ไม่พบผลการค้นหา
กมธ. ศึกษาแก้ รธน. ประชุมนัดที่สอง ถกไม่จบต้องเริ่มต้นจากการกำหนดกรอบแก้ไข รธน. หรือทำประชามติรับฟังความเห็นประชาชนเพื่อกำหนดแนวทางแก้ไข ด้านอดีต กกต. สมชัย เชื่อ ส.ว. คงไม่ยอมแก้ ม.256 ชี้ตั้ง สสร. อาจยืดเยื้อถึง 2 ปี

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พ.ศ. 2560 สภาผู้แทนราษฎร ได้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทาง การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก ซึ่งนายพีรพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ประธานกรรมาธิการได้เปิดโอกาสให้กรรมาธิการทุกคนแสดงความคิดเห็นว่าจะเริ่มต้นในการศึกษาหาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร ซึ่งนายไพบูลย์ นิติตะวัน รองประธานกรรมาธิการ เห็นด้วยในข้อเสนอว่าควรวางกรอบการทำงานก่อนจะลงรายละเอียดเนื้อหา แต่ยังไม่ควรออกไปเปิดรับฟังความเห็นประชาชน เพราะในชั้นกรรมาธิการยังไม่ได้พิจารณาประเด็นที่จะเอาไปสำรวจความคิดเห็น แต่สามารถเปิดให้ประชาชนส่งความคิดเห็นมาที่กรรมาธิการได้

ปิยบุตร อนาคตใหม่.jpg
  • ปิยบุตร แสงกนกกุล

เช่นเดียวกับนายนิโรธ สุนทรเลขา ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา เห็นว่าควรให้สมาชิกวุฒิสภา ตั้งกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญควบคู่ไปกับสภาผู้แทนราษฎร หรือให้ตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อให้การศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็น

ด้านนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ การตั้งกรรมาธิการชุดนี้ขึ้น เพื่อต้องการผ่อนหนักให้เป็นเบา เพราะทราบดีกันอยู่แล้วว่าหาก ส.ส. เสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขต่อรัฐสภาก็จะถูกตีตกทันที เพราะ ส.ว. เพียง 84 คนก็สามารถสกัดได้แล้ว ดังนั้นจำเป็นต้องตั้งกรรมาธิการชุดนี้ด้วยเพื่อกำหนดเป็นข้อเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยมีประชาชนสนับสนุน จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเปิดให้มีการรับฟังความเห็นประชาชน โดยการตั้งอนุกรรมาธิหารลงพื้นที่ควบคู่ทำงานไปกับคณะกรรมาธิการ

รังสิมันต์ โรม อนาคตใหม่.jpg
  • รังสิมันต์ โรม

ขณะที่ นายนิกร จำนง ส.ส. พรรคชาติไทยพัฒนา เสนอให้มีการรับฟังความเห็นประชาชน 2 ชั้น ชั้นแรกคือการรับฟังความเห็นก่อนพิจารณาเพื่อดูว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร ก่อนรับฟังความเห็นอีกชั้นเมื่อลงรายมาตรา 

ด้านนายทศพล เพ็งส้ม กรรมาธิการจากพรรคพลังประชารัฐ เห็นว่าเราศึกษาวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อดูว่าปัญหาในการแก้ไขมีปัญหาอย่างไร เพื่อให้ประชาชนทราบก่อน ก่อนวางแนวทาง แล้วค่อยไปถามประชาชน

ส่วนนายกฤษ เอื้อวงษ์ รองเลขาธิการ กกต. มองว่า ควรกำหนดแนวทางการแก้ไขให้ชัดเจน ควบคู่ไปกับเนื้อหาสาระที่จะแก้ไข และเห็นด้วยว่าควรรับฟังความเห็นประชาชนแบบคู่ขนาด เป็น2 ช่วง ช่างแรกรับฟังแบบกว้างๆ และให้กรรมาธิการมากำหนดประเด็นในการแก้ไข ก่อนไปรับฟังความเห็นอีกครั้งว่าเห็นด้วยกับประเด็นที่จะแก้ไขหรือไม่

ไพบูลย์ นิติตะวัน.jpg
  • ไพบูลย์ นิติตะวัน

ขณะที่นายสุทิน คลังแสง ส.ส. พรรคเพื่อไทย เห็นด้วยที่จะให้รับฟังความเห็นทั้งขั้นตอนศึกษาและขั้นตอนการแก้ไข แต่ต้องรับฟังอย่างจริงจัง เพราะประชาชนมีความรู้และทราบปัญหาเป็นอย่างดี 

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการ กกต. เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมี 3 แนวทางคือ แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพียงอย่างเดียว เพื่อเปิดทางให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถทำได้ง่าย แต่คงเป็นไปได้ยาก เพราะ ส.ว.ไม่ยอม เนื่องจากมาตรานี้กำหนดให้ ส.ว.เข้ามาร่วมถ่วงดุลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแก้ไขมาตราที่เป็นปัญหาเลยโดยไม่ต้องแก้ที่มาตรา 256 แต่ตะเกิดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบในการแก้ไข เพราะแต่ละฝ่ายเห็นปัญหาที่แตกต่างกัน

และแนวทางสุดท้ายคือการแก้มาตรา 256 แล้วให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ขึ้นมาร่างกติกาใหม่ แต่จะส่งผลให้กรรมการร่างรัฐธรรมนูญเสียหน้าเพราะสิ่งที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญทำมาต้องกลับมาร่างใหม่ทั้งหมด รวมทั้งการตั้ง สสร. ขึ้นมาอาจใช้เวลาในการพิจารณานานถึง 2 ปี พร้อมเสนอให้กรรมาธิการกำหนดตารางการทำงานที่ขัดเจนและตั้งเป้าหมายในแต่ละเดือน และต้องสื่อสารกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง และเปิดรับหังความดห็นประชาชน 1 เดือนเต็ม เพื่อนำความเห็นมาพิจารณา ทั้งนี้ยังเห็นว่ากรรมาธิการควรมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะไม่ขยายเวลาการทำงาน เพราะคณะกรรมาธิการมีโอกาสและทรัพยากรเต็มที่ หากไม่สามารถทำงานแล้วเสร็จตามกรอบที่กำหนด ถือว่าเป็นปัญหาของกรรมาธิการขุดนี้ที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

กมธแก้ไขรัฐธรรมนูญ.jpg
  • สมชัย ศรีสุทธิยากร - วัฒนา เมืองสุข

อย่างไรก็ตามนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เตือนว่า เรื่องการรับฟังความคิดเห็นควรดำเนินการโดยคณะกรรมาธิการและไม่ควรปล่อยให้พรรคการเมืองทำกันเอง ขณะที่นายโภคิน พลกุล กรรมาธิการสัดส่วนพรรคเพื่อไทย ระบุว่า การรับฟังความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แต่คงไม่ดีหากกระจุกอยู่เฉพาะความเห็นกรรมาธิการ จึงควรเปิดรับฟังความคิดเห็นคนนอกด้วย

ทั้งนี้ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ประธานกรรมาธิการเห็นว่าเรื่องรับฟังความเห็นนั่นเป็นเรื่องสำคัญ แต่หากจะรอรับฟังความเห็นแล้วไม่ได้ทำงานก็คงเป็นไปไม่ไก้ เช่นเดียวกับ หากมัวแต่ทำงานโดยไม่รับฟังึวามคิดเห็นก็ไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องสรุปว่าการรับฟังความเห็นจะดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษาของคณะกรรมาธิการ แต่ทั้งนี้ต้องกำหนดวิธีการรับฟังความเห็นต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไร

ในช่วงท้ายของการประชุมกรรมาธิการวิสามัญหลายคนเสนอให้ที่ประชุมตั้งคณะอนุกรรมาธิการ เพื่อไปพิจารณาในรายละเอียด โดยนายดำรงค์ พิเดช ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย กล่าวว่า ควรจะต้องตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อหาแนวทางในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน เพราะหากกลับมาประชุมกันอีกครั้งแล้วยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเช่นนี้ ทำให้การทำงานไม่เดินหน้า จากนั้น นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า เรื่องการรับฟังความคิดเห็นคงจะต้องทำควบคู่กันไป และจะใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วย ต่อมานายสมชัย มีความคิดเห็นแย้งว่า หากยังไม่ตั้งคณะอนุกรรมาธิการ ก็ควรให้คณะโฆษกของคณะกรรมาธิการวิสามัญไปทำงานกันเองก่อน

พีระพันธุ์.jpg
  • พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ประธาน กมธ.วิสามัญแก้ไขรัฐธรรมนูญ

นายปิยบุตร กล่าวว่า เท่าที่สอบถามจากเจ้าหน้าที่มาว่าประธานสภาจำกัดการตั้งคณะอนุกรรมาธิการไม่ให้เกิน 2 คณะ ซึ่งเชื่อว่าหากกฎหมายงบประมาณฉบับใหม่บังคับใช้ก็น่าจะมีความเป็นไปได้ที่ทำให้เกิดการตั้งคณะอนุกรรมาธิการมากกว่า 2 คณะ เพื่อสร้างกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนให้รอบด้าน 

ถึงที่สุดแล้ว ประธานคณะกรรมษธิการวิสามัญ สรุปว่ามอบหมายให้คณะโฆษกไปประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และกำหนดแนวทางการรับฟังความคิดเห็นแล้วกลับนำมาเสนอต่อที่ประชุม เพื่อพิจารณาว่าสมควรจะต้องตั้งคณะอนุกรรมาธิการจำนวนกี่ชุดต่อไป ให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเข้ามาก่อน อาจจะโซเชียลมีเดีย ไปรษณีย์ ให้ทีมโฆษกและนักวิชาการหารือ แล้ววันที่ 17 ม.ค. นี้จะมีการหารือ เพื่อขอต่อประธานสภาให้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการในการหาแนวทางรับฟังความคิดเห็น ขณะเดียวกันก็รับฟังข้างในกันเอง และตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมารับฟัง ประชาสัมพันธ์อย่างไร และรับฟังจากประชาชนอย่างไร