นายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ ถูกตำรวจอังกฤษรวบตัว หลังจากลี้ภัยอยู่ในสถานทูตเอกวาดอรื ประจำอังกฤษมานานกว่า 7 ปี เพื่อหลบเลี่ยงการถูกจับในข้อหาข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศจากทางการสวีเดน
แถลงการณ์จากทางตำรวจในกรุงลอนดอนระบุว่า ทางตำรวจได้ดำเนินการจับกุมตามหมายศาลที่ออกโดยศาลในเวสมินเตอร์เมื่อปี 2012 และได้รับความร่วมมือจากสถานทูตเอกวาดอร์ หลังจากที่ทางรัฐบาลเอกวาดอร์ได้ถอนการคุ้มครองนายอัสซานจ์เมื่อเร็วๆนี้
ทางด้านนายซาจิด จาวิด รัฐมนตรีมหาไทยของอังกฤษยืนยันว่าได้มีการจับกุมตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ที่ลี้ภัยอยู่ในสถานทูตของเอกวาดอร์มานานกว่า 7 ปี พร้อมทั้งกล่าวขอบคุณทางเอกวาดอร์ที่ให้ความร่วมมือและทางตำรวจในกรุงลอนดอนที่ปฏิบัติงานอย่างเป็นมืออาชีพ นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมายได้
ขณะที่ประธานาธิบดีเอกวาดอร์กล่าวว่า "รัฐบาลเอกวาดอร์ได้ถอดถอนการคุ้มครองนายอัสซานจ์ เนื่องจากนายอัสซานจ์ได้ละเมิดเงื่อนไขของการคุ้มครองและกระทำความผิดซ้ำหลายครั้ง"
ด้านเว็บไซต์วิกิลีกส์ได้ขึ้นภาพของนายอัสซาจน์ พร้อมระบุว่า เขาเป็นทั้งลูกชาย เป็นพ่อ เป็นพี่ชาย เขาได้รับรางวัลในงานข่าวเป็นจำนวนมาก ได้รับการเสนอชื่อในรางวัลโนเบลทุกๆปีนับตั้งแต่ปี 2010 ประเทศมหาอำนาจ รวมไปถึงซีไอเอได้พยายามลดทอนความเป็นมนุษยชน ลดทอนความน่าเชื่อถือและกักขังเขา
นายอัสซาจน์ เป้นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เผยแพร่เอกสารและข้อมูลลับที่ได้มาจากประชาชนนับตั้งแต่ปี 2010 โดยเฉพาะข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสงครามในอัฟกานิสถานและในอิรักของทางรัฐบาลสหรัฐฯ รวมไปถึงข้อมูลลับที่ส่งให้กับนักการทูตต่างๆของสหรัฐฯ
นอกจากนี้นายอัสซาจน์ยังตกเป็นต้องสงสัยในการช่วยเหลือรัสเซียเพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเมื่อปี 2016 ซึ่งวิกิลีกส์มีการปล่อยข้อมูลเกี่ยวกับการรณรงค์หาเสียงของนางฮิลาลี คลินตัน และของทางพรรคเดโมเครต ขณะที่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางหน่วยงานยุติธรรมของสหรัฐฯได้จับกุมเจ้าหน้าที่รัสเซีย 12 คน ข้อหาโจกรรมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ แต่มีการตั้งข้อสงสัยว่าพวกเขาเหล่านั้นอาจมีการติดต่อกับทางวิกิลีกส์
ทั้งนี้นายอัสซาจน์ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยในสถานทูตของเอกวาดอร์มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2012 หลังจากหลบหนีออกจากสวีเดน โดยเขาถูกตั้งข้อหาข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศ
อย่างไรก็ตาม อัยการสวีเดนได้ยุติการสอบสวนคดีอัสซานจ์ เพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอ และมีอุปสรรคด้านข้อกฎหมายเมื่อปี 2017 ขณะที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยต่อกระบวนการยุติธรรมสวีเดนว่าถูก แทรกแซงจากประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ หรือไม่
ที่มา NYtimes / BBC / The guardian
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :