"การบริหารราชการแผ่นดินตลอดทั้งปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ ถือได้ว่า เป็นผู้ที่รับบทหนักที่สุดแห่งปี ถูกมองว่าล้มเหลว ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาโควิด-19 การกระตุ้นเศรษฐกิจ การบริหารราชการ หรือแม้แต่เรื่องทางการเมือง ถูกโจมตีรอบด้าน แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จะยังอยู่ในตำแหน่งได้ แต่ก็ทรุดโทรม เสื่อมสภาพไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ"
คือ นิยามของฉายา 'ชำรุดยุทธ์โทรม' ที่สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้มอบให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ส่งท้ายศักราช 2564
ปี 2565 ยังเป็นปีที่ 3 หลังการเลือกตั้งทั่วไป พร้อมทั้งเริ่มนับถอยหลังรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าอาจเกิดการเลือกตั้งทั่วไปในปีนี้ เพราะปัญหาสะสมที่รุมเร้าเข้าใส่ พล.อ.ประยุทธ์ ที่ไม่อาจแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โรคระบาดหรือแม้แต่การเมืองได้
"ผมว่าเขา (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) อยากครองอำนาจนานๆ ติดกับดักอำนาจแล้ว ไม่อยากลงแล้ว เหมือนพยายามทุกอย่างแล้ว เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ลง ไม่ยุบสภา ไม่อะไรทั้งนั้น ก็ต้องอาศัยกลไกรัฐสภา"
ประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษผ่าน 'วอยซ์' ถึงการขับเคลื่อนของฝ่ายค้านโดยอาศัยกลไกของรัฐสภา เพื่อตรวจสอบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่เข้าสู่ปีที่ 3 ในศักราชปี 2565
แน่นอนว่า พรรคฝ่ายค้านจะอาศัยช่องทางตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 เพื่อให้ พล.อ.ประยุทธ์ พ้นจากความเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการยื่นตีความคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี และแม้แต่การใช้เวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจซึ่งก็จะเกิดขึ้นอีก
ปี 2565 จะเป็นปีที่สุดท้ายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาหรือไม่ และจะมีปัจจัยอะไรที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลงจากอำนาจที่อยู่มายาวนาน 8 ปีได้ โปรดติดตามจากบทสัมภาษณ์ของ 'เลขาธิการพรรคเพื่อไทย'
ปี 2565 เป็นปีที่ปัญหาสะสมมาพอสมควร ประกอบรัฐบาลอยู่ 3 ปีกว่าแล้ว ปัญหาเศรษฐกิจแก้ไม่ได้สักที ปัญหาโควิด-19 ที่แก้ไม่ได้ ไม่สามารถเผชิญสถานการณ์วิกฤตได้ทำให้พี่น้องประชาชนหมดศรัทธา ตอนโควิดระบาดใหม่ๆ ก็พูดว่าไข้หวัดธรรมดา ตอนหลังพอคนวันหนึ่งเป็น 10,000 คน 20,000 คน คราวนี้อยู่ไม่ได้ วัคซีนไม่พอ วันนี้ก็เหมือนจะกลับมาประมาทอีกแล้วนะ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ผมว่ารัฐบาลเป็นแบบยังแก้ได้ไม่ดี
