ไม่พบผลการค้นหา
จีน ขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศ หลังยานสำรวจลงจอดบนดวงจันทร์ คาดมีความสามารถในการสำรวจกาแล็กซีในอนาคต

เมื่อวันที่ 3 มกราคม ที่ผ่านมา จีนประสบความสำเร็จในการนำยานสำรวจลงจอดบนดวงจันทร์ การลงจอดครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการเดินไปข้างหน้าในเส้นทางการแข่งขันด้านอวกาศกับประเทศผู้นำอื่นๆ

แม้การโพสต์ของ อีลอน มัสก์ เกี่ยวกับยานอวกาศ สตาร์ชิป (Starship) และเป้าหมายในการไปเยือนดาวอังคารขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา จะทำให้การไปเยือนดวงจันทร์ของจีนดูไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นสักเท่าไหร่ แต่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศต่างออกมาชื่นชมในเทคโนโลยีเกี่ยวกับการลงจอด พร้อมเสริมว่า แม้ในระยะสั้นการสำรวจแร่ธาตุบนดวงจันทร์ดูจะมีโอกาสน้อย แต่ในระยะยาวผลประโยชน์ในการสำรวจอวกาศมีอย่างแน่นอน


"จีนคิดมากว่าทศวรรษ ในขณะที่สหรัฐฯ คิดแค่ในระยะช่วงรับตำแหน่งของประธานาธิบดี" คลีฟ นีล ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงจันทร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเธอดาม กล่าว

จีน vs สหรัฐฯ

ในปี 2561 จีนชนะสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในการส่งดาวเทียมออกไปในวงโคจร การประสบความสำเร็จในการลงจอดบนดวงจัทร์ครั้งนี้ เป็นการประกาศตัวเป็นคู่แข่งด้านการสำรวจ การสื่อสาร และการพาณิชย์บนอวกาศอย่างเป็นทางการของจีน

เป้าหมายหลักของยาน ฉาง อี-4 (Chang'e-4) ที่อยู่ในด้านมืดของดวงจันทร์คือการเก็บตัวอย่างแร่ธาตุ

ผู้สังเกตการณ์อวกาศหลายคนออกมาให้ความเห็นว่ามนุษยชาติมีแนวโน้มจะค้นพบแร่ทอง แร่เงิน แร่อิริเดียม และแร่แพลทินัม บนดาวเคราะห์น้อยต่างๆ อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ทำให้ความพยายามในการขุดหาแร่ธาตุบนดวงจันทร์ในอนาคตอันไกลเพื่อรองรับการเป็นสถานีเติมเชื้อเพลิงบนดวงจันทร์สูญไป

แร่ธาตุพื้นฐานบนดวงจันทร์คือแก๊สฮีเลียม-3 (helium-3) ซึ่งยังแพงเกินไปในการขนส่งกลับมายังโลก ในทางทฤษฏี ไอโซโทปที่ไม่ใช่สารกัมมันตรังสีสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานอวกาศในยุคถัดไปเพื่อสำรวจอวกาศ

ปีเตอร์ ไดอาร์มานดี นักธุรกิจผู้ก่อตั้ง เอ็กไพรซ์ (XPrize)กล่าวว่า "ถ้าเราสามารถได้เชื้อเพลิงจากอวกาศ มันจะลดต้นทุนได้มาก"

ด้าน อเล็กซ์ เอลเลอร์รี จากมหาวิทยาลัยคาร์เลตัน กล่าวว่า สำหรับผู้ที่ขุดหาแร่ธาตุบนดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าหากมีการค้นพบแร่ธาตุใต้พื้นผิว โดยเน้นว่าการนำแร่ธาตุจากดวงจันทร์กลับมายังโลกทำได้ง่ายกว่าอันเนื่องมากจากทั้งแรงโน้มถ่วงและระยะทางจากดวงจันทร์มาโลก

ในระยะถัดไปคือการนำมนุษยชาติกลับมาจากดวงจันทร์ ในสหรัฐฯมีการโต้วาทีอย่างหนักว่าควรสร้างการลงจอดโดยตรงอย่างเร็วที่สุด หรือสร้างฐานบนดวงจันทร์ซึ่งจะใช้เวลานานขึ้น โดยผู้บริหารขั้นสูงของนาซาดูจะเอนเอียงไปในตัวเลือกข้อหลัง

"ผู้คนบางกลุ่มในสหรัฐฯกล่าวว่า "เราต้องการนำมนุษย์กลับยังพื้นโลกก่อนจีน" ในขณะที่ผู้คนอีกกลุ่มกล่าวว่าเราอยู่ในสนามแข่งแล้วและอเมริกาต้องระวังไม่เร่งรีบเกินไป" เดวิด ท็อดด์ นักวิจัยจากบริษัทสำรวจเซราดาต้า (Seradata) กล่าว

ท็อดด์กล่าวว่าเขาคาดว่าจะสามารถมีตลาดสำหรับการท่องเที่ยวในอวกาศเชิงพาณิชย์และดวงจันทร์น่าจะในการแข่งครั้งนี้ โดยกล่าวเสริมว่า "ผมสามารถมองเห็นผู้คนไปเที่ยววันหยุด 2 สัปดาห์บนดวงจันทร์ แต่ไม่ใช่ใช้เวลา 2 ปีบนดาวอังคาร"

แม้จะเป็นการส่งยานสำรวจไปยังดวงจันทร์ซึ่งดูไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นมากนัก แต่แท้จริงแล้วอาจะเป็นการทดสอบศักยภาพในเทคโนโลยีของจีน เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าแค่เพียงดวงจันทร์

อ้างอิง; Bloomberg