ไม่พบผลการค้นหา
สภากาชาดไทย ไม่ฟันธงแนวทางการใช้กฎหมายบริจาคอวัยวะโดยอัตโนมัติ จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนอวัยวะได้จริง แต่ห่วงยิ่งสร้างความไม่ไว้วางใจระหว่างญาติผู้ตายกับแพทย์ กรณีบริจาคอวัยวะโดยความไม่เต็มใจ

นพ.วิศิษฎ์ ฐิตวัฒน์ ผอ. ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย กล่าวถึงข้อเสนอร่างกฎหมายบริจาคอวัยวะโดยอัตโนมัติว่า เรื่องนี้ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขก็ทำกันอยู่แล้ว และให้ผลดี มีการติดต่อญาติผู้เสียชีวิต เพื่อขอรับบริจาคอวัยวะมากขึ้น ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลก็มี การติดตามข้อมูลประเมินผลต่อเนื่อง 

แต่การใช้กฎหมายบริจาคอวัยวะโดยอัตโนมัติ ก็เหมือนกันในหลายๆ ประเทศที่มี แต่ต้องดูความพร้อมของประเทศด้วย ทั้งความเชื่อ ความคิด ทัศคนคติ และบริบทของสังคม เพราะกาบบริจาคอวัยวะแบบอัตโนมัติ อาจทำให้กระทบต่อการทำงานของแพทย์ได้ เกิดความไม่ไว้วางใจ ระหว่างแพทย์กับญาติผู้เสียชีวิต และอาจส่งผลให้การรับบริจาคอวัยวะ ของญาติด้วยความไม่เต็มใจ ผิดจากเดิมในอดีต ที่ญาติก็พร้อมทำตามความประสงค์ของผู้ตายโดยเต็มที 

นพ.วิศิษฎ์ กล่าวด้วยว่า อุปสรรคของการบริจาคอวัยวะที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากความเชื่อ ทั้งการตายไปอวัยวะไม่ครบ แต่ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะในของไทย ปัจจุบบันมีผู้รอรับบริจาคอวัยวะ ถึง 6,400 คน ในขณะที่สัดส่วนอวัยวะที่ได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 200-300 คน ก็อาจไม่เพียง เพราะเมื่อถึงเวลารับอวัยวะจริงๆ ผู้บริจาคเกิดเสียชีวิตก่อน เฉลี่ย 3-4 คน หรือมากกว่า 2 เท่า และเมื่อถึงคิวรับบริจาค ผู้รับก็เสียชีวิตก่อนหรือไม่ก็ร่างกายไม่แข็งแรงไม่สามารถรับอวัยวะนั้นได้ แต่อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูกฎหมาย และการทำประชาพิจารณ์  

นพ.วิศิษฎ์ กล่าวว่า เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การปลูกถ่ายอวัยวะ ช่วยคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อย่างเช่น ผู้ป่วยโรคไต การปลูกถ่ายไต ให้ผลดีกว่าการล้างไต ทำให้ผู้ป่วยมีความคล่องตัว ใช้ชีวิตไม่ลำบาก

Photo by Piron Guillaume on Unsplash

ข่าวที่เกี่ยวข้อง