ปี 2565 เราจะเพิ่มความเข้มข้นขึ้นไม่ว่า กระทู้สด ญัตติที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการยื่นญัตติสำคัญ 2 ญัตติ ญัตติแรกขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 เป็นการชี้แจงให้เห็นถึงปัญหาการบริหารของรัฐบาล และเราจะเสนอแนวทางแก้ไข การยื่นญัตตินี้ไม่ต้องลงคะแนนโหวต แต่เป็นการแนะนำรัฐบาล ส่วนอีกญัตติ คือญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ญัตตินี้เป็นญัตติตามมาตรา 151 อันนี้ต้องลงคะแนน เรียกว่าถ้านายกรัฐมนตรีแพ้โหวต ก็บ๊ายบาย ต้องลาออกทันที ถ้าพี่น้องประชาชนจำได้นะครับ เมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมา เราได้ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทำเอารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อกสั่นขวัญหาย เพราะนั้นแล้ว ในการทำงานด้านสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทย คงมุ่งมั่นตรวจสอบที่มีความเข้มข้นขึ้น
ตอนนี้เราอยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐานเราจะชี้ให้ประชาชนเห็นว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้บริหารอะไรผิดพลาดล้มเหลวอะไรบ้าง แล้วขณะเดียวกันเราจะเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาให้ด้วย
ผมว่าพรรคร่วมรัฐบาลเป็นไปได้มากกว่านะ
ส่วนมากการยุบสภาหรือลาออกของรัฐบาล เกิดจากพรรคร่วมรัฐบาลลาออกส่วนหนึ่งเห็นว่าไปไม่ไหวอยู่มาพอสมควรแล้ว
มีแน่นอน พูดง่ายๆการอภิปรายมีสองแบบ แบบลงมติ แบบไม่ลงมติ ภาษาบ้านๆ แบบไม่ลงมติ คือปีใหม่นี้จะยื่นแล้ว แบบลงมติจะยื่นสมัยประชุมรัฐสภาหน้า
ผมว่าเป็นไปได้หมด ครั้งที่แล้วรัฐบาลก็สั่นคลอนแล้ว
ปี 2565 เป็นปีแห่งการแจกกล้วย เป็นปีแห่งการแจกกล้วยครั้งใหญ่ เพื่อประคับประคองสถานะของรัฐบาลให้อยู่ได้ตลอด วิธีนี้จะใช้ได้ผลไม่นาน
ก็ไม่ไว้วางใจคราวที่แล้ว ก็มีข้อครหาเรื่องนี้ เกือบจะไม่รอด
"ผมฟังเสียงประชาชนดีกว่าอยากได้อะไร เขาบอกว่าเมื่อไร พล.อ.ประยุทธ์ จะออกไปสักที ของขวัญปีใหม่นี้ยังดัง"
สภาล่มก็ทำให้ภาพลักษณ์ของสภาฯ ไม่ดีในสายตาประชาชน แต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าในกลไกระบอบรัฐสภา การขับเคลื่อนต่างๆ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ นั่นหมายถึง ส.ส.ซีกรัฐบาล เพราะฉะนั้นเรื่ององค์ประชุม ส.ส.จำเป็นต้องตรึงองค์ประชุมให้ครบอยู่ตลอดเวลา ฝ่ายค้านยินดีให้ความร่วมมืออยู่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง กฎหมายอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเราก็พร้อม แต่บางเรื่องต้องเรียนว่า
เราเคยเสนอญัตติหลายญัตติที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน เช่นการขอยกเลิกคำสั่งของ คสช.ที่ผ่านมา หลายฉบับอาจจำเป็นต้องยกเลิก เพราะมันล้าสมัย มีกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว อย่างนี้หลายครั้งที่เราขอไปในสภาฯ ฝ่ายรัฐบาลกลับเพิกเฉย ทำให้มาตรการอย่างหนึ่งการทำงานของฝ่ายค้าน คือ เมื่อฝ่ายรัฐบาลเป็นอย่างนี้ความจำเป็นต้องกดดันรัฐบาลในเรื่องต่างๆก็เกิดขึ้น อะไรที่เราเห็นว่าไม่ชอบธรรม ไม่เป็นธรรมก็ต้องแสดงการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์
มีวิปสามฝ่ายนะครับ เราก็คุยวิปฝ่ายค้านคุยวิปฝ่ายรัฐบาล แต่บางเรื่องเราเห็นไม่ตรงกัน เมื่อความเห็ฯไม่ตรงกัน เรายึดประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆที่ทำมาไม่มีเจตนาอย่างอื่น อยากเห็นกลไกของรัฐสภาเดินหน้า เพราะฉะนั้นฝ่ายรัฐบาลต้องยอมถอยบ้าง อย่าอาศัยมืออย่างเดียว อย่าอาศัยมือโหวตนสภาฯอย่างเดียว มีเสียงมากกว่ายังไงก็ชนะ
สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพของรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคหลักในการจัดตั้งรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล แสดงว่าการอยู่รวมกันเป็นการรวมอยู่ภายใต้สถานการณ์เปราะบาง การโหวตเสียงแต่ละครั้งดูไร้ทิศทาง อย่างกฎหมายใหญ่ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ บางทีโหวตไปคนละแนวเลยฝ่ายรัฐบาล ในเรื่องนี้อย่ามาโทษฝ่ายค้าน องค์ประกอบของฝ่ายรัฐบาลยังมีความไม่เป็นเอกภาพอยู่
ผมคิดว่าถ้าสภาล่มบ่อยๆ หมายถึงสภาเดินหน้าไม่ได้ รัฐสภาเป็นกลไกสำคัญในการออกกฎหมาย ในการผ่านร่างงบประมาณสำคัญๆ อย่างเช่นกฎหมายการเงินหรือ พ.ร.บ.งบประมาณ ถ้าสภาเดินหน้าไม่ได้ รัฐบาลก็ไปไม่ได้ นั่นหมายความว่าอาจเกิดเหตุการณ์ในอนาคตอะไรไม่ทราบ อาจจะมีการยุบสภา หรือรัฐบาลลาออกก็เป็นไปได้
หมายความว่าฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภาฯ มันไปด้วยกันยากแล้ว
ที่ผ่านมาตัว พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ให้ความสำคัญการเมืองในระบอบรัฐสภา ไม่ให้ความสำคัญเรื่องการเลือกตั้ง ดูการเลือกตั้งหลายชนิด โดยเฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่น ทอดเวลายาวนานมากยังไม่ได้เลือก วันนี้ผู้ว่าฯ กทม.ยังไม่ได้เลือก การเลือกตั้ง ส.ส.ตั้งแต่ยึดอำนาจมา กว่าจะเลือกตั้งได้ก็ผ่านมา 5 ปี พอมาเป็นนายกฯ ยังไม่ให้ความสำคัญเสียงของ ส.ส.เท่าที่ควร ผมเห็นว่าท่านไม่ได้เกิดจากระบอบรัฐสภา อย่างแท้จริง แต่เกิดจากอำนาจพิเศษ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญปี 2560 ให้ ส.ว.มาโหวตเลือกนายกฯ ได้เป็นอำนาจพิเศษ มีแต้มต่อกว่าคนอื่นทำให้ความสำคัญของรัฐสภาลดลง เพราะคิดว่าตัวเองยังมี ส.ว. มีกลไกองค์กรอิสระอยู่
"ปี 2565 เป็นปีแห่งการแจกกล้วย เป็นปีแห่งการแจกกล้วยครั้งใหญ่ เพื่อประคับประคองสถานะของรัฐบาลให้อยู่ได้ตลอด วิธีนี้จะใช้ได้ผลไม่นาน"
ความสงบจะเกิดขึ้นได้นะ กฎหมายต้องเป็นธรรม ประชาชนเข้าใจ ส.ส.เข้าใจ แต่ถ้ากฎหมายไม่เป็นธรรม ความไม่สงบก็ไม่มี มันก็มีการเรียกร้องความเป็นธรรม อย่างเราขอแก้รัฐธรรมนูญ เรื่อง ส.ว. 250 เสียงไม่ควรมาโหวตนายกรัฐมนตรี ก็ไม่ได้รับการตอบสนอง ทั้งที่ในโลกนี้ไม่มีแล้วเรื่องแบบนี้
ไม่ครบ ไม่น่าครบ ปี 2565 ผมเชื่อว่าจะเป็นปีวิบากกรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ อีกครั้งหนึ่ง ปี 2565 เขาจะอยู่ประมาณ 3 ปีกว่าๆ ตอนนี้อยู่ได้ประมาณเข้าปีที่ 3 แต่ ปี 2565 จะสั่งสมปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็น คสช. นับปี 2565 จะครบ 8 ปี ปัญหาต่างๆที่เคยรับปากพี่น้องประชาชนไว้ว่าจะปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปเรื่องโน้นเรื่องนี้ไม่ได้ทำสักอย่าง ที่สำคัญวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตโควิด-19 รัฐบาลแก้ไขยังได้ไม่ดีเลย
ผมมองการไปรูปแบบหนึ่งที่คิดว่าน่าจะเกิดขึ้น เรื่องของกระแสกดดันที่ท่านไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเศรษฐกิจปากท้องพี่น้องประชาชนได้ แล้วก็เรื่องโควิดที่ทำได้ไม่ดีนัก กระแสเหล่านี้จะเร่งเร้าให้ท่านได้คิดว่าไปเร็วกว่าปกติ อยู่ไม่ครบเทอม วันนี้เห็นชัดสภาฯ เปิดไม่กี่วันก็เดินหน้ามีอุปสรรคเอง
เป็นพรรคหลักแต่ก็ ผมคิดว่ามีปัญหาภายในอยู่บ้างนะ
เดือน ส.ค. 2565 อย่างน้อยๆ ศาลรัฐธรรมนูญควรจะตีความว่าคำว่า 8 ปี นับจากไหน นับจากการเลือกตั้งปี 62 หรือนับจากยึดอำนาจมา เป็นประเด็นที่ศาลควรวินิจฉัย อาจจะเป็นจุดๆหนึ่ง
อีกเรื่องกฎหมายสำคัญ พ.ร.บ.งบประมาณ วันนี้รัฐบาลใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย เรียกว่าใช้เงินกู้ยันเพดานเงินกู้ และภายหลังทราบว่ารัฐบาลเองยังปลดล็อก ขยายเพดานเงินกู้อีกให้มากขึ้นกว่าเดิม ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เป็นปัจจัยอยู่ได้ไม่นาน หมายความว่าประชาชนเห็นพ้องคงไม่ปล่อยให้บริหารประเทศอีกแล้ว
เป็นไปได้หมด ผมว่าไม่ครบวาระ
เตรียมพร้อม การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นนาทีใดก็ตาม วันนี้เราพร้อมทั้งเรื่องนโยบาย ผู้สมัครต่างๆ เพราะพรรคได้ทำงานมาตลอด
เราเชื่อว่าถ้าเราชนะการเลือกตั้งเกิน 250 เสียง เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวน ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร ถือว่าเป็นฉันทามติของประชาชน ในการให้พรรคเพื่อไทยมาบริหารประเทศ สัญญาณนี้ก็จะถูกส่งไปว่า ตัวนายกรัฐมนตรีควรมาจากพรรคเพื่อไทย ส.ว.ควรรับฟังเสียงนี้ด้วย
(หัวเราะ) แหม่...ผมคิดว่าสถานการณ์สภาฯ วันนี้ก็เปราะบางนะ ถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ อยากไปไหม ผมว่าอยากครองอำนาจนานๆ ติดกับดักอำนาจแล้ว ไม่อยากลงแล้ว เหมือนพยายามทุกอย่างแล้ว เมื่อพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ลง ไม่ยุบสภา ต้องอาศัยกลไกรัฐสภา
เอาเป็นว่าผมฟังเสียงประชาชนดีกว่าอยากได้อะไร เขาบอกว่าเมื่อไร พล.อ.ประยุทธ์ จะออกไปสักที ของขวัญปีใหม่นี้ยังดัง ล่าสุดยังได้ยิน คำถามแรกที่ผมเคยพูดหลายครั้ง เมื่อไรจะไปสักที ถ้าไปคราวนี้ถือว่าเป็นของขวัญปีใหม่ให้พี่น้องคนไทย
ถ้าท่านรักพี่น้องควรทำตามความต้องการพี่น้องประชาชนเสียงเรียกร้องที่ออกมาให้ท่านพอได้แล้ว ตัวผมอยากได้ตั้งนานแล้ว ตั้งแต่ตอนที่ท่านปฏิวัติใหม่ๆ ต้องเข้าใจว่าเขาวางแผนสืบทอดอำนาจมาตลอด เพราะฉะนั้นอะไรต่างๆที่ได้มาด้วยวิธีนี้มันไม่สง่างาม
ขอให้ท่านได้ทบทวนงานที่ท่านทำมาตั้งแต่ท่านได้รับปากกับพี่น้องประชาชนตั้งแต่การยึดอำนาจ ท่านได้ทำตามที่รักษาคำพูดไว้หรือไม่ ถ้าท่านไม่ได้ทำอยู่มา 8 ปีแล้ว ท่านควรจะไปได้แล้ว
อยากเรียนพี่้น้องประชาชนว่า อำนาจพี่น้องประชาชนคืออำนาจที่แท้จริงในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งว่าท่านจะเลือกใครเป็นตัวแทน เพราะฉะนั้นขอให้มั่นใจกับการทำงานของพรรคเพื่อไทย นโยบายต่างๆ ที่พรรคเคยพูดไป ทำได้ ในอดีตประสบความสำเร็จมามากมาย เพียงแต่พี่น้องประชาชนมาช่วยพรรคเพื่อไทย มาสนับสนุนผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยให้แลนด์สไลด์ทั้งแผ่นดิน ผมคิดว่ามีโอกาสที่พรรคเพื่อไทยจะกลับมาบริหารประเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง