ดร. ดริว แรมซีย์ ศาสตราจารย์ด้านจิตเวช จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียกล่าวว่า ที่ผ่านมาเขาได้แนะนำให้คนไข้รับประทานหอยนางรมและอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในการรักษาอาการซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวล เนื่องจากอาหารสดและอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอย่างผัก ผลไม้ หรืออาหารประเภทเมดิเตอร์เรเนียนที่ประกอบไปด้วยธัญพืชและพวกถั่วต่างๆ ช่วยบำบัดรักษาอาการทางจิตใจได้
ดร.แรมซีย์กล่าวว่า 'ผู้ป่วยรายหนึ่งของเขาอ้างว่า การกินหอยนางรมช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าของเขาได้และยังทำให้สุขภาพจิตของเขาดีขึ้นอีกด้วย โดยคนไข้รายนี้ได้กินหอยนางรมไปทั้งหมด 36 ตัว หลังจากเข้ารับการรักษา'
งานวิจัยทางด้านโภชนาการอาหารระบุว่า หอยนางรม เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุสังกะสีและธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุสังกะสีจะช่วยในการทำงานของสมองและระบบเซลล์ประสาทของสมองให้ทำงานได้อย่างปกติ ขณะที่ธาตุเหล็กจะช่วยการทำงานของเอมไซม์ต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานและควบคุมระดับ norepinephrine หรือ สารนอร์อิฟิเนฟฟรีน ซึ่งจะควบคุมการตื่นตัว กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและควบคุมการแสดงออกเวลาที่รู้สึกกลัว ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและอาการวิตกกังวล
อาหารขยะตัวการทำสุขภาพจิตเสีย
ดร.แรมซีย์กล่าวว่า อาหารขยะ หรืออาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า รายงานการวิจัยด้านสุขภาพปี 2016 ระบุว่า คนที่รับประทานผักและผลไม้เป็นประจำจะมีความสุขและความพึงพอใจในการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่าคนที่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะการรับประทานผักสดและผลไม้สด รวมไปถึงอาหารตระกูลถั่ว หรืออาหารเมดิเดตอร์เรเนียนที่อุดมไปด้วยธัญพืชและเนื้อสัตว์ที่ส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเล
ทั้งนี้ ดร.แรมซีย์ยังแนะนำให้กิน 'อาหารสายรุ้ง' คือ การกินผักและผลไม้ที่หลากหลายสีสันซึ่งมีองค์ประกอบทางโภชนาการที่สามารถช่วยลดอาหารอักเสบต่างๆ ของร่างกาย รวมไปถึงยังช่วยในเรื่องการทำงานของเซลล์สมอง รวมไปถึงการกระตุ้นเซลล์สมองให้เพิ่มขึ้นในผู้ใหญ่อีกด้วย
ที่มา nytimes / .medicaldaily
ข่าวที่เกี่ยวข้อง