ถือเป็นภาพสะท้อนพฤติกรรมการคนกรุงก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้ง ซึ่งโลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างสูง
โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ "นิวโหวตเตอร์" เฉียด 7 แสนราย พ่วงด้วยประชากร เจน'วาย อีก 1 ล้านคน รวมคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4.4 ล้านคน ที่อาจเป็นปัจจัยชี้ขาดศึกกาบัตร "พ่อเมืองกทม." ในรอบ 9 ปี
ผู้ติดตาม facebook 880,463 บัญชี
ผู้ติดตาม twitter 129,200
บัญชี เว็บไซต์ chadchart.com
ชัชชาติ ยังแข็งแกร่งสมฉายา สะท้อนชัดจาก google trend ย้อนหลัง 3 เดือน แม้ประกาศเปิดตัวชัดเจนตั้งแต่ปีกลายก่อนแคนดิเดตรายอื่น แต่ยังคงครองความนิยมเป็นที่ 1 เช่นเดียวกับยอดจำนวนผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียอย่าง facebook-twitter ก็อยู่ในระดับแตะ 1 ล้านบัญชี เพิ่มเติมด้วยการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัว เฟ้นหาอาสาสมัคร-ทีมงาน ที่มีตัวตนแล้วกว่า 1 หมื่นคน เพื่อมาร่วมกันทำงานรณรงค์ ตลอดจนคิดค้นนโยบายกว่า 200 ชิ้น ที่เชื่อว่า จะซ่อมและสร้างความหวังให้ชาว กทม.กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
พร้อมกันนี้ โพลทุกสำนักยังชี้ชัด "ชัชชาติ" มาวิน ในระดับแตะร้อยละ 40 (นิด้าโพล) จึงมิอาจปฏิเสธว่า ชัชชาติ คือ เต็ง 1 ในศึกเลือกตั้งพ่อเมือง กทม. ที่กำลังจะมาถึง อยู่ในการรับรู้ของ คนเจน'เอ็กซ์ขึ้นไป จากครั้งผลักดันโครงการ "ไทยแลนด์ 2020" ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และคนเจน'วายลงมา
ด้วยภาพลักษณ์ความเป็นอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญทางวิศวกรรมที่เป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติในเวลาเดียวกัน หากจะขาดก็เพียงสนามให้ "ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี" ได้แสดงฝีไม้ลายมือก็เท่านั้น
ผู้ติดตาม facebook 61,000 บัญชี
ผู้ติดตาม twitter 631,100 บัญชี
เว็บไซต์ moveforwardparty.org
ด้วยบุคลิกฝีปากกล้าท้าชนเผด็จการ บวกกับอุดมการณ์อันแหลมคมของพรรคก้าวไกล และความช่ำชองในสนามออนไลน์ ทำให้ความนิยมในโซเชียลมีเดียของ 'วิโรจน์' ขึ้นแท่นลำดับต้นๆ เครื่องมือในการสร้าง engagement กับฐานเสียง ทั้งการโพสต์คอนเทนต์ การไลฟ์เปิดตัว นโยบาย จึงถูกจัดวางอย่างเป็นระบบ
แต่เมื่อเทียบฟอร์มจาก google trend กลับพบว่า ยังเป็นรอง "ชัชชาติ"
โดยชื่อ วิโรจน์ ได้รับความนิยมสูงสุดในการสืบค้นในรอบ 90 วันที่ผ่านมา เมื่อวันที่24 ม.ค. 2565 เนื่องจากมีการแสดงท่าทีที่ชัดเจนกับปัญหา "ทางม้าลาย" หลัง "หมอกระต่าย" ประสบอุบัติเหตุ ซึ่งเราไม่ได้พบท่าทีเช่นนี้กับ ผู้ว่าฯแต่งตั้ง
ไม่เพียงเท่านี้ พรรคก้าวไกลยังเป็นพรรคการเมืองไม่กี่พรรคที่ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ในการเป็นเครื่องมือสร้างความรับรู้และหาเสียงสนับสนุน ซึ่งถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้ฐานเสียงเข้าถึงได้อย่าง่ายดาย แม้จะถูกตั้งข้อสังเกตว่า วิถีพรรคการเมืองน้องใหม่ยังเข้าไม่ถึงกลุ่มคนรุ่นเก่า แต่ต้องห้ามลืมว่า ในศึกเลือกตั้ง ส.ส. ที่ผ่านมา เขาคือส่วนหนึ่งที่ทำให้อนาคตใหม่ชนะป๊อปปูล่าโหวตใน กทม.
