ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - อียูรับรอง 'สิทธิในการซ่อม' เครื่องใช้ไฟฟ้า - Short Clip
The Toppick - แผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ 11 ล้านตันละลายใน 