12 ก.พ.2566 รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เผยแพร่ผลงานวิจัยส่วนบุคคลโดยเก็บข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ โดยเก็บแบบสอบถามจำนวน 1,200 คน ทั้งนี้ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป มี 4.48 ล้านคน จากประชากรกรุงเทพฯ 5.52 ล้านคน
1.ข้อคำถามว่า 'ท่านเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 เป็นฉบับ ประชาธิปไตย หรือ เผด็จการ' ผลการวิจัยพบว่า
2. คนกรุงเทพฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของ กปปส. คือคนที่มีแนวโน้มจะเห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 เป็นฉบับเผด็จการ
3. จากการเก็บข้อมูลเชิงลึก คนกรุงเทพฯ ที่เห็นว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 เป็นฉบับเผด็จการ นั้นมีคำอธิบาย อาทิ
4.เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับทัศนคติของคน Gen Z ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 2 ต.ค.2565 พบว่า คน Gen Z เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นฉบับเผด็จการนั้นมีสูงถึงร้อยละ 85.9 ขณะที่เห็นว่าเป็นฉบับประชาธิปไตยเพียงร้อยละ 2.5 และไม่แสดงความเห็นร้อยละ 11.6
5.สำหรับคนกรุงเทพฯ ที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2560 เป็นฉบับประชาธิปไตย นั้นมีคำอธิบายว่า
ทั้งนี้ งานวิจัยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 3-18 ธ.ค.2565 รวม 1,200 คน โดยเก็บแบบสอบถามจากเขตกรุงเทพเหนือ (ลาดพร้าว หลักสี่ จตุจักร บางซื่อ สายไหม บางเขน ดอนเมือง) เขตกรุงเทพกลาง (สัมพันธวงศ์ ดุสิต พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท ราชเทวี ดินแดง วังทองหลาง ห้วยขวาง) เขตกรุงธนใต้ (ภาษีเจริญ บางแค หนองแขม ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน)
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นหญิงร้อยละ 40.25 ชายร้อยละ 45.50 เพศหลากหลายร้อยละ 14.25
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม: Gen Z (18-25 ปี) ร้อยละ 31.42 , Gen Y (26-42 ปี) ร้อยละ 45.75, Gen X (43-57 ปี) ร้อยละ 13.93, Baby boomer(58 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 8.92
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 16.08 พนักงานเอกชน ร้อยละ 38.42 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 11.92 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.50 ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.58 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 7.75 อื่นๆ ร้อยละ 0.75
ที่มาจาก: มติชนออนไลน์