ไม่พบผลการค้นหา
ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ เห็นตรงกันว่าการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น พรรคการเมืองควรร่วมมือกันสกัดกั้นนายกฯ คนนอกและการสืบทอดอำนาจคสช.เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น

ในงานเสวนา "ปรองดองแบบ คสช. เมื่อไรจะเจออุโมงค์” ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีความเห็นที่สอดคล้องกันคือ รัฐบาล คสช. เป็นฝ่ายสร้างความขัดแย้งในสังคมเสียเอง โดยการใช้มาตรา 44 / การใช้คำพูดโจมตี และสร้างความเกลียดชังในสังคม / ประชาชนเกิดการตั้งคำถามกับระบบยุติธรรมว่ามีลักษณะของการเลือกปฏิบัติ

นอกจากนี้ เห็นตรงกันว่า การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในอนาคต พรรคการเมืองควรร่วมมือกัน ป้องกันการเลือกนายกรัฐมนตรีคนนอก และการสืบทอดอำนาจของ คสช. ซึ่งจะป้องกันเกิดความขัดแย้งที่จะตามมาด้วย

จาตุรนต์.jpg


นาย จาตุรนต์ กล่าวว่า ไม่ควรปิดโอกาสในความร่วมมือระหว่าง 2 พรรคใหญ่ ไม่ว่าความเป็นมาในอดีตและความคิดเห็นในปัจจุบันจะเป็นอย่างไรต้องยอมรับว่า ถ้าจะไม่ให้คสช.สืบทอดอำนาจอีก10-20 ปี ทั้ง 2 พรรคการเมืองควรจะร่วมกันจับมือเพื่อจัดตั้งรัฐบาล แม้ว่าจะยากแต่ไม่ควรจะปิดช่องทางนี้

"ผมคิดว่า ไม่มีประโยชน์หากเพื่อไทยประกาศ หัวเด็ดตีนขาดจะไม่ร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ และเห็นว่าไม่ควรจะปิดทางในเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้มีการสืบทอดอำนาจ"

นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวเพราะไม่ได้รับมอบหมายจากพรรค ดังนั้นโดยส่วนตัวจึงเห็นว่า คงไม่ยากเกินไปที่จะเอาระบบทหารจากการเมืองไปได้ หากนักการเมืองทุกพรรคจะต้องจับมือกันเอง ตั้งรัฐบาลกันเอง 

แต่อย่างไรก็ตามความขัดแย้งจะจบหรือไม่ขึ้นอยู่กับสว.250 คน จะคำนึงถึงเสียงของประชาชนที่จัดตั้งขึ้นหรือไม่ หรือจะไปสนับสนุนคนที่ประชาชนไม่ได้เลือกมา หากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นชนวนความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 

sdgsdfgdfhgfjngj42545254242425_1.jpg


นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า แม้ว่าในขณะนี้จะดูริบหรี่แต่การเมืองยังเป็นเรื่องของหวัง แม้ว่าโอกาสจะน้อย ที่จะเซ็ตซีโร่ ระบบคสช.หรือ ระบบทหารออกจากประชาธิปไตย ถึงเวลานั้น หากไม่มีทางออกทุกอย่างก็เกิดขึ้นได้ แต่มีเงื่อนไขว่าความคิดสุดขั้วของแต่ละฝ่ายต้องออกไปก่อน

"มันไม่มีอะไรที่ยากเกินไปหากทั้งทุกฝ่ายลดทิฐิเพราะมองไปซ้าย ขาว ข้างหน้า ก็คือคนไทย เราจะสู้กันให้ตายไปข้างหนึ่ง ซึ่งหากใครพูดแบบนั้นก็ควรจะออกจากการเมืองด้วยเช่นกัน"

นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ อดีตกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. เสนอว่า ทุกฝ่ายการเมืองควรทบทวนตัวเอง และร่วมมือกันเริ่มต้นใหม่เพื่อให้สังคมเดินได้