ไม่พบผลการค้นหา
มาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย ในการอภิปรายแบบเปิดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในหัวข้อการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ผ่านพหุภาคีนิยมและการระงับข้อพิพาทโดยสันติ

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2568 นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย ในการอภิปรายแบบเปิดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในหัวข้อการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ผ่านพหุภาคีนิยมและการระงับข้อพิพาทโดยสันติ ซึ่งจัดโดยปากีสถานในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงฯ ประจำเดือนกรกฎาคม 2568

ในถ้อยแถลง รัฐมนตรีฯ ได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของไทยในการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ พร้อมย้ำสามประเด็นสำคัญ:

(1) หลักการที่กำหนดไว้ในกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งระบุแนวทางที่หลากหลายในการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี โดยเน้นย้ำว่าไม่มีแนวทางเดียวที่ใช้ได้กับทุกข้อพิพาท

(2) บทบาทของสหประชาชาติในการส่งเสริมสันติภาพและการไม่ใช้ความรุนแรง โดยรัฐมนตรีฯ สนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถของสหประชาชาติในการป้องกันความขัดแย้ง

(3) ความร่วมมือระหว่างสหประชาชาติกับอาเซียน โดยอาเซียนได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทสำคัญต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยอาศัยแนวทางการสร้างฉันทามติ ตลอดจนมาตรการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการทูตเชิงป้องกัน

On 22 July 2025, H.E. Mr. Maris Sangiampongsa, Minister of Foreign Affairs, delivered Thailand's national statement at the Open Debate of the Security Council on Promoting International Peace and Security through Multilateralism and Peaceful Settlement of Disputes. The Debate was convened by Pakistan as the President of the Security Council for July 2025.

In his statement, the Minister reaffirmed Thailand’s unwavering commitment to the peaceful settlement of disputes as a foundation for international peace and security. He highlighted three key points:

(1) The principles enshrined in the United Nations Charter which outline a broad spectrum of peaceful means for dispute resolution, emphasizing that there is no one-size-fits-all approach to disputes;

(2) The role of the United Nations in promoting peace and non-violence, advocating for strengthening the organization’s capacity-building efforts for conflict prevention; and

(3) The collaboration between the United Nations and the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN), which has been recognized for its significant contribution to regional peace and stability, owing to its consensus-based approach as well as its advocacy for confidence-building measures, and preventive diplomacy.

523185846_1178038871031865_4256356966933336173_n.jpg523769935_1178038874365198_8589536722470920161_n.jpg518397899_1178038847698534_5660154578306574690_n.jpg