ไม่พบผลการค้นหา
อุทยานธรณีสตูล พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ดึกดำบรรพ์ที่อยู่ใกล้ตัวคนไทยมากที่สุด แบบไม่ต้องไปถึงต่างประเทศ

ความสวยงามของท้อ���ทะเลดึกดำบรรพ์อายุกว่า 500 ล้านปีที่เก่าแก่ที่สุดของไทยและซากดึกดำบรรพ์ที่มีความหลากหลาย รวมทั้งการค้นพบชั้นหินปูนสาหร่ายสโตมาไลท์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนให้โลกในอดีตได้กลายเป็นแแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของ จ.สตูลหลังยูเนสโก้ไดรับรองให้อุทยานธรณีสตูลเป็นอุทยานธรณีโลกอย่างเป็นทางการ คาดว่าจะนำรายได้มาสู่พื้นที่ไม่ต่ำกว่าปีละ 150 ล้านบาท

อุทยานธรณีสตูล อยู่ในจังหวัดสตูล ทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย เพิ่งได้รับการรับรองเป็นอุทยานธณีโลกจากยูเนสโกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 ทำให้อุทยานธรณีสตูลแห่งแรกของไทย และไทยเป็นแห่งที่ 4 ของอาเซียน ประเทศลำดับที่ 38 ของโลก


ถ้ำ.jpg

ถ้ำเล-สโตเกดอน

อุทยานธรณีแห่งนี้มีคุณค่าด้านธรณีวิทยาโดดเด่นระดับนานาชาติ เหตุที่ได้รับการพิจารณาเป็นอุทยานธรณีโลก คืออาณาบริเวณของท้องทะเลดึกดำบรรพ์อายุกว่า 500 ล้านปีที่เก่าแก่ที่สุดของไทย ที่มีความหลากหลายสายพันธุ์ ของซากดึกดำบรรพ์ รวมถึงการค้นพบชั้นหินปูนสาหร่ายสโตมาไลท์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนให้โลกในอดีต ต่อมาแผ่นเปลือกโลกนี้เกิดการเคลื่อนที่และยกตัวขึ้นเปลี่ยนสภาพจากผืนทะเลสู่สภาพภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาหินปูน เกาะ แก่ง และถ้ำจำนวนมากมายที่มีรูปร่างสวยงามแปลกตา


ฟอสซิลกรามช้าง.jpg

ฟอสซิลกรามช้าง

แหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการและสันทนาการที่น่าสนใจ เช่น ถ้ำเล สเตโกดอน เป็นถ้ำอยู่ในเทือกเขาหินปูนทอดยาวมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ใต้ภูเขาไฟ ภายในคดเคี้ยว ระยะทางจากปากถ้ำถึงทางออกราว 4 กม. สิ่งที่โดดเด่นคือ การพบซากดึกดำบรรพ์ของช้าง และแรดสมัยไพลสโตซีน ฌเยเฉพาะช้าง สกุล "สเตโกดอน" ซึ่งเป็นที่มาของชื่อถ้ำ ภายในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อยรูปร่างลักษณะต่างๆ ให้ได้ชมตลอดทางอีกด้วย ลักษณะการท่องเที่ยวเป็นแบบเชิงคุณภาพเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ


เกาะเขาใหญ่.jpg

ปราสาทหินพันยอด

อีกที่คือ "เขาโต๊ะหงาย" ที่แม้ไม่มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ แต่จากการเปรียบเทียบชั้นหินแสดงให้เห็นว่า หินปูนสีเทาเป็นหินปูนกลุ่มหินทุ่งสูงยุคออร์โดวิเชียน ส่วนหินทรายสีแดงเป็นหินทรายกลุ่มหินตะรุเตายุคแคมเบรียน โดยระนาบสัมผัสระหว่างกลุ่มหินทั้งสองเป็นระนาบลอยเลื่อนที่มีการวางเอียงตัวไปทางทิศตะวันออก จากการที่ชั้นหินทรายสีแดงมีการวางตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วยมุม 22 องศา แล้วค่อยๆ เพิ่มการเอียงมากขึ้น จนอยู่ในแนวตั้งฉากที่บริเวณด้านใต้ของระนาบรอยเลื่อน หากมีการเดินผ่านระหว่างหินสองชนิดนี้ ถือว่าเป็นการเดินข้ามเวลา จึงเรียกจุดนี้ว่า "เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย"


เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย.jpg

เขตข้ามกาลเวลาเขาโต๊ะหงาย

นอกจากนี้ยังมี "ปราสาทหินพันยอด" เป็นส่วนหนึ่งของเกาะเขาใหญ่ เป็นเกาะหินปูนกลางทะเล เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา บนเกาะนี้จะมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนเสียส่วนใหญ่ มีชายหาดบางส่วน อ่าวที่มีชื่อเสียงคือ "นะปุลา" ส่วนที่มาของปราสาทหินพันยอด เกิดจากการกัดเซาะหินของน้ำฝน จนกลายเป็นแท่งหินแหลมรูปร่างต่างๆ ที่ดูแปลกตาคล้ายปราสาท จึงเป็นที่มาของชื่อที่ว่านี้ พื้นที่เกาะยังมีการค้นพบฟอสซิลอายุมากกว่า 480 ล้านปี โดยในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปเยี่ยมชมไม่ขาดสาย ปีที่ผ่านมา (60) ทำรายได้ให้กับจังหวัดสตูลถึง 145 ล้านบาท และมีการคาดการณ์ด้วยว่าปีนี้ (61) รายได้จากการท่องเที่ยวจะต้องสูงกว่าปีที่แล้วแน่นอน เพราะกำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางมาศึกษาและเยี่ยมชมถิ่นที่อยู่ของซากดึกดำบรรพ์เหล่านี้แน่นอน

สำหรับแนวทางการดูแลรักษานั้น นายณรงฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีสตูล นายก อบต.ทุ่งหว้า อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล เปิดเผยว่า ไม่ได้มองสิ่งนี้เป็นแค่ข้อมูลทางวิชาการ แต่กลับมองเป็นทรัพย์สินล้ำค่าที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน ที่เคยมองว่าบ้านเกิดเป็นเพียงเมืองรอง โดยการเพิ่มความรู้เชิงธรณีจากงานวิจัย พร้อมทั้งเติมพื้นฐานเรื่องการท่องเที่ยว

นายณรงฤทธิ์ บอกด้วยว่า ถ้าทำเรื่องพวกนี้ให้เป็นวิสาหกิจชุมชน ชาวบ้านจะสามารถอยู่ได้ ประชาชนไม่ต้องเดินทางออกจากถิ่นฐานเพื่อเข้าไปทำงานในเมืองหลวง ทำชุมชนให้กลับมาเป็นชุมชนอีกครั้ง