ไม่พบผลการค้นหา
จับตาอนาคต ‘การบินไทย’ หลังขอฟื้นฟูกิจการ ศาลรับคำร้อง นัดไต่สวน 17 ส.ค. นี้ ฝากอนาคตทั้งหมดไว้กับ ‘ผู้ทำแผน’ และ ‘ผู้บริหารแผน’ ล่าสุดบอร์ดขยายเวลาลดเงินเดือนพนักงานต่ออีก 3 เดือน หั่นรายจ่ายเพื่อให้องค์กรเดินหน้าได้ต่อ คาดอาจต้องปลดพนักงานถึง 6,000 คน

ตามที่แนวทางออกของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หลังมีหนี้สินในปี 2562 สูงถึง 147,352 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มเป็นกว่า 219,198 ล้านบาทในช่วงสิ้นปี 2563 ถึงเวลารีเซ็ทองค์กรใหม่ คือ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย ไปแล้วนั้น

10 ขั้นตอนฟื้นฟูกิจการของการบินไทย

ตามแนวทางเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูภายใต้คำสั่งศาล หลักๆ จะมี 10 ขั้นตอน คือ 1.คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการไป เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2563 และกระทรวงการคลังลดสัดส่วนการถือหุ้นลงต่ำกว่าร้อยละ 50 ทำให้การบินไทยสิ้นสภาพหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไปแล้ว 2.การบินไทย ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการและเสนอตัวผู้ทำแผนต่อศาล โดยดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2563

ศักดิ์สยาม แจงการบินไทย แผนฟื้นฟูกิจการ
  • 10 ขั้นตอนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูภายใต้คำสั่งศาล


โดยขั้นตอนที่ 3. คือ ศาลรับคำร้องฟื้นฟูกิจการ ซึ่งศาลได้มีการนัดไต่สวนในวันที่ 17 ส.ค. 2563 ทำให้การบินไทยได้รับคุ้มครองพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ทันที่ 4.ส่งหมายให้เจ้าหนี้ 5. ประชุมเจ้าหนี้อนุมัติผู้ทำแผนโดยใช่เงินข้างมาก 6.ศาลนัดไต่สวนคำร้อง มี 2 แนวทาง คือ ไม่ให้ฟื้นฟูกิจการ หรือ ให้ฟื้นฟูกิจการ และศาลจะแต่งตั้งผู้ทำแผนตามเข้าควบกิจการแทนคณะกรรมการบริษัทชุดปัจจุบัน 7.ผู้ทำแผนเสนอแผนฟื้นฟูกิจการ 8.ประชุมเจ้าหนี้อนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ 9.ศาลพิจารณาเห็นชอบแผนที่เสนอ และ 10.ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ

ทั้งนี้เท่ากับว่าอนาคตของการบินไทยหลังจากนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าขึ้นอยู่กับ ‘ผู้ทำแผน’ และ ‘ผู้บริหารแผน’

วิษณุ โควิด 3255000000.jpg
  • วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี

ตั้ง ‘ซุปเปอร์บอร์ด’ ติดตามแผนฟื้นฟื้นฯ ‘วิษณุ’ นั่งประธาน

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 9 คน โดยให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยมีหน้าที่หลัก คือ 1.เป็นตัวแทนภาครัฐในการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบินไทยในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้คำสั่งศาล และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน

2.ให้คำแนะนำแก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบินไทย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของรัฐ โดยไม่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาของศาล

3.กลั่นกรอง ตรวจสอบและอำนวยความสะดวก หรือ ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์แก่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และการดำเนินกิจกรรมของการบินไทย ตามที่มีการร้องขอและไม่ขัดต่อกฏหมาย

4.ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรี หรือ คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

และ 5.รายงานการปฏิบัติงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะๆ

‘ฟื้นฟูกิจการ’ ไม่ใช่ ‘ล้มละลาย’

กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย เป็นการขออำนาจศาลเป็นที่พึ่งเพื่อหาทางให้กิจการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งยังให้บริการการบินได้ต่อ แตกต่างจาก ‘ล้มละลาย’ ที่หมายถึงกิจการไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้แล้ว จากปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ ซึ่งเจ้าหนี้จะเป็นผู้ฟ้องให้กิจการนั้นล้มละลาย ดังนั้นสถานะตอนนี้ ‘การบินไทย’ จึงไม่ใช่ ‘ล้มละลาย’ เพียงแต่ดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ล้มละลาย เท่านั้น

ลดเงินเดือน-ลดพนักงาน รีเซ็ทองค์กรเพื่อความอยู่รอด

การควบคุมค่าใช้จ่ายเพื่อให้การดำเนินการตามขั้นตอนการฟื้นฟูกิจการเดินหน้าได้สำเร็จเป็นสิ่งที่ดำเนินการได้ลำดับแรกๆ จากสถานะการเงินที่เหลือเพียงน้อยนิด ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการฯ (บอร์ด) การบินไทย เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2563 ได้มีมติขยายระยะเวลาการลดเงินเดือนพนักงานร้อยละ 10-50 ออกไปอีกเป็นเวลา 3 เดือน จากหลักเกณฑ์การลดเงินเดือนครบกำหนดมีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา ออกไปถึงสื้นเดือน ส.ค. 2563

การบินไทยฉีดพ้นไวรัส-ไวรัสโคโรนา-เครื่องบิน-ไวรัส

ขณะเดียวแนวทางฟื้นฟูกิจการมีการพูดถึง คือ การปลดพนักงานประมาณ 6,000 คน หรือร้อยละ 30 จากปัจจุบันมีพนักงาน 21,000 คน คิดเป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือน และสวัสดิการต่างๆพนักงานสูงกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี

ศักดิ์สยาม แจงการบินไทย
  • ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

มั่นใจเจ้าหนี้ไม่ขวางแนวทางฟื้นฟูกิจการ

ก่อนหน้านี้มีข้อกังวลในประเด็นที่ว่าเจ้าหนี้จากต่างประเทศจะไม่เห็นชอบผู้ทำแผน รวมถึงแผนทั้งหมด จะทำให้แนวทางการฟื้นฟูกิจการของการบินไทยต้องสะดุด เนื่องจากอาจจะได้รับชำระหนี้ล่าช้า รวมถึงส่งจดหมายแจ้งการบินไทยชำระหนี้ตามกำหนดมาแล้ว แต่ทางด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ยืนยันว่า จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้น เพราะมองว่าเป็นแนวทางที่เจ้าหนี้จะเห็นชอบด้วย เนื่องจากจะได้รับชำระหนี้คืนทั้งหมด หากการบินไทยกลับมาเข้มแข็งตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมั่นใจว่าการบินไทยจะกลับมาเข้มแข็งได้ภายใน 1 ปี

อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า ‘การบินไทย’ จะกลับมาเข้มแข็ง เป็นสายการบินแห่งชาติที่แข็งแกร่งได้หรือไม่นั้น เพราะท้ายที่สุดต้องรอศาลเป็นผู้พิจารณาหลังจากนี้ แต่ที่แน่ๆสามารถลดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ฟากฝั่งเจ้าหนี้เสนอ คือ บอร์ดบริหารการบินไทยในอนาคต จะต้องปลอดบุคคลที่มาจากฝ่ายทหาร เพื่อเปิดทางให้คนมีความรู้ความสามารถเข้ามาขับเคลื่อนองค์กร