ไม่พบผลการค้นหา
เต่าหญ้ากลับมาวางไข่ที่หาดท้ายเหมือง จ.พังงา ครั้งแรกในรอบกว่า 22 ปี เจ้าหน้าที่ขุดเปิดหลุมเคลื่อนย้ายไข่ไปทำหลุมฟักใหม่ เนื่องจากหลุมเก่าน้ำทะเลท่วมถึงได้

นายมงคล ลิ่ววิริยกุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองได้รับแจ้งจากประชาชน หมู่ที่ 7 บ้านในไร่ ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ว่า มีเต่าทะเลขึ้นวางไข่บริเวณหาดบ่อดาน (หินช้าง) ไปทางทิศใต้ประมาณ 200 เมตร จึงได้ประสานงานกับนายปรารพ แปลงงาน หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (พังงา) นายประภาส ขุนพิทักษ์ นายอำเภอท้ายเหมือง และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเตย เข้าร่วมตรวจสอบ พบมีร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลที่พิกัด UTM 0419385 E 0919814 N (นอกเขตอุทยานฯ) จึงทำการตรวจวัดขนาดความกว้างของพาย วัดได้ 78 เซนติเมตร 

1139662.jpg

และประเมินแล้วว่าหลุมไข่เต่าน้ำทะเลท่วมถึง จึงได้ทำการขุดเปิดหลุมลึกลง 25 เซนติเมตร พบไข่เต่าทะเลชนิดเต่าหญ้า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไข่เต่าประมาณ 3-4 เซนติเมตร ซึ่งทำการเคลื่อนย้ายใส่ภาชนะนับจำนวนได้ 81 ฟอง และได้ทำการเคลื่อนย้ายไปทำหลุมฟักใหม่ ที่ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลที่บริเวณหน้าวัดท่าไทร เพื่อทำการเพาะฟักตามธรรมชาติ จะใช้เวลาประมาณ 45 วัน และได้ส่งมอบให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งดูแลต่อไป โดยจากการตรวจสอบสถิติการขึ้นวางไข่ของเต่าหญ้าในเขตอุทยานฯ ย้อนหลัง พบว่ามีบันทึกเต่าหญ้าขึ้นวางไข่ครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2539 หลังจากนั้นไม่มีสถิติพบการขึ้นวางไข่อีกเลยเลย

ทั้งนี้ มูลนิธิอนุรักษ์เต่าทะเลหาดไม้ขาวและกองทุนอนุรักษ์เต่าทะเลและถิ่นอาศัย ได้มอบเงินรางวัลค่าตอบแทนให้กับผู้แจ้งการพบรังไข่เต่าทะเล โดยมอบให้กับนายส้าหาด สีระยาชาวบ้านในพื้นที่เป็นจำนวน 10,000 บาท

IMG_20170828_152910771_HDR.jpg

เต่าหญ้า หรือ เต่าสังกะสี หรือ เต่าหญ้าแปซิฟิก (อังกฤษ: Olive ridley sea turtle, Pacific ridley) เป็นเต่าทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepidochelys olivacea มีขนาดเล็ก ความยาวเต็มที่ประมาณ 60-70 เซนติเมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 30-40 กิโลกรัม กระดองมีสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาล เกล็ดบนกระดองมีลักษณะซ้อนกันเหมือนสังกะสีมุงหลังคา อันเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่ง ส่วนท้องมีสีเหลืองออกขาว หัวค่อนข้างโต ดวงตาปูนโปนออกมา กระดองมีความแข็งมาก ริมฝีปากสั้นทู่และคมแข็งแรงมากเพื่อใช้สำหรับขบกัดกินสัตว์มีกระดองซึ่งเป็นอาหารหลัก ส่วนของกระดองและท้องเชื่อมต่อกัน เป็นเต่าทะเลที่ว่ายน้ำได้เร็วมาก โดยอาจว่ายได้ถึง 35 กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง ในน่านน้ำไทยจะพบได้ในฝั่งทะเลอันดามัน ในอ่าวไทยจะพบได้น้อยกว่า จัดเป็นเต่าทะเลอีกชนิดหนึ่งที่พบได้น้อยมากในน่านน้ำไทยจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535

By Bernard Gagnon

ข่าวที่เกี่ยวจข้อง