ไม่พบผลการค้นหา
ใกล้งวดเข้ามาทุกที เหลืออีกไม่กี่วัน ศาลรัฐธรรมนูญจะนัดอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟัง ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ เวลา 15.00 น. ในคดีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (5) และมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง มาตรา 184 วรรคหนึ่ง (3) ประกอบมาตรา 186 วรรคหนึ่ง และมาตรา 184 วรรคหนึ่งหรือไม่

โดยเป็นกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ กระทำการเข้าข่ายการขัดกันแห่งผลประโยชน์ การรับผลประโยชน์จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐนอกเหนือไปจากที่หน่วยงานนั้นปฏิบัติต่อผู้อื่นในธุรกิจการงานปกติ ซึ่งเป็นกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ ยังพักในบ้านพักของข้าราชการทหารหลังเกษียณ อันอาจทำให้ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ 

เมื่อดูรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 หมวด 9 ว่าด้วยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ส.ส.และ ส.ว.ต้องไม่กระทำการตามมาตรา 184 (3) กำหนดไว้ว่า "ไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษ นอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่น ๆ ในธุรกิจ การงานปกติ

ทั้งนี้มาตรา 186 ยังกำหนดให้นำความมาตรา 184 มาใช้บังคับแก่รัฐมนตรีโดยอนุโลม แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณี (1) การดำรงตำแหน่งหรือการดำเนินการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่หรืออำนาจของรัฐมนตรี

(2) การกระทำตามหน้าที่และอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติ

ฉะนั้น กรณีที่จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เข้าข่ายสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ได้ จะต้องมีกฎ ระเบียบของภายในกองทัพบ่งบอกให้ชัดเจนว่า การเข้าอาศัยอยู่ในบ้านพักของราชการของพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งอยู่ภายในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์นั้น 

วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการ ศาล รธน.ตัดสินสถานะ ปรีณา+ศรีนวล_๒๐๐๙๒๓.jpg


ประเสริฐ.jpg

ขณะที่พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่เปิดประเด็นเรื่องนี้ ชี้ถึง 5 เหตุผลสำคัญอันทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ต้องกระเด็นตกเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

1.ไม่ได้เปลี่ยนจากพักสวัสดิการเป็นบ้านพักรับรอง

2.ถ้าเป็นบ้านพักรับรอง อยู่ชั่วคราว 7-10 วัน

3.พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับกองทัพบกแล้ว

4.เป็นนายกฯ ควบ รมว.กลาโหม อยู่บ้านพักกองทัพบกเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน

5.ใช้ทรัพย์สินราชการตต้องเป็นข้าราชการเท่านั้น

ท่าที พล.อ.ประยุทธ์ เคยชี้แจงกรณีบ้านพักหลวง เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2563 ว่า เป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องมาถามตน เพราะไม่ได้เป็นผู้ตัดสิน ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างไร ก็ว่าไปตามนั้น ยืนยัน ทุกอย่างปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายว่าอย่างไร ก็ว่าอย่างนั้น 

"ไม่เคยฝ่าฝืนกฎหมาย ผิดก็คือผิด ถูกก็ถูก ก็แค่นั้นเอง ต้องยอมรับกลไกทางกฎหมาย" พล.อ.ประยุทธ์ มั่นใจว่าจะพ้นจากนายกรัฐมนตรี

ปฏิเสธไม่ได้ว่ายิ่งใกล้ถึงวันชี้ชะตาสถานะเก้าอี้ประมุขฝ่ายบริหารของ พล.อ.ประยุทธ์

ยิ่งทำให้มวลชนคณะราษฎร 2563 ยิ่งโหมการชุมนุมถี่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ แกนนำคณะราษฎร ได้ปลุกมวลชนให้ชุมนุมใหญ่ในวันที่ 29 พ.ย. ที่กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์

บุกเข้าตีฐานที่มั่นบ้านพักของ พล.อ.ประยุทธ์ โดยตรง และยังเป็นการกดดันก่อนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนููญจะมีคำวินิจฉัย

"เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า กลิ่นกระแสรัฐประหารมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทั้งยังไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ในการที่เราจะต่อต้านไม่ให้พวกเขาใช้กำลังเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตยได้อีกครั้ง" เฟซบุ๊กแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ระบุ

"ขอเรียกพี่น้องผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน เตรียมตัวกันให้พร้อมกันที่ กรมทหารราบที่ 1 หากเราจะต้านพลังชั่วร้ายนี้ได้ เราต้องเริ่มต้นจากการที่ไม่ให้พวกเขานำอาวุธออกมารัฐประหาร ยิ่งอาวุธดังกล่าวนี้เราล้วนรู้กันดีว่ามีความเชื่อมโยงกับอำนาจศักดินาที่อยู่เบื้องหลัง วันที่ 29 พ.ย. 2563 เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป"

ม็อบ 27 พ.ย. แกนนำ 2.jpg

การชุมนุมครั้งนี้ ยังเป็นการโหมไปพร้อมกับการซ้อมต้านรัฐประหาร ควบคู่กับชูแคมเปญ 'ร่วมกันปลดอาวุธศักดินาไทย'

แม้ก่อนหน้านั้น อานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎรจะโพสต์เฟซบุ๊กย้ำว่า "เรื่องซ้อมต้านรัฐประหารนี่สำคัญนะครับ ถึงเวลาจริงจะได้ไม่ฉุกละหุก เหมือนซ้อมไฟไหม้งี้ ซ้อมป้องกันสาธารณภัยงี้ ผมว่ารัฐประหารนี่เกิดบ่อยกว่าไฟไหม้บ้านอีกนะครับ ในรอบ 10 ปีนี้รัฐประหารไป 2 ครั้งแล้ว"

กลุ่มผู้ชุมนุมราษฎร จึงยกประเด็น 'ต้านรัฐประหาร' ขึ้นมาปลุกมวลชนในช่วงใกล้วันที่ 2 ธ.ค. 2563 เพื่อจุดกระแสดึงมวลชนไม่ให้ขาดระยะ

รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุุล แกนนำคณะราษฎรก็ย้ำผ่านเวทีปราศรัยห้าแยกลาดพร้าวเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2563 ว่า ประชาชนยิ่งต้องรู้ให้เท่าทันทุกกลยุทธ์ที่อาจใช้ให้เป็นเงื่อนไขในการรัฐประหารได้ นอกจากประชาชนต้องร่วมกันชุมนุมอย่างสันติเพื่อกดดันให้วันที่ 2 ธ.ค.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยกรณีคดีบ้านพักหลวงของ พล.อ.ประยุทธ์ นี่คือ เหตุผลที่เราออกมา 3 วัน 5 วัน 7 วัน คาดหวังว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยด้วยความเป็นธรรม"

ประยุทธ์ -48E6-A621-E5FB153CDD84.jpeg

หากฟังถึงท่าทีของคำยืนยันการรัฐประหารจากปาก พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2563 ถึงโอกาสในการเกิดรัฐประหาร

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “เรื่องที่พูดกันว่าจะมีการปฏิวัติหรือประกาศกฎอัยการศึกนั้น ในที่นี้มีใครประกาศได้บ้างหรือไม่ หรือใครจะประกาศได้ ในเมื่อผมไม่ได้ประกาศแล้วใครจะประกาศ ประกาศกันเองได้หรือ ก็ชอบหาเรื่องจะระดมคนเข้ามาอยู่นั่น”

เช่นเดียวกับ ท่าทีของผู้นำกองทัพบกที่มีกำลังพลในการเคลื่อนกำลังออกมาทำรัฐประหารอยู่ทุกยุค โดยเฉพาะ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. ย้ำชัดเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2563 ว่า ไม่รู้

"ผมถามว่าทำแล้วมันดีไหม ดีกับประเทศชาติ เศรษฐกิจหรือความเป็นอยู่ของประชาชนหรือไม่ ผมจึงบอกว่าอย่าไปคิดมาก สื่ออย่าไปพูดถึงคำนี้ ขอให้ตัดคำนี้ออกไปจากหน้าหนังสือพิมพ์ หน้าสื่อ และโซเชียล อย่าให้ปรากฏอีก" พล.อ.ณรงค์พันธ์ ระบุ

ไม่ว่าวันที่ 2 ธ.ค. 2563 ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมาในทางใด

1.พล.อ.ประยุทธ์ พ้นจากนายกรัฐมนตรี เข้าสู่วิถีทางการเลือกนายกฯ คนใหม่ในรัฐสภา

2.พล.อ.ประยุทธ์ ไม่พ้นจากนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินต่อ การชุมนุมต่อต้าน พล.อ.ประยุทธ์ อาจต้องเดินหน้าต่อ

และไม่ว่ากระแสการรัฐประหารจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ 

แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการรัฐประหารในทุกครั้งมักหยิบยกเรื่องความแตกแยก สามัคคีของคนในชาติมาเป็นเงื่อนไขการทำรัฐประหารเสมอในรัฐประหาร 2 ครั้งหลังสุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง