ไม่พบผลการค้นหา
ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่โรงงานบริษัท ดับบลิว เอ็มดี ไทย รีไซคลิ้ง พร้อมอายัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ 7,000 ตัน เตรียมแจ้งความดำเนินคดีโรงงานที่ทำผิดกฎหมาย

นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวัชร์ อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจุลพงษ์ ทวีศรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางเบญจมาพร เอกฉัตร์  ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม  ลงพื้นที่ตรวจสอบบริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบกิจการรีไซเคิลชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า พลาสติก เพื่อจำหน่าย (โรงงาน 105,106) 

อายัด-ขยะอุตสาหกรรม-โรงงานบริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง-เศรษฐกิจขยะอุตสาหกรรม-โรงงานบริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง-เศรษฐกิจ

โดยภายในโรงงานดังกล่าว มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ ปริมาณ 7,000 ตัน ที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องยึดอายัดไว้ หลังจากที่มีการตรวจสอบพบว่า มีวัตถุอันตรายในครอบครอง เนื่องจากได้รับขยะอิเล็กทรอนิกส์มาจาก 3 โรงงานที่ได้รับสิทธิ์นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามอนุสัญญาบาเซล คือ บริษัท เจ.พี.เอส เมทัลกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท โอ.จี.ไอ จำกัด และบริษัทไวโรกรีน (ประเทศไทย) จำกัด

สำหรับของกลางทั้งหมดที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ยึดอายัดไว้ ต้องห้ามเคลื่อนย้าย/จำหน่าย หรือจ่ายแจก จนกว่าคดีจะสิ้นสุด หากพบว่ามีการเคลื่อนย้ายขยะอิเล็กทรอนิกส์จะถือว่าผิดประมวลกฎหมายอาญา และโรงงานต้องดูแลของกลางทั้งหมด ทั้งในอาคารและที่กองอยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะที่กองนอกอาคารให้หาผ้าใบคลุม ไม่ให้มีการปนเปื้อน และห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกบริเวณโรงงาน

ขยะอุตสาหกรรม-โรงงานบริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง-เศรษฐกิจขยะอุตสาหกรรม-โรงงานบริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง-เศรษฐกิจ

ทั้งนี้ การลงพื้นที่อายัดของกลางในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการ หลังจากนี้ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องสงสัยว่าผิดกฎหมายให้ดำเนินการอายัดไว้เป็นของกลางทันที และอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ต้องแจ้งความดำเนินคดีกับโรงงานที่กระทำความผิดต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อกลางเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตบริษัทนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 5 ราย ได้แก่ ได้แก่ บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท โอ.จี.ไอ จำกัด, บริษัท เจ.พี.เอส เมทัลกรุ๊ปอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, บริษัท หย่งถัง ไทย จำกัด และบริษัท เอส.เอส.อิมปอร์ตเอ็กปอร์ต อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด พร้อมงดการนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลา 1 ปี ฐานกระทำผิดเงื่อนไขส่งซากอิเล็กทรอนิกส์ให้กับโรงงานอื่นที่ไม่มีใบอนุญาตคัดแยกแทน

โดยเรื่องนี้ได้รับการเปิดเผยจากนายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ระบุว่า คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตบริษัทนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง 5 ราย พร้อมนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์เป็นระยะเวลา 1 ปี เกิดจากมีฐานกระทำผิดเงื่อนไขส่งซากอิเล็กทรอนิกส์ให้กับโรงงานอื่นที่ไม่มีใบอนุญาตคัดแยกแทนส่วนโรงงานที่รับซากอิเล็กทรอนิกส์จาก 5 โรงงานดังกล่าว มาคัดแยกหรือครอบครองโดยที่ไม่มีใบอนุญาตตามอนุสัญญาบาเซล 

ดังนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ออกคำสั่งตามมาตรา 52 วรรค 1 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ให้ทำการส่งชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีไว้ในครอบครองคืนบริษัทต้นทางจำนวนกว่า 14,000ตัน ภายใน 30 วัน

อีกทั้ง ในเวลานั้น กรอ.ได้ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ออกคำสั่งให้บริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทย รีไซคลิ้ง จำกัด ส่งซากอิเล็กทรอนิกส์กลับคืนบริษัทต้นทาง หลังพบข้อเท็จจริงว่า บริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทยฯ ไม่ได้มีใบอนุญาตนำเข้าซากอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่มีสิทธิ์คัดแยกหรือครอบครองชิ้นส่วนดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ.2535

โดย กรอ. พบว่าบริษัทดังกล่าวได้รับซากอิเล็กทรอนิกส์จาก 3 บริษัทผู้นำเข้ารวมทั้งสิ้น 1,590 ตัน ได้แก่บริษัท ไวโรกรีน (ไทยแลนด์) จำกัด จำนวน 1,120 ตัน บริษัท โอ.จี.ไอ จำกัดจำนวน 350 ตัน และบริษัท เจ.พี.เอส เมทัลกรุ๊ปอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดจำนวน 120 ตัน ซึ่งบริษัท ดับบลิว เอ็ม ดี ไทยฯ ต้องดำเนินการส่งซากอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไปยังบริษัทผู้นำเข้าภายใน 30 วัน หลังจากที่ได้รับคำสั่ง โดย กรอ.จะกำชับเรื่องกระบวนการขนส่งให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานของกรมโดยการใช้ระบบ GPS พร้อมทั้งให้ทางบริษัทจัดส่งบันทึกเส้นทางการเดินรถตั้งแต่ต้นทางจนถึงบริษัทผู้นำเข้าเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งระหว่างทางขนส่งอย่างเข้มงวด

หมายเหตุ : ภาพปก ไม่ใช่เหตุการณ์ในข่าว

ข่าวเกี่ยวข้อง :