นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 10 ก.ย. 2562 ว่า ที่ประชุม ครม. เห็นชอบหลักการร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ เพื่อให้การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยตั้งใจให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ต้องพ้นจากตำแหน่ง เพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย. 2562 เป็นต้นไป จึงจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวโดยเร่งด่วน แต่ต้องผ่านกระบวนการตรวจแก้ร่างจากคณะกรรมการกฤษฏีกา และประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงจะมีผลบังคับใช้
สำหรับสาระสำคัญของร่างประกาศกำหนดให้ขยายสิทธิ์ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง ดังนี้
อย่างไรก็ตาม เอกสารสรุปผลประชุมครม. วันที่ 10 ก.ย. 2562 ระบุว่า ครม.เห็นชอบในหลักการและให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
สำหรับร่างประกาศดังกล่าว กระทรวงแรงงานชี้แจงว่า ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังนี้
โดยสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จึงได้เสนอให้มีการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2549 โดยขอแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าชดเชย และเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน ปรับเพิ่มในอัตราสูงสุดจาก 300 วัน เป็น 400 วัน
ในการประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ตามข้อ 2 ในข้อ 59 (5) (6) และข้อ 61 (3) โดยปรับเพิ่มอัตราค่าชดเชยและปรับเพิ่มเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน และกำหนดสิทธิการได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน ให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562
พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 (1) บัญญัติให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มีอำนาจกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างและมาตรา 13 วรรคสอง บัญญัติให้มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างดังกล่าวเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ยังเห็นควรกำหนดให้มีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุตามข้อบังคับ ข้อกำหนด ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้าง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2562 จึงจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงประกาศดังกล่าวโดยเร่งด่วน
สคร. เผย 11 เดือน รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แผ่นดิน 167,163 ล้านบาท
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในเดือนสิงหาคม 2562 รัฐวิสาหกิจและกิจการที่กระทรวงการคลังถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 (กิจการฯ) นำส่งรายได้แผ่นดิน จำนวน 5,486 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2561 – สิงหาคม 2562) สคร. นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมจากรัฐวิสาหกิจและกิจการฯ จำนวน 167,163 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเงินนำส่งรายได้แผ่นดินสะสมจำนวน 14,656 ล้านบาท หรือสูงกว่าร้อยละ 10
นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุหลักที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้แผ่นดินสูงกว่าเป้าหมายนั้นเนื่องมาจากประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่มขึ้น โดยรัฐวิสาหกิจมีการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการให้ทันสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในด้านต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจดีขึ้น
ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้แผ่นดินสะสมสูงสุด 10 อันดับแรก ในช่วง 11 เดือนของปีงบประมาณ 2562 มีการนำส่งรายได้แผ่นดินสะสมรวมจำนวน 147,829 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 88 ของรายได้แผ่นดินสะสมทั้งหมดที่จัดเก็บได้ ได้แก่
1. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รายได้นำส่ง 40,278 ล้านบาท
2. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายได้นำส่ง 29,198 ล้านบาท
3. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รายได้นำส่ง 18,924 ล้านบาท
4. ธนาคารออมสิน รายได้นำส่ง 16,538 ล้านบาท
5. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รายได้นำส่ง 10,903 ล้านบาท
6. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) รายได้นำส่ง 10,500 ล้านบาท
7. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รายได้นำส่ง 5,646 ล้านบาท
8. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รายได้นำส่ง 5,582 ล้านบาท
9. การไฟฟ้านครหลวง รายได้นำส่ง 5,500 ล้านบาท
10.การท่าเรือแห่งประเทศไทย รายได้นำส่ง 4,760 ล้านบาท
ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า สำหรับในอีก 1 เดือนข้างหน้าของปีงบประมาณ 2562 สคร. มั่นใจว่าปีนี้จะจัดเก็บรายได้แผ่นดินเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จำนวน 168,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดเก็บรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจยังคงมีส่วนสำคัญในการช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังให้แก่ประเทศ รวมทั้งลดความไม่แน่นอนจากการจัดเก็บภาษีของกรมจัดเก็บภาษีต่างๆ ซึ่ง สคร. จะดำเนินการติดตามการนำส่งรายได้แผ่นดินจากรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :