื่อปีที่ผ่านมาอัตราการเกิดของประชากรในญี่ปุ่นต่ำสุดตั้งแต่มีการบันทึกมาในปี 1899 โดยมีเด็กเกิดทั้งสิ้น 941,000 คน แม้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะมีนโยบายสนับสนุนทางด้านการเงินรวมไปถึงมีเงินขวัญถึงให้แก่คู่แต่งงานที่มีลูก แต่นโยบายดังกล่าวกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
ทั้งนี้นิไค ไม่ได้เป็นนักการเมืองคนแรกที่วิจารณ์การมีลูกของคู่แต่งงานใหม่ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ คันจิ กาโตะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคLDP กล่าวว่า คู่แต่งงานญี่ปุ่นควรมีลูกหลายคน ขณะที่ผู้หญิงที่ไม่แต่งงานนั้นเป็นจะกลายภาระของรัฐ
ที่มา Telegraph / The guardian
ข่าวที่เกี่ยวข้อง