หลังจากเปิดตัวผู้สมัครสภากทม. หรือ สก. ทั้ง 50 เขต พร้อมกับ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ “ดร.เอ้” ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา วันนี้ (27 ก.พ. 65) พรรคประชาธิปัตย์จัดประชุมผู้สมัคร สก. ทั้ง 50 เขต เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการสมัครรับเลือกตั้งช่วงปลายเดือน มี.ค. หรือต้นเดือน เม.ย. และน่าจะมีการเลือกตั้งไม่เกิน พ.ค. ที่จะถึงนี้
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส. และรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ผู้สมัคร สก. ของพรรคประชาธิปัตย์ที่แถลงข่าวเปิดตัวไปแล้ว “ได้ทำงานอย่างหนักในพื้นที่ช่วยเหลือดูแลพี่น้องประชาชนในช่วงโควิดระบาดอย่างหนักตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งการประสานงานหาเตียง จัดตั้งศูนย์พักคอย แจกหน้ากากอนามัย จัดตรวจ ATK ประสานเรื่องการฉีดวัคซีน รวมถึงการมอบถุงน้ำใจเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน”
ในส่วนของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ในนามพรรคประชาธิปัตย์ คือ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายองอาจกล่าวว่า “ได้ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เปิดตัวลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยได้ลงไปพบปะพูดคุยกับชาวบ้านตามพื้นที่ต่างๆ รับฟังถึงปัญหาในพื้นที่ซึ่งมีอยู่มากมายหลายปัญหาที่ยังรอการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น”
พร้อมระบุว่า ถึงแม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาผู้บริหาร กทม. หลายยุคหลายสมัยจะพยายามปรับเปลี่ยนกรุงเทพให้ก้าวหน้าขึ้นตามสมควรแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนอีกมาก ทั้งนี้นายองอาจเชื่อมั่นว่า ทั้ง สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. และผู้สมัคร สก. ของพรรคจะทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องชาว กทม.
ผู้ว่าฯ และสมาชิกสภา กทม. มีหน้าที่อะไร?
เว็บไซต์ ELECT.in.th เคยเขียนอธิบายหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครไว้ ดังนี้
หน้าที่ของผู้ว่าฯ กทม.:
แต่การทำงานของผู้ว่าฯ กทม. ต้องอาศัยการตรวจสอบจากตัวแทนของประชาชนอย่างสมาชิกสภา กทม. เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจของผู้ว่าฯ ไม่ให้ผู้ว่าฯ กระทำการใดๆ โดยไม่ได้รับการตรวจสอบหรือตั้งคำถามจากตัวแทนประชาชน
หน้าที่ของสมาชิกสภา กทม.:
ผู้กำหนดทิศทางการพัฒนา กทม. อย่างผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมถึงตัวแทนประชาชนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงาน กทม. อย่างสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ทั้งสองต่างมาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาว กทม.
โดยปกติจะมีการเลือกตั้งกันทุกๆ 4 ปี อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ 3 มีนาคม 2556