ผู้ติดตาม facebook 678,000 บัญชี
ผู้ติดตาม twitter 4,220 บัญชี
เว็บไซต์ suchatvee.org
googel trend ชี้ให้เห็นความนิยมอดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) รายนี้มีการสืบค้นพุ่งสูงสุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2565 ในกระแสเชิงลบ ยังไม่นับหลานไอน์สไตน์ที่สื่อ/ชาวเนทช่วยกันแหกความจริงก่อนหน้านั้น หลังเจอยื่นตรวจสอบทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ สวนทางวิสัยทัศน์ประชาธิปไตยสุจริต พรรคประชาธิปัตย์ จนกระตุกต่อมชาวเน็ตอยากรู้จักสืบค้นเกี่ยวกับ "ทรัพย์สิน-ภรรยาพี่เอ้" ชนิด "พุ่งแรง"
โดยภาพรวมยังเป็นรอง "ชัชชาติ-วิโรจน์" เป็นต่อแค่ "อัศวิน"
ขณะที่สื่อโซเชียลจัดว่า ไม่ขี้เหล่ เพราะเป็นปรมจารย์ด้านพีอาร์ครั้งดำรงตำแหน่ง "อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง" มียอดผู้ติดตามค่อนข้างสูง ผลิตคอนเทนต์ เน้นตอบโจทย์การสร้าง "คุณภาพชีวิต" ให้กับคนเมือง ขายไลฟ์สไตล์ความเป็นคนรุ่นใหม่ในพรรคเก่า สอดรับกับเว็บไซต์ส่วนตัว ที่มีจุดโฟกัส "พี่เอ้" เป็นหลัก แต่นอกจากม็อตโต้ "เปลี่ยนกรุงเทพเราทำได้" ก็ยังหานโยบายยังไม่เจอ
ถึงภาพรวมกระแสออนไลน์ยังเป็นรอง ทว่าออนกราวด์ "อย่าดูถูกเอ้" เพราะ "ฝีปาก" นักการเมืองค่ายสีฟ้าขึ้นชื่อเรื่องประดิษฐ์ "วาทกรรม" ทำพลิกโผหักปากกาเซียนมานักต่อนัก ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 4 ครั้งซ้อน แต่หนนี้ยังต้องเดิมพัน เพราะศึกสนามใหญ่เมื่อปี 2562 'ประชาธิปัตย์' กลับ "สูญพันธุ์" ส.ส.กทม. เป็นที่เรียบร้อย
ผู้ติดตาม facebook 270,000 บัญชี
ผู้ติดตาม twitter 2,571 บัญชี (เพิ่งเปิด)
เว็บไซต์ bangkok.go.th
อดีตผู้ว่าฯ กทม.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง กลับพบสัญญาณแห่งความพ่ายแพ้ตั้งแต่เริ่มต้น เพราะผลสำรวจ google trend จัดให้ความนิยมอยู่ในลำดับสุดท้ายเมื่อเทียบกับ 4 แคนดิเดต ราวกับห้วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมา ไร้ผลงาน ไม่มีความนิยมให้ผู้คนสืบค้น เว้นวันเดียว คือ 24 มี.ค. 2565 ที่ประกาศตัวชิงผู้ว่าฯ หลังลีลากลับไป-กลับมา แทงกั๊กอยู่หลายคำรบ
นอกจากการขึ้นป้ายพีอาร์เนื้องานของส่วนราชการกรุงเทพมหานครด้วยภาพตนเองขนาดใหญ่โตมโหฬารแล้ว
"อดีตผู้ว่าฯ ม.44" ดูไม่สันทัดต่อการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เป็นหลักการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของ "นิวโหวตเตอร์" คนุร่นใหม่ และคนทุกช่วงวัยที่ปรับตัวเสพสื่อกันตามยุคสมัย ยอดผู้ติดตามผ่าน facebook และทวิตเตอร์ จัดว่า ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน เมื่อเปรียบเทียบแคนดิตเดตรายอื่น ๆ
ขณะที่เว็บไซต์ที่ใช้ในเป็นอีกช่องทางการเข้าถึง "ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง" ยังแตกต่างกับผู้ท้าชิงรายอื่น ๆ อย่างชัชชาติ กับ ดร.เอ้ ที่มีทีมงานสร้างเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ และรับฟังเสียงสะท้อนจากชาวกทม.ในการผลิตนโยบาย
ทว่า "อดีตข้าราชการตำรวจ" ที่มาจากการแต่งตั้งโดย "อดีตข้าราชการทหาร" กลับใช้ "เว็บไซต์หลวง" ในการประชาสัมพันธ์ผลงาน ก่อนที่เขาจะประกาศลาออกจากผู้ว่าฯ กทม.ที่มาจากการลากตั้งด้วยอำนาจพิเศษ
ล่าสุด พล.ต.อ.อัศวิน ประกาศนโยบายและทีมงาน 'รักษ์กรุงเทพฯ' ด้วยนโยบาย 'กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ" เพื่อหวังสานต่อจากสิ่งที่เคยทำไว้เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่คนกรุงเทพฯ จะเลือกแล้วว่าจะให้ 'อัศวิน' หยุดตอนนี้หรือไปต่อกันแน่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง