ไม่พบผลการค้นหา
คนหางาน จี้รัฐอย่าเพิกเฉย เร่งฟื้นเศรษฐกิจ-กระตุ้นการจ้างงาน หลังสถานการณ์ตลาดแรงงานยังน่าเป็นห่วง ชี้ต้องเร่งปรับตัวรองรับ แต่รัฐต้องช่วยด้วย เผยงานในฝัน สวัสดิการไม่ต่างจากงานราชการ

ภาพคนว่างงานกว่า 2 แสนคนที่ต่างคนต่างหอบเอกสาร มุ่งหน้ามาสมัครงานในงาน ‘JOB EXPO THAILAND 2020’ ที่รัฐบาลจัดขึ้นในช่วงปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา คงสะท้อนได้เป็นอย่างดีว่าปัจจุบันสถานการณ์การว่างงานยังคงน่าเป็นห่วง ท่ามวิกฤติของโรคระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยได้ส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวอยู่แล้ว ยิ่งทำให้สถานการณ์ดูโหดร้ายกับผู้ว่างมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะหลายบริษัทต้องทยอยปลดคนงานจากปัญหาสภาพคล่อง รวมถึงต้องชะลอการจ้างงานใหม่ หรือแม้แต่ให้หยุดงานระยะยาว (leave without pay) โดยไม่รับเงินเดือนที่เรียกว่าไม่ต่างจากการตกงานแล้ว

รายการขอเสียงหน่อย


งาน หรือ เข็มในมหาสมุทร

เสียงสะท้อนของประชาชน ยิ่งเป็นตัวสะท้อนได้ดีว่า งานหายากยิ่งกว่าการงมเข็มในมหาสมุทร โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ แม้แต่สายงานวิศวกรรมศาสตร์ ที่หลายคนมองว่าเป็นสาขาอาชีพที่มั่นคงกว่าสาขาอื่น และมีงานรองรับจำนวนมาก ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายของชีวิตหลังการเรียนจบตั้งแต่ปีการศึกษา 2562

‘ญาดา ศรีรอด’ บอกกับ 'วอยซ์ออนไลน์' ว่า งานหายากอย่างมาก ส่วนตัวจบวิศวกรรมศาสตร์ยังหางานไม่ได้ สะท้อนว่าคนที่จบวิศวะทุกคนไม่ได้จำเป็นที่ว่าจะต้องมีงานรองรับ เพราะฉtนั้นไม่ต้องคิดถึงคนที่จบสาขาอื่น ๆ

เช่นเดียวกับ ‘ภูริณัฐ ชุมพลกาญจนา’ บัณฑิตป้ายแดงสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ที่บอกว่า ทุกวันนี้ก็ลำบากขึ้น เพราะเศรษฐกิจไม่ดี การจ้างงานไม่เหมือนกับเมื่อก่อน ไม่ได้มีการรับใหม่เพิ่ม ทำให้เกิดความล่าช้าในการรับคน ขณะที่เด็กจบใหม่ออกมาต่อเนื่องทุกปียิ่งทำให้การแข่งขันมีมาก และต้องแย่งตำแหน่งงานสูงขึ้นด้วย

รายการขอเสียงหน่อย
  • ญาดา ศรีรอด

งานในฝัน แค่หวัง ‘สวัสดิการ’ ที่ดี

หนึ่งในมุมมองสำคัญที่คนกำลังหางานทำ บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า งานในฝันของหลาย ๆ คน ไม่ได้ต้องการอะไรไปมากกว่า การมี ‘สวัสดิการที่ดี’ คล้ายๆ กับอาชีพข้าราชการในปัจจุบัน ที่มีสิทธิมีสวัสดิการในการดูแลรักษาพยาบาลของคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ คู่ครอง รวมไปถึงบุตรหลาน

‘พัชยา ตัณฑพาทย์’ บอกว่า งานในฝันนอกจากเงินที่สูง แต่สิ่งหนึ่งที่หนีไม่พ้นคือเรื่องของสวัสดิการต้องดีด้วย โดยเฉพาะเรื่องของสิทธิในการรักษาพยาบาล เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากอายุที่มากขึ้นก็จะมีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้สิทธิที่ว่าจะต้องสามารถดูแลคนในครอบครัวได้ด้วย

รายการขอเสียงหน่อย
  • พัชยา ตัณฑพาทย์

ปรับตัว ไม่หยุดเรียนรู้-เพิ่มพูนทักษะ

เมื่อการหางานที่ยาก ไม่ว่าจะจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ โรคระบาดหรือแม้แต่การแข่งขันที่มีมากขึ้น สิ่งที่ขาดไม่ได้ของคนหางานยุคนี้ คือ ‘การพัฒนาตนเอง’ ทั้งในแง่ทักษะที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงาน หรือ ทักษะทางด้านภาษา เพราะเมื่อมีมากกว่าคนอื่นก็มีโอกาสที่จะได้รับเลือกมากกว่าคนอื่นเช่นกัน แต่นอกจากการพัฒนาความรู้และทักษะต่างๆ สิ่งที่จะต้องทำเช่นกันที่ ‘ภูริณัฐ ชุมพลกาญจนา’  บอกคือ ต้องประหยัด

“ไม่มีเงินเดือนเราก็ต้องประหยัด หาโอกาสเพิ่มรายได้ของเราในทางอื่นๆ ด้วยครับ” ริณัฐ กล่าว

รายการขอเสียงหน่อย
  • ภูริณัฐ ชุมพลกาญจนา

วอนรัฐอย่าเพิกเฉย จี้เร่งดูแลเศรษฐกิจ-กระตุ้นการจ้างงาน

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตลาดแรงงาน สิ่งที่คนหางานพยายามทำไม่ได้อาจเป็นตัวกำหนดชีวิตของผู้ว่างงานได้ทั้งหมด เพราะหลายคนบอกว่าปัจจัยสำคัญ คือ การบริหารนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะมีผลทั้งในแง่เชิงบวกและเชิงลบโดยตรง เพราะเมื่อเศรษฐกิจดี คนก็ต้องมีงานมีเงิน กลับกันเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี คนก็อาจจะต้องตกงานและขาดเงิน ดังนั้นสิ่งที่รัฐควรทำคือการบริหารนโยบายให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวโดยเร็ว และต้องมีมาตรการจูงใจกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานมากกว่าที่เป็นอยู่

หลายคนหวังว่าสถานการณ์การจ้างงานจะค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น เพราะส่วนใหญ่คนมองว่า งานสร้างเงิน และ เงินสร้างอนาคต ซึ่งจากวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นหน่วยงานด้านเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินว่า ปีนี้จะมีคนตกงานสูงถึง 7-8 ล้านคน และหากยังกลับมาไม่ได้ตัวเลขการตกงานอาจจะเพิ่มเป็น 10 ล้านคน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ขวัญ โม้ชา
ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ Voice Online
0Article
0Video
0Blog