ไม่พบผลการค้นหา
พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีรับคำร้องของ 'ไพบูลย์ นิติตะวัน' ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ และ 'สมชาย แสวงการ' สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่ส่งคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของสมาชิกรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ 256 (1) เพื่อเปิดทางให้มีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)

เอกสารสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ระบุผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2564 ว่า ศาลรัฐธรรมนุญพิจารณาข้อเท็จจริง ตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้ว เห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่และอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ การยื่นคำร้องต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 7 (2) คือ ต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจที่เกิดขึ้นแล้ว และในกรณีที่ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับหน่วยงานใด ให้หน่วยงานนั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ

เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่าในคราวประชุมของรัฐสภาเมื่อวันที่ 9 ก.พ.2564 ดังกล่าว มีมติเสียงข้างมาก ส่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยกรณีดังกล่าว ตามมาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) กรณีจึงเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 7 (2)

ศาลรัฐธรรมนูญจึงสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ให้ผู้เกี่ยวข้องคือ มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สมคิด เลิศไพฑูรย์ และอุดม รัฐอมฤต ทำความเห็นเป็นหนังสือตามประเด็นที่กำหนด โดยให้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 3 มี.ค.2564 และนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 4 มี.ค.นี้

ธรรมนัส ไพบูลย์  รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ A20C-647012715C7B.jpegไพบูลย์ รัฐสภา ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 43B-8D54-B1325039B42F.jpeg

ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน ก็ยื่นเรื่องถึงประธานศาลรัฐธรรมนูญขอให้นำบุคคลมาให้ข้อมูลในการพิจารณาวินิจฉัย โดยหัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้าน 6 พรรค เห็นว่า บุคคลทั้ง 4 คนที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ทำความเห็นยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้นล้วนเป็นบุคคลที่มส่วนได้เสียในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจได้ข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนถูกต้อง และเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญควรเปิดกว้างให้บุคคลที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนุญได้ทำความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญด้วย เช่น หัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ตัวแทนประชาชน ซึ่งเป็นผู้เสนอญัตติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม นักวิชาการผู้ที่มีความเป็นกลางทางการเมือง เป็นต้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพิ่งผ่านการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่สองเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 (5) ให้รอไว้ 15 วันจึงจะให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป

วิธีการออกเสียงในวาระที่สามนั้น มาตรา 256 (6) กำหนดให้การออกเสียงลงคะนแนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผยและต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยจำนวนนี้ต้องมี ส.ส.จากพรรคการเมืองที่มิได้้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมี ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา

หากนับเฉพาะเสียง ส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เท่ากับ ต้องมี ส.ว.จำนวน 83 ร่วมเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากพอควรในการผ่านร่างรัฐธรรมนูญสำหรับเงื่อนไขที่ต้องใช้เสียง ส.ว.

เพราะ ส.ส.จะได้เสียงจากพรรคร่วมรัฐบาลผสมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านรวมแล้วมากกว่ากึ่งหนึ่งของสองสภา แต่ถ้าไม่ได้เสียง ส.ว.เกิน 83 เสียงก็จะทำให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นมีอันตกไป

ทั้งนี้มีกำหนดการอย่างไม่เป็นทางออกมาเบื้องต้นว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเกิดขึ้นในวันที่ 17-18 มี.ค. ซึ่งจะเป็นการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ

ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญจะประชุมในวันที่ 4 มี.ค.นี้

ในทางกฎหมายมหาชนเกิดความสับสนอยู่พอควรกับการรับเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยอำนาจการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภา

วรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ตุลาการ ศาล รธน.ตัดสินสถานะ ปรีณา+ศรีนวล_๒๐๐๙๒๓.jpg

เรื่องนี้ทำให้ 'นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย' ที่ไม่ต้องการเปิดเผยชื่อให้ความเห็นผ่าน ‘วอยซ์’ ว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตีความตามมาตรา 210 (2) พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอํานาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ ก็จะเท่ากับว่าทุกเรื่องจะสามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้หมด ทั้งที่กรณีมาตรา 210 นั้นเป็นการวินิจฉัยเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเท่านั้น

ทางออกที่ดีที่สุดที่นักวิชาการผู้นี้เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญควรตีความคือ ยกคำร้องไม่รับไว้วินิจฉัยและเห็นว่าเป็นอำนาจของรัฐสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เพราะมาตรา 256 (9) ได้กำหนดช่องทางให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังผ่านการลงมติในวาระที่สาม โดยก่อนที่นายกฯ จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระปรมาภิไธย ส.ส. หรือ ส.ว. หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน10ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือของทั้งสองสภารวมกัน มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี ว่าร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบในวาระที่สามนั้นขัอต่ออมาตรา 254 หรือลักษณะตาม (8) ให้ประธานแห่งสภาส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้

นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ มองว่าหากไม่ใช้ช่องทางยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความหลังผ่านวาระที่สาม ก็สามารถใช้การโหวตคว่ำในชั้นพิจารณาวาระที่สามได้ ด้วยการให้ ส.ว.ลงมติเห็นชอบไม่ถึง 1 ใน 3 หรือให้ ส.ว.งดออกเสียงให้เพื่อให้เสียงเห็นชอบของ ส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3 ของวุฒิสภา

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มี ส.ส.ร.จากการเลือกตั้ง มาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จึงเรียกว่าอยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะชี้ขาดว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเปิดทางให้มีการแก้ไขทั้งฉบับ โดยยกเว้นหมวด 1-2 ได้หรือไม่ 

หรือจะทำได้เพียงแก้ไขเป็นรายมาตรา ตามที่ฝ่ายค้านได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และกังวลว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอาจมีคำตอบก่อนที่รัฐสภาจะลงมติในวาระที่สาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง