กรมชลประทานรายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศของวันที่ 11 มี.ค. 2563 สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 40,341 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 53 ของความจุอ่างๆ) ปริมาณน้ำใช้การได้ 16,610 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 32 ของความจุน้ำใช้การ)
โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30 ของความจุอ่างจำนวน 18 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่กวงอุดมธารา แม่มอก จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ห้วยหลวง ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์
ด้านสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เชื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยๆ และปาสักฯ) ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 9,703 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 39 ของความจุอ่างๆ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 3,007 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 17 ของความจุน้ำใช้การ)
ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 มี.ค.) ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 17,699 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 12,130 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 69 เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 4,500 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 3,302 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 73
สำหรับแผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.06 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 175.86 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.20 ล้านไร่ ส่วนของลุ่มเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง-ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องในฤดูแล้งปี 2562/63) เพาะปลูกแล้ว 196 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 0.88 ล้านไร่
จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. 2562 จำนวน 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาพสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา รวมทั้งสิ้น 134 อำเภอ 700 ตำบล 3 เทศบาล 5,93 หมู่บ้าน/ชุมชน
กิจกรรมและการให้ความช่วยเหลือของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้งฯ สำนักงานชลประทานที่ 8 โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาลำน้ำลำตะคอง โดยให้เจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาลำน้ำลำตะคอง เพื่อทำความสะอาดแหล่งน้ำ กำจัดผักตบชวา และเศษวัชพืชต่างๆ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเป็นประธานจิตอาสา 904 พร้อมประชาชนจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 300 คน ณ วัดท่าตะโก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักงานชลประทานที่ 8 โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปลายมาศ ร่วมสนับสนุนรถบรรทุกน้ำในกิจกรรม "จิตอาสาต้านภัยแล้งการประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน" ซึ่งได้ให้เจ้าหน้าที่ที่กี่ยวข้อง และรถบรรทุกน้ำ ขนาด 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอสิงสาง หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านราษฎร์ อำภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักงานชลประทานที่ 12 โดยส่วนเครื่องจักรกล สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 3 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งทำให้ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ในเขตพื้นที่ของฝ้ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาสามชุก บริเวณ หมู่ที่ 3 ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
สำนักงานชลประทานที่ 15 สนับสนุนเครื่องสูบน้ำรวมจำนวน 3 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้งแก่ราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภคในเขตพื้นที่หมู่ที่ 3 และ 6 ตำบลเกาะทวด อำเภอปากพนัง และในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลท้องลำเจียก อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานชลประทานที่ 16 โดยโคงการชลประทานพัทลุง สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่อง ณ บริเวณท่อระบายน้ำบ้านค่ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ที่ 11 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มีพื้นที่การเกษตร และการเพาะปลูกข้าวนาปีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำเค็มไหลย้อนเข้าพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร 4 ตำบลได้แก่ ตำบลปันแต ตำบลมะกอกเหนือ ตำบลพนางตุง และตำบลทะเลน้อย
สำนักงานชลประทานที่ 17 ลงพื้นที่ติดตามการสนับสนุนเครื่องจักรและเจ้าหน้าที่ ในการดำเนินการขุดลอกตะกอนทรายบริเวณปากคลองน้ำแบ่ง ณ ประตูระบายน้ำน้ำแบ่ง ตำบลไพรวัน อำภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค. 2563 ปัจจุบันสามาถดำเนินการขุดตะกอนทรายที่ปิดกั้นบริเวณปากคลองน้ำแบ่งออกแล้วกว่า 5,000 ลบ.ม. ทำให้เรือประมงพื้นบ้านสามารถสัญจรเข้าออก ได้สะดวกยิ่งขึ้น