มาตรการดังกล่าวผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรชิลี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (11 เม.ย.) ด้วยคะแนน 127 ต่อ 14 คะแนน หลังจากได้รับการลงมติแบบลับจากวุฒิสภาเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ กาเบรียล บอริก ประธานาธิบดีฝ่ายซ้ายของชิลี ซึ่งคาดว่าจะลงนามในร่างกฎหมายดังกล่าว ยกย่องร่างกฎหมายนี้ว่าเป็น “โครงการสนับสนุนครัวเรือน ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน”
“นี่เป็นโครงการที่จะมีส่วนช่วยอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของเรา” เจนเน็ตต์ ฮารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานชิลีกล่าว “ใช่ การเปลี่ยนแปลงสามารถกระทำได้เพื่อพัฒนาสิทธิของแรงงาน” ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวแสดงถึงชัยชนะทางกฎหมายของบอริก ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเวทีฝ่ายซ้าย และสัญญาว่าเขาจะปรับปรุงสิทธิแรงงาน ต่อสู้กับความไม่เท่าเทียม และส่งเสริมความยุติธรรมในสังคม
อย่างไรก็ดี ความทะเยอทะยานบางอย่างที่ใหญ่กว่าของบอริก เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นเสรีนิยมใหม่ของประเทศ ซึ่งใช้สืบทอดมาจากยุคของเผด็จการฝ่ายขวาอย่าง ออกุสโต ปิโนเชต์ และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบการเก็ยภาษี ประสบกับความพ่ายแพ้ในการลงมติของรัฐสภา
กฎหมานยฉบับใหม่นี้ จะลดจำนวนสัปดาห์การทำงานลงเรื่อยๆ ในช่วงเวลา 5 ปี จนกว่าประชาชนในชิลีจะเหลือเวลาทำงาน 40 ชั่วโมง ซึ่งเป็นมาตรฐานในประเทศอุตสาหกรรมหลายแห่ง อย่างไรก็ดี แรงงานในภูมิภาคลาตินอเมริกา มีสัปดาห์การทำงานที่ยาวนานที่สุดในโลก โดยพวกเขามีเวลาทำงานกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในประเทศต่างๆ อย่างเช่น เปรู อาร์เจนตินา เม็กซิโก และปานามา และ 44 ชั่วโมงในบราซิล โดยมีเอกวาดอร์เป็นเพียงประเทศเดียวในอเมริกาใต้ ที่มีเวลาทำงานเพียงแค่ 40 ชั่วโมง
สัปดาห์การทำงานที่ยาวนานขึ้น ไม่ได้แปลว่าจะเพิ่มผลิตภาพเสมอไป โดยฝรั่งเศสมีเวลาทำงาน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีพนักงานที่มีประสิทธิผลมากที่สุดในบรรดาประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) นอกจากนี้ ประเทศอื่นๆ ยังได้ทดลองโดยใช้เวลาทำงานสั้นลงหลายสัปดาห์ โดยหนึ่งในการทดลองที่ใหญ่ที่สุดได้ข้อสรุปในสหราชอาณาจักรเมื่อต้นปีนี้
การทดลองในสหราชอาณาจักร จากบริษัท 61 แห่งพบว่า การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ทำให้พนักงานมีความเครียดลดลง และมีผลกระทบต่อรายได้เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ บริษัทส่วนใหญ่จาก 61 แห่งตัดสินใจที่จะดำเนินการให้พนักงานทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ต่อไป หลังจากการทดลองจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตาม
กฎหมายลดเวลาทำงานฉบับใหม่ของชิลีในครั้งนี้ ป้องกันไม่ให้ภาคธุรกิจลดเงินเดือนแรงงาน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและอนุญาตให้พนักงานเปลี่ยนไปทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ดี สำนักข่าว AFP รายงานว่า กฎหมายนี้ไม่ได้บังคับใช้กับภาคเศรษฐกิจนอกระบบของชิลี ซึ่งมีแรงงานมากกว่า 1 ใน 4 ของประเทศ
ที่มา: