ไม่พบผลการค้นหา
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรียกร้องทุกฝ่ายชุมนุมยึดหลักสิทธิมนุษยชน ใช้แนวทางสันติวิธีแก้ไขปัญหา เฝ้าระวังเกิดโรคระบาดระหว่างชุมนุม หวั่นสร้างความไม่มั่นใจในการป้องกันโรค จัดพื้นที่ปลอดภัยให้เยาชนได้แสดงความเห็น

ตามที่มีการชุมนุมและเรียกร้องทางการเมืองของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ค. 2563 ทั้งในที่สาธารณะและสถาบันการศึกษาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีกลุ่มบุคคล ที่เรียกตนเองว่า คณะประชาชนปลดแอก เสนอ 3 ข้อเรียกร้อง 2 หลักการ และ 1 ความฝัน กลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย เสนอ 10 ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ที่แสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว และผูกโบสีขาว เพื่อเรียกร้องทางการเมือง และปฏิรูปการศึกษา จนเกิดเป็นความเห็นที่แตกต่างกันอย่างกว้างขวางในสังคม นั้น

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีหน้าที่และอำนาจในการส่งเสริมการเคารพและปฏิบัติตาม หลักสิทธิมนุษยชน ได้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์และส่งเจ้าหน้าที่เข้าสังเกตการณ์ตลอดมา มีความห่วงใย ต่อสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีความละเอียดอ่อน ซึ่งอาจสร้างความขัดแย้งยิ่งขึ้น กสม.จึงมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้

1. ตามรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ แต่การใช้เสรีภาพดังกล่าว ย่อมอยู่ภายใต้ข้อจากัดของกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมที่จะได้รับความคุ้มครองดังกล่าว จะต้อง ไม่เป็นการพูด แสดงท่าทาง หรือกระทาโดยวิธีการอื่น ที่ก้าวร้าว ดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือจาบจ้วง หรือ การใช้คาพูดที่สร้างความเกลียดชัง (hate speech) อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น

2. ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งสามารถมีความคิดเห็นเป็นของตนเองแล้ว มีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นได้เสรีในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก โดยความคิดเห็นดังกล่าวของเด็กจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังตามสมควรแก่อายุและวุฒิภาวะ ของเด็กคนนั้น และแม้เด็กจะมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก แต่การใช้สิทธิดังกล่าว ต้องเคารพต่อสิทธิและชื่อเสียงของบุคคลอื่นด้วย

3. ขอให้ผู้ชุมนุมแจ้งข้อเรียกร้องที่มีความชัดเจน มีเหตุผลที่อธิบายได้ ไม่เลื่อนลอย ไม่ผูกขาดความถูกต้องสมควรแต่ฝ่ายเดียว และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

4. ขอให้ผู้เข้าร่วมการชุมนุมมีมาตรการดูแลความปลอดภัยด้านสุขภาพในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพราะหากมีการติดเชื้อโรคนี้จากการชุมนุม ที่ขาดความระมัดระวังและการใช้เสียงตะโกน ผลกระทบที่ตามมาคือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และ การสูญเสียความเชื่อมั่นในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคนี้ที่นานาชาติมีต่อประเทศไทย

5. ขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ “หลักการสาคัญสาหรับการบริหารจัดการการชุมนุมอย่างเหมาะสม 10 ประการ” (10 Principles for the proper management of assemblies) ที่จัดทำโดยผู้เสนอรายงานพิเศษ แห่งองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมและการรวมกลุ่มอย่างสันติ เช่น รัฐต้องเคารพและดูแลสิทธิทุกประการของผู้ที่เข้าร่วมในการชุมนุม การจำกัดการชุมนุมโดยสันติใด ๆ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล รัฐควรอำนวยความสะดวกในการใช้เสรีภาพการชุมนุมโดยสันติ และการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมจะต้องไม่แทรกแซงสิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิอื่นๆ ที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทาได้

6. ในกรณีมีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจัดให้มีพื้นที่ปลอดภัย (safety zone) เพื่อเป็นหลักประกันว่า เด็กและเยาวชนเหล่านี้จะไม่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงไม่ว่ากรณีใด ๆ และขอให้ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้โรงเรียนและมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษา ในการแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย เช่น การจัดเวลาหรือพื้นที่ให้เป็นการเฉพาะในการแสดงและแลกเปลี่ยนความเห็นในบรรยากาศทางวิชาการ เป็นต้น และปฏิบัติตามข้อสั่งการขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

7. ขอให้ทุกฝ่ายเปิดใจรับฟังซึ่งกันและกัน เคารพต่อความคิดเห็น ความเชื่อ และศรัทธาที่แตกต่าง อันเป็นคุณค่าสำคัญของสังคมพหุวัฒนธรรมที่หล่อหลอมมาช้านาน ไม่ควรกระทำการใด ๆ ที่มีลักษณะ เป็นการยั่วยุรวมถึงการใช้ความรุนแรงต่อกันทั้งทางกายและทางวาจา เช่น การดูหมิ่นเหยียดหยามกัน

8. ขอให้ทุกฝ่ายยึดหลักสิทธิมนุษยชนและใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ไขปัญหา รับฟังความคิดเห็นอันบริสุทธิ์ใจของอีกฝ่ายหนึ่ง และพิจารณาหากลไกการหารือและเจรจาหาทางออกอันเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม