Rocket Media Lab คลี่รายชื่อ ว่าที่ ส.ส.เขตที่ชนะเลือกตั้งครั้งนี้ 400 เขต (แม้ยังไม่ได้รับการรับรองจาก กกต.) พบว่า ในจำนวน 400 ที่นั่ง มาจากผู้สมัครหน้าใหม่มากที่สุด 179 คน คิดเป็น 44.75% รองลงมาก็คือผู้สมัครจากพรรคเดิม 154 คน คิดเป็น 38.5% และผู้สมัครที่มาจากการย้ายพรรค 67 คน คิดเป็น 16.75%
เมื่อพิจารณาในส่วนของ 'อดีต ส.ส. จากปี 2562' จะพบว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ มีอดีต ส.ส. จากปี 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเดิมเป็นจำนวน 209 คน แล้วได้รับเลือกตั้งเพียง 103 คน โดยพรรคที่อดีต ส.ส. ได้รับการเลือกตั้งกลับมาเป็นจำนวนมากที่สุดก็คือ พรรคเพื่อไทย 40 คน รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย 23 คน พรรคพลังประชารัฐ 15 คน พรรคก้าวไกล 8 คน พรรคประชาธิปัตย์ 7 คน พรรคชาติไทยพัฒนา 6 คน และพรรคประชาชาติ 4 คน
หากคิดเป็นสัดส่วนจะพบว่า พรรคที่อดีต ส.ส. จากปี 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเดิมและได้รับการเลือกตั้งกลับมาเป็นสัดส่วนมากที่สุดก็คือ พรรคก้าวไกลและพรรคชาติไทยพัฒนา คิดเป็น 100% โดยพรรคก้าวไกลมีอดีต ส.ส. เดิมจากปี 2562 ลงสมัครในนามพรรคเดิมเพียง 8 คน และได้รับการเลือกตั้งกลับมาทั้งหมด ส่วนพรรคชาติไทยพัฒนามีอดีต ส.ส. เดิมจากปี 2562 ลงสมัครในนามพรรคเดิม 6 คน และได้รับการเลือกตั้งกลับมาทั้งหมด ในขณะที่พรรคที่มีอดีต ส.ส. เดิมจากปี 2562 ลงสมัครในนามพรรคเดิมและได้รับการเลือกตั้งกลับมาเป็นสัดส่วนน้อยที่สุดก็คือพรรคประชาธิปัตย์ คิดเป็น 30.43%
เมื่อพิจารณาเป็นรายภาคจะพบว่า ภาคที่มีสัดส่วน ส.ส. เดิมจากปี 2562 ที่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งมากที่สุดคือ ภาคตะวันตก คิดเป็น 57.14% ส่วนภาคที่มีสัดส่วน ส.ส. เดิมจากปี 2562 ที่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งน้อยที่สุด ก็คือภาคใต้ คิดเป็น 42.85%
อดีต ส.ส. จากปี 2562 ที่ลงสมัครในนามพรรคเดิมในปี 2566 ที่ "ไม่ได้รับเลือกตั้ง" กลับมานั้น มีจำนวน 106 คน เป็นพรรคเพื่อไทยมากที่สุด จำนวน 53 คน รองลงมาก็คือพรรคพลังประชารัฐ 22 คน พรรคประชาธิปัตย์ 16 คน พรรคภูมิใจไทย 12 คน พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า และพรรคประชาชาติ พรรคละ 1 คน
จากว่าที่ ส.ส. จำนวน 400 คนในการเลือกตั้งปี 2566 นี้ หากพิจารณาเป็นรายพรรคจะพบว่า
จากว่าที่ ส.ส. จำนวน 400 คนในการเลือกตั้งปี 2566 นี้ พบว่ามีผู้สมัครที่เป็นหน้าใหม่ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นจำนวน 179 คน โดยพบว่าเป็น
1. นักการเมืองระดับท้องถิ่น 76 คน คิดเป็น 42.46%
2. ผู้ที่เคยทำงานการเมืองด้านอื่นๆ 59 คน คิดเป็น 32.96%
3. นักธุรกิจ 46 คน คิดเป็น 25.7%
4. เครือญาตินักการเมืองระดับชาติ 34 คน คิดเป็น 18.99%
5. ประกอบอาชีพส่วนตัว 32 คน คิดเป็น 17.88%
6. นักเคลื่อนไหวทางการเมือง/สังคม 21 คน คิดเป็น 11.73%
7. เครือญาตินักการเมืองระดับท้องถิ่น 15 คน คิดเป็น 8.38%
8. ข้าราชการ/หน่วยงานรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 10 คน คิดเป็น 5.59%
9. บุคคลผู้มีชื่อเสียงในสังคม 3 คน คิดเป็น 1.68%
10. อดีตนักการเมืองระดับชาติ 2 คน คิดเป็น 1.12%
อ่านรายละเอียดที่
https://rocketmedialab.co/election-66-17/