ที่หมู่บ้านบ่อแก้ว อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ วันนี้ (27 ส.ค.) ซึ่งเป็นวันครบกำหนดที่เจ้าหน้าที่จากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ฟ้องร้องและให้จะเข้าบังคับคดีและไล่รื้อบ้านชาวบ้านตามคำสั่งศาล และถึงแม้เมื่อวานนี้ (26 ก.ค.) ตัวแทนคณะกรรมการยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาที่ดินกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาชาวบ้านและไกล่เกลี่ยให้ยืดเวลาการบังคับคดีชาวบ้านออกไปอีก 30 วัน แต่ชาวบ้านก็ยังมีความกังวลเนื่องจากยังไม่มีหนังสือออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งชาวบ้านได้ปักหลักเฝ้าระวังการเข้าไล่รื้อของเจ้าหน้าออกเป็น 3 จุด โดยมีจุดหลักอยู่ปากทางเข้าหมู่บ้านมีจำนวนชาวบ้านกว่าสามสิบคนคน คอยเฝ้าระวังสถานการณ์ และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสภ.คอนสารและเจ้าหน้าที่สันติบาลมาสังเกตุการณ์
ทั้งนี้ในช่วงเช้า (27 ส.ค.) ชาวบ้านได้เดินรณรงค์ถือป้ายข้อความต่อต้านการเข้าไล่รื้อของอ.อ.ป. รอบหมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดเวทีสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาของชาวบ้านเครือข่ายในหลายพื้นที่ที่ได้รับความเดือนร้อนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน นายหนูเกณ จันทาสี ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานกล่าวว่า แม้จะมีการยืดเวลาออกไปอีก 30 วันแต่ขณะนี้ก็ยังถือว่าเหตุการณ์ไม่ปรกติ และชาวบ้านก็ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้กรณีการทวงคืนที่ดินถือเป็นนโยบายของรัฐเกี่ยวกับนโยบายการทวงคืนผืนป่า โดยมีเป้าหมายจะทวงผืนป่าให้ได้ 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งประเทศ หรือคิดรวมเป็น 102 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ตรงนี้จะรวมไปถึงที่ดินชาวบ้านที่สวนป่าประกาศทับซ้อนกันด้วย ซึ่งการทวงคืนผืนป่ารวมระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่รัฐได้ออกมาตรการไล่รื้อและทวงคืนจากประชาชนจำนวมาก ซึ่งหากใครให้ที่ดินคืนก็จะให้เกียรติบัตรว่าเป็นคนดีของสังคม แต่ถ้าใครไม่ยอมคืนภาครัฐก็จะใช้วิธีทวงคืนโดยการสนธิกำลังของเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดปัญหาเรื้อรังมาถึงปัจจุบัน ไม่เท่านั้นภาครัฐเองยังมีการออกกฎหมายป่าไม้ฉบับใหม่ที่ระบุว่าถ้าประชาชนไม่ยอมออกจากพื้นป่าที่ทางการได้ออกประกาศจะปรับประชาชนถึงวันละ 10,000 บาท ซึ่งกฎหมายแบบนี้ไม่เป็นธรรมกับประชาชนและจะต้องได้รับการแก้ไข และในกฎหมายถึงแม้จะระบุว่าให้ประชาชนสามารถทำกินในบริเวณพื้นที่ป่าได้ เพียงแต่จ่ายเงินขออนุญาต 5 แสนบาท ซึ่งประชาชนไม่มีเงินมากขนาดนั้น จะมีก็แต่นายทุนที่จะมาหาผลประโยชน์จากช่องว่างของกฎหมายฉบับนี้
นอกจากนี้ในเวทียังได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนชาวบ้านที่เข้าร่วมให้กำลังใจชาวบ้านบ่อแก้วได้สะท้อนปัญหาในพื้นที่ของตนเอง อาทิพื้นที่ปัญหาของชาวบ้านโชคชัย ต.ดงมะไฟที่ต่อต้านโรงโม่หินในจังหวัดหนองบัวลำภูซึ่งมาตั้งในเขตพื้นที่ป่าที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ตัวแทนจากเครือข่ายสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ที่ได้ต่อสู้ในเรื่องที่ดินทำกินรกร้าง ตัวแทนเครือข่ายพนักงานบริการมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เครือข่ายผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ ตัวแทนของชาวบ้านจากกลุ่มรักษ์บ้านแหงที่ลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการก่อสร้างเหมืองแร่ลิกไนต์ในตำบลบ้านแหง ตัวแทนขาวบ้านจากกล่มคนรักษ์บ้านเกิด อ.วังสะพุง จังหวัดเลยที่ได้รับผลกระทบจากการต่อต้านเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ ตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลายที่ลุกขึ้นมาต่อต้านการยื่นขอประทานบัตรเหมืองหินอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติของชาวบ้าน ตัวแทนกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดบำเหน็จณรงค์จังหวัดชัยภูมิที่ลุกขึ้นมาคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในเหมืองแร่โปแตชอาเซียน โดยชาวบ้านได้สะท้อนถึงสภาพปัญหาที่ถูกกระทำจากรัฐและเอกชนเหมือนกรณีของชาวบ้านบ่อแก้ว และยังให้กำลังใจกับการต่อสู้ของชาวบ้านบ่อแก้วด้วย
