ไม่พบผลการค้นหา
"ข้าพเจ้ามีความฝัน..." วลีอมตะอันลือลั่นของมาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ผู้ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของคนดำ นักจุดประกายการต่อสู้สิทธิของชนกลุ่มน้อยทั่วโลกที่เสียชีวิตเมื่อ 50 ปีก่อน ทิ้งไว้แต่มรดกในการต่อสู้ให้แก่คนรุ่นหลัง

เสียงปืนที่ดังขึ้นในวันที่ 4 เมษายน ปี 1968 หน้าระเบียงโรงแรมในเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซีเป็นการปิดฉากนักต่อสู้เพื่อสิทธิของคนผิวดำในอเมริกา ทิ้งไว้แต่สุนทรพจน์ที่ทรงพลังของเขาและพลังของการต่อสู้ของคนกลุ่มน้อยในสังคมอเมริกันและทั่วโลก

“ข้าพเจ้ามีความฝัน...”วลีอมตะของมาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ในบทสุนทรพจน์ที่ทรงพลังที่สุดในการเดินขบวนอย่างสันติปี 1963 ที่มีประชาชนผิวดำผู้สนับสนุนการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมเข้าร่วมชุมนุมกว่า 250,000คน ณ เบื้องหน้าของรูปปั้นประธานาธิบดีลินคอร์น ผู้ยกเลิกการซื้อขายทาสในอเมริกาที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐฯ

"....ข้าพเจ้ามีความฝันว่าวันหนึ่ง ลูกเล็กๆทั้งสี่ของข้าพเจ้าจะอาศัยอยู่ในชาติที่พวกเขาจะไม่ถูกตัดสินด้วยสีผิวของพวกเขา แต่ด้วยชื่อเสียงของสิ่งที่พวกเขากระทำ..." 

เนื้อหาของสุนทรพจน์ที่คิงกล่าวขึ้นนั้นประกาศว่า ความเท่าเทียมกันเป็นสิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้วทั้งในรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา ในเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งประเทศ และในความเป็นมนุษย์ที่มาแต่กำเนิด 

สุนทรพจน์ดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นหมุดที่สำคัญของขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองในแนวทางสันติวิถีในสหรัฐฯ เป็นสุทรพจน์ที่กล่าวถึงความฝัน ความเท่าเทียมกัน ไม่มีการกล่าวถึงการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้ และการต่อสู้ดังกล่าวก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงชีวิตและสิทธิของชาวแอฟริกัน-อเมริกันในสหรัฐฯที่ต่อสู่้กันมายาวนานกว่า 100 ปีให้สิ้นสุดลงในช่วงทศวรรษ 1960 

เเม้ว่าช่วงเวลาของทศวรรษ 1960 จะเป็นช่วงเวลาของการต่อสู้เรื่องสิทธิพลเมืองของชาวอเมริกันหลายล้านคนโดยเฉพาะในกลุ่มชาวอเมริกันผิวดำทั้งชายและหญิงจะจบลงในปี 1968 หลังจากที่ประธานาธิบดีจอห์นสันประกาศกฎหมายในเรื่องสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ เชื้อชาติและศาสนา หลังจากการเสียชีวิตของคิง แต่ช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา สังคมอเมิรกันยังคงต้องต่อสู้กับสิทธิในการอยู่อาศัยของตนเองในสังคมอีกเรื่อยมา  

000_SAPA980331371970.jpg

เทเลอร์ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยบัฟฟาโลในสหรัฐฯกล่าวว่า แม้ระยะการต่อสู้ของคิงจะผ่านมานานกว่า 50 ปี แต่สิทธิพลเมืองไปจนถึงสิทธิมนุษยชนของชาวอเมริกันในเชิงโครงสร้างสังคมยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ความฝันข้องคิงปรารถนาจะให้เป็นเท่าไหร่นัก

“ความฝันของคิง คือ การอยากเห็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการตัดสินด้วยความยุติธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการมีการศึกษาที่ดี การมีชีวิตความเป็นอยู่อาศัยที่ดี มีงานที่ดีด้วยค่าจ้างที่เป็นธรรม และการเข้าถึงการบริการสาธารณะสุข"

เทเลอร์ กล่าวอีกว่า ขณะที่ทัศนคติส่วนบุคคลมีการเปลี่ยนแปลง แต่การเหยียดเชื้อชาติยังคงฝังรากอยู่ในสถาบันและในโครงสร้างสังคมของสหรัฐฯ สิ่งเหล่านี้ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก

ความฝันและปรารถนาของคิงยังคงน่าจะตามองในสหรัฐฯ โดยเฉพาะหลังจากการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของ 'โดนัลด์ ทรัมป์' ที่ดูเหมือนจะเป็นการปลุกกระแสชาตินิยมในคนผิวขาวขึ้นมาอีกครั้ง เพราะแทบจะในทันทีที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งเมื่อปี2016 มีรายงานการใช้ถ้อยคำเหยียดคนผิวดำเกิดขึ้นทั่วสหรัฐฯ จนถึงกับมีการนำแคมเปญ 'Make America Great Again' หรือทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ไปล้อเลียนเป็น 'Make America White Again' ที่แปลว่า ทำให้อเมริกากลับมาเป็นของคนผิวขาวอีกครั้งและยังมีรายงานความขัดแย้ง กระทบกระทั่งเกิดขึ้นเป็นระยะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง