เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ว่า รัฐบาลมีความยินดีที่จะประกาศให้ประชาชนทราบ ว่านโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เป็นนโยบายโดยตรงของรัฐบาล ที่จะยกระดับเศรษฐกิจระดับประเทศ และระดับประชาชน รัฐบาลได้ใช้ความพยายามสูงสุด ฝ่าฟันทุกอุปสรรค และข้อจำกัดทั้งหลายจนรัฐบาลทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ได้ส่งมอบนโยบายพลิกชีวิตประชาชน เป็นไปตามตัวบทกฎหมายทุกประการ รวมทั้งอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
โดยให้ร้านค้าและประชาชน สามารถลงทะเบียนและยืนยันตัวตนได้ในไตรมาส 3 ของปี 2567 โดยเงินจะส่งตรงถึงประชาชนในไตรมาส 4 ปีนี้ เป็นเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ในการการจับจ่ายใช้สอยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชนและภาคธุรกิจ ที่จะขยายการลงทุนกิจการให้เกิดผลผลิตสินค้าที่มากขึ้น นำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ และเกิดการหมุนเวียนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลจะได้รับผลตอบแทนคืนมาในรูปแบบของภาษี อาจจะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสให้กับกลไกการชำระเงินของระบบเศรษฐกิจและรัฐบาล
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่ และช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพ ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือเช่นกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเกษตรกร เพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็งในภาคเศรษฐกิจและสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งจะเป็นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับประชาชนและก่อให้เกิดนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ที่จะเข้ามาเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
ขณะที่ความคุ้มค่าการดำเนินโครงการ นายกรัฐมนตรีระบุว่า จะให้สิทธิ์กับประชาชน 50 ล้านคน ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต วงเงิน 500,000 ล้านบาท และกำหนดให้ใช้จ่ายในร้านค้าที่กำหนด ซึ่งจะเป็นการเติมเงินลงสู่ฐานราก จะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยประมาณร้อยละ 1.2 ถึงร้อยละ 1.6 ซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียดเงื่อนไขของโครงการ รัฐบาลจะดำเนินโครงการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช 2560 โดยกระบวนการต่างๆจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การดำเนินการโครงการจะต้องเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริตรอบคอบและระมัดระวังเพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวม ตลอดจนรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ อย่างเคร่งครัด
ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่า จะพิจารณาวงเงิน 500,000 ล้านบาท สามารถบริหารจัดการผ่านงบประมาณทั้งหมด โดยเป็นการจัดการงบประมาณในปี 2567 และปี 2568 ควบคู่กันไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1: เงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 จำนวน 152,700 ล้านบาท
ส่วนที่ 2: การดำเนินโครงการผ่านหน่วยงานของรัฐ จำนวน 172,300 ล้านบาท จะใช้มาตรา 28 ของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการ โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ท(ธ.ก.ส.) ดูแลกลุ่มประชาชนที่เป็นเกษตรกรกว่า 17 ล้านคน
ส่วนที่ 3: การบริหารจัดการฐานเงินงบประมาณปี 2567 จำนวน 175,000 ล้าน ซึ่งอาจมีการใช้งบกลางเพิ่มเติมหากวงเงินไม่เพียงพอ
โดยหากรวมทั้ง 3 ส่วนเข้าด้วยกัน ก็จะได้วงเงิน 5 แสนล้านบาท
ปลัดคลัง ยืนยันว่า การดำเนินการเป็นไปตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายวินัยการเงินการคลังและกฎหมายงบประมาณ หรือ พ.ร.บเงินตรา พร้อมขออย่ากังวล และยืนยันว่าไม่ได้ใช้เงินสกุลอื่นแต่อย่างใด
จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า คณะกรรมการได้มีการให้เห็นชอบในหลายประเด็น โดยสาเหตุและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ ซึ่งคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพ รวมถึงมีแนวโน้มในการเติบโตลดลง เผชิญความท้าทายทั้งในและนอกประเทศ ทั้งภูมิรัฐศาสตร์ การฟื้นตัวของรายได้ประชาชนที่มีความเหลื่อมล้ำ จากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ปัญหาหนี้ครัวเรือน และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลก รัฐบาลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการเพื่อเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจให้กระจายตัวสู่ชุมชน โดยมีขอบเขตและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน ควบคู่กับการระมัดระวังและป้องกันความเสี่ยงในด้านการคลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนโดยรวม ตลอดจนการรักษาวินัยการเงินการคลัง
คณะกรรมการได้วางแนวทางการดำเนินโครงการและรายละเอียดเงื่อนไขต่างๆ โดยกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนจำนวนประมาณ 50 ล้านคน โดยจะมีเกณฑ์ได้แก่
ทั้งนี้ 2 เงื่อนไข การใช้จ่ายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
เพื่อป้องกันทุจริตและโครงการคณะกรรมการได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบ โดยมีรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธาน มีผู้บัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นกรรมการ
ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการ มี จุลพันธ์ เป็นประธาน ทำให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามเงื่อนไขและระเบียบที่ถูกต้อง รวมไปถึงประชาสัมพันธ์โครงการ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง ในฐานะคณะกรรมการ นำมติที่ได้รับการเห็นชอบเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไปภายในเดือนเมษายนนี้
เมื่อถามว่า ความตั้งใจผิดจากแรกในการหาเสียงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ทุกอย่างชัดเจนในแง่ของหลักการ ว่าเราต้องทำเพื่ออะไร แหล่งที่มาของเงินมีโอกาสที่จะเกิดขึ้น แต่เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ที่ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการต่างๆ ซึ่งมีการดูอย่างดี เพื่อให้โครงการนี้เป็นโครงการที่โปร่งใส ผลประโยชน์ทุกบาททุกสตางค์เข้าไปอยู่กับประชาชน
ส่วนที่ไม่ใช่การกู้เงิน แต่ใช้เงินจาก ธ.ก.ส.นั้นเงินที่จะใช้จาก ธ.ก.ส ต้องมีการตั้งงบประมาณในการใช้หนี้และดอกเบี้ยอย่างไรนั้น ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่า เหตุผลที่ใช้เงินจากธนาคาร ธ.ก.ส.เพราะมีสภาพคล่อง ซึ่งตนยืนยันว่าจะมีการตั้งงบคืน ซึ่งต้องขอรอดูงบปี2568 ออกมาก่อนจึงจะทราบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อถามว่า เงินที่จะเข้ากระเป๋าประชาชน 10,000 บาท จะเข้าล็อตเดียว หรือเป็นการทยอยจ่าย จุลพันธ์ ระบุว่า เข้าครั้งเดียว
เมื่อถามต่อว่า ร้านค้าที่จะเบิกเงินได้ เมื่อมีการใช้จ่ายของประชาชนเป็นครั้งที่ 2 จะมีการวัดเกณฑ์อย่างไรนั้น จุลพันธ์ อธิบายว่า มีข้อห่วงใยในเรื่องของทุจริตคอรัปชั่น
ขณะที่องค์ประชุมของบอร์ดชุดใหญ่ 2 กำลังติดกันผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่ได้มาเข้าร่วมการประชุมในครั้งถือเป็นปัจจัยหรือการตั้งคำถามตามมาหรือไม่นายจุลพันธ์ระบุว่าไม่น่าเกิดประเด็นอะไร เนื่องจากส่งตัวแทนมาเป็นไปตามกฎหมายถูกต้องทุกประการ ส่วนคนไหนอยู่ไม่อยู่ในที่ประชุมหลายท่านก็อาจจะไม่อยู่ในที่ประชุมในวันนี้ ยืนยันว่าไม่มีประเด็นอะไร
เมื่อถามต่อว่า นายกฯ เองก็ไม่ได้ซีเรียสใช่หรือไม่ ที่ผู้ว่า ธปท.ไม่เข้ามาร่วมประชุม 2 ครั้ง นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ท่านบอกว่าท่านติดภารกิจ ก็รับทราบอย่างที่รัฐมนตรีช่วยบอก เป็นไปตามกฎหมายมีการส่งมอบตัวแทนมา ทุกอย่างเป็นไปอย่างชอบธรรมและถูกต้อง
ส่วน GDP ที่จะมีการปรับขึ้น ผลกระทบจะตกอยู่ในปี 2568 เป็นหลัก 5% ไหม จุลพันธ์ ยืนยันว่า 'แน่นอน' ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน เป็น 2 ในหลายๆ โครงการ ได้กระทบเศรษฐกิจเศรษฐกิจ กรุงไทย ในการ สร้างการกระจายทั้งสองด้านเศรษฐกิจเหมือนเดิม
เมื่อถามต่อว่า เซเว่นกับแม็คโครใช่ร้านค้าขนาดเล็กหรือไม่ รายละเอียดนี้สุดท้ายจะต้องมีการหายได้เป็นอีกรอบ แต่ในเบื้องต้น เซเว่น ถือเป็นร้านค้าขนาดเล็ก แต่แม็คโครถือเป็นห้างสรรพสินค้า พร้อมระบุว่า เหตุผลที่มีการระบุร้านค้าขนาดเล็ก เนื่องจากต้องการกระจายเงินให้ชุมชนมากที่สุด โดยร้านค้าจะไม่รวมห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ แต่รวมร้านประเภทร้านสะดวกซื้อ ทั้งแบบแสตนอโลนและตั้งอยู่ในสถานบริการน้ำมัน