ต่อมามีพรรคการเมืองได้เดินทางเข้ามาให้กำลังใจและสังเกตการณ์เหตุการณ์ร่วมกับชาวบ้าน ประกอบด้วยพรรคสามัญชน และพรรคอนาคตใหม่โดยนายอภิชาติ ศิริสุนทร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่เปิดเผยว่า กรณีนโยบายทวงคืนผืนป่าของภาครัฐพิสูจน์ชัดว่าได้สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านโดยเฉพาะการรื้อไล่ที่ล่าสุดทางพรรคฝ่ายค้านได้เสนอต่อสภาให้ตั้งกรรมาธิการศึกษานโยบายทวงคืนผืนป่าของรัฐบาซึ่งรัฐสภาก็ได้มีการบรรจุวาระนี้ไว้ในลำดับที่ 14 แล้ว เมื่อผ่านวาระพิจารณาก็จะมีการตั้งกรรมาธิการโดยจะเชิญตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมาร่วมนั่งเป็นกรรมาธิการด้วย
ขณะที่นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรคสามัญชน กล่าวว่า เรื่องปัญหาที่ดินทิ้งร้างของเอกชนที่ไม่ได้ทำประโยชน์เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการแย่งยึดที่ดินทำกินของชาวบ้าน คนรวยที่กักตุนเป็นล้านๆไร่เป็นการแย่งยึดที่ดินทำกินของประชาชนเพื่อหวังเอาไปขายในภายภาคหน้า สิ่งที่คนรวยเหล่านี้ทำเป็นการแย่งยึดที่ดินทำกินของเราทั้งหมด เป็นการสะสมความมั่งคั่งและเป็นเนื้อร้ายของแผ่นดินที่ทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและส่งผลให้การพัฒนาที่ยั่งยืนตามประกาศของสหประชาชาติไม่สำเร็จ ซึ่งพรรคสามัญชนก็ยืดหยัดพร้อมที่จะสู้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ
จากนั้นในช่วงบ่ายชาวบ้านบ่อแก้วได้ร่วมกันปักหมุดเสาแดง 3 ต้นหน้าหมู่บ้านซึ่งเขียนข้อความ เครือข่ายยปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน บ่อแก้วเกษตรอินทรีย์ สู้ไม่ถอย เสรีภาพ ภราดรภาพและความเสอภาค เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการแสดงเจตนารมณ์ว่าชาวบ้านแนวร่วม จะปักหมุดสู้ในที่ดินของชุมชนและเพื่อสร้างชุมชมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ของตนเองอย่างเข้มแข็ง พร้อมกันนี้ชาวบ้านยังได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์โดยในแถลงการณ์ระบุว่า 1.เราจะร่วมกันปกป้องชุมชนบ่อแก้ว ในฐานะที่อยู่อาศัยของเกษตรกรไร้ที่ดิน ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการสร้างแหล่งผลิตอาหาร ภายใต้แนวทางเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร 2. เราจะร่วมกันผลักดันให้มีการคืนพื้นที่ของอุตสาหกรรมป่าไม้ จำนวนเนื้อที่ 1 ล้านกว่าไร่ ( โดยเฉพาะการปลูกสร้างสวนป่าตามโครงการ 3 ที่ดำเนินการตามเงื่อนไขสัมปทานทำไม้) เพื่อส่งคืนให้กับรัฐบาลเพื่อนำมาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม โดยนำมาใช้ จัดสรรในลักษณะกรรมสิทธิ์ส่วนรวมให้กับองค์กรของเกษตรกร เพื่อสร้างความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ทั้งในฐานะพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการปลูกสร้างป่าชุมชน พัฒนาระบบนิเวศของชุมชน 3.เราจะร่วมกันผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรและที่ดิน โดยมีเป้าหมายกระจายการถือครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคม
ภายหลังจากอ่านแถลงการณ์แล้วชาวบ้านยังได้จีดทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้กับชาวบ้านบ่อแก้วที่ถูกรัฐฟ้องร้องดำเนินคดีด้วย ซึ่งถือว่าบุคคลเหล่านี้เป็นนักปกป้องสิทธิในที่ดินทำกิน ปกป้องสิทธิมนุษยชนและต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง