ไม่พบผลการค้นหา
นายกฯ ยันไม่ยุบศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ปรับแผน 1-31 ส.ค.ไม่เปิดวอล์กอิน รับคนลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน 2 หมื่นโดสต่อวันลดแออัด ขณะเดียวกันมีรายงานเล็งย้าย รพ.บุษราคัมจากเมืองทองฯ ไปสุวรรณภูมิ เพื่อเพิ่มเตียงผู้ป่วย

วันที่ 27 ก.ค. 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมหารือการบริหารจัดการการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของสถานีกลางบางซื่อ ร่วมกับ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว. มหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวช่วงต้นของการประชุมว่า สำหรับแนวปฏิบัติใหม่ๆทุกคนคงทราบดีอยู่แล้วจากกระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับนโยบายไปแล้ว อย่างไรก็ตามตนให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคนและวันนี้อยากฟังทุกคนว่าอะไรที่ยังติดขัดตรงไหนก็ให้บอกมา ตนพร้อมแก้ปัญหาและดูแลให้

รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมได้รับทราบสถานการณ์การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ โดยกระทรวงสาธารณสุข รายงานการให้บริการฉีดวัคซีนให้ประชาชน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มคนอ้วนและคนท้องที่ให้บริการฉีดไปแล้ว 1 ล้านโดส พารากราฟ 2 ขณะเดียวกันเพื่อแก้ปัญหาลดความแออัด จะไม่มีการวัดความดันก่อนฉีด นอกจากกรณีจำเป็นเท่านั้น

นอกจากนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดความประชาชนขอรับวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ จะมีการเปิดใช้แอปพลิเคชันวัคซีนบางซื่อเพื่อให้ลงทะเบียน เพื่อลดขั้นตอนให้เมื่อไปถึงสามารถฉีดได้เลยทันที ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1-31 ส.ค. จะไม่เปิดให้วอล์กอินเข้ามา แต่ทั้งหมดต้องทะเบียนผ่านแอพฯ โดยจะให้บริการ 20,000 โดสต่อวัน

อย่างไรก็ตาม การประชุมของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เกิดขึ้นภายหลังมีกระแสข่าวว่า มีผู้บริหารของ ศบค. ส่งสัญญาณให้ปิดการฉีดวัคซีนที่ศูนย์สถานีกลางบางซื่อ เพื่อลดความหวาดระแวงทางการเมือง 

เล็งย้าย รพ.บุษราคัมไปสุวรรณภูมิ

ขณะเดียวกันมีรายงานด้วยว่า ที่ประชุมได้มีการหารือกรณีการหาพื้นที่ทำโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลบุษราคัม ที่รองรับผู้ป่วยระดับสีเขียวและสีเหลือง เนื่องจากจะหมดสัญญากับเมืองทองธานีภายในเดือน ต.ค.นี้ โดยจะเตรียมย้ายรพ.บุษราคัม ไปที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาคาร AOT ช่วงกลางเดือนต.ค. โดยจะมีการปรับเพิ่มเตียงสีเหลืองขึ้นไปและเตียงที่ให้ออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยสีแดงเป็น 3,000 เตียง จากเดิมที่เมืองทองมีเพียง 800 เตียง นอกจากนี้ยังเตรียมปรับเบี้ยบำรุงให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง