ไม่พบผลการค้นหา
กระทรวงสาธารณสุข เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน ช่วยเหลือกรณีสันเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยแตก ที่ส่วนกลางและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ศ.คลินิก เกรียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุข และนพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) เพื่อให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีสันเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย แตก ที่เมืองสนามไซ แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่ส่วนกลางและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โดยมอบหมายให้ นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพ ที่ 10 เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข



นพ.โอภาส _1.jpg

วันนี้ (26 ก.ค.) ศูนย์ EOC ได้ส่งทีมประเมินสถานการณ์ ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจ( MCATT) เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ พร้อมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาชุดน้ำท่วม 5,000 ชุด ตามการประสานงานจากหัวหน้าแผนกสาธารณสุขแขวงจำปาสัก เพื่อช่วยสนับสนุนเติมเต็มในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งนี้ ในการดำเนินการช่วยเหลือครั้งนี้ เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ ลุ่มน้ำโขง ของจังหวัดอุบลราชธานีกับแขวงจำปาสัก ที่มีความร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การปฏิบัติงานร่วมกับศูนย์อำนวยการตอบโต้ภัยพิบัติระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้การบัญชาการเหตุการณ์ โดยกลไกการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางสอดคล้องกับการดำเนินงานของส่วนกลางและระดับประเทศ

ด้านนพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพ ที่ 10 ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับ แผนการดำเนินงานสนับสนุนได้เตรียมไว้มีดังนี้ 1.จัดตั้งทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ (Medical Emergency Response Team : MERT) จำนวน 3 ทีม ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน ช่าง และเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวม 32 คน เข้าปฏิบัติการในจุดอพยพ เมืองสนามไซ 1 ทีม และเมืองปากซอง 2 ทีม 2.จัดตั้งทีมปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีม MCATT SRRT และทีมอนามัยสิ่งแวดล้อม

3.เตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยานพาหนะ เดินทางเข้าพื้นที่ 4.จัดตั้งชุดคัดกรอง และจุดประสานงานไว้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อคัดกรองผู้ป่วยและประสานความช่วยเหลือ โดยให้โรงพยาบาลสิรินธร เป็นเจ้าภาพหลักในการปฏิบัติการ 5.การลงทะเบียนจัดเตรียมทีมแพทย์จากภายนอกจังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลเอกชน หรือสังกัดอื่นๆ เพื่อบูรณาการการทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัดส่วนหน้า

ด้าน “อุคำ แสงแก้วมีไชย์” อัครราชทูตสถานเอกอัครราชทูต สปป.ลาว ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า เหตุที่เกิดขึ้นมียอดผู้เสียชีวิตล่าสุดวันนี้ (26 ก.ค.) อยู่ที่ 26 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก ขณะที่หลายคนที่ได้รับการช่วยเหลือแล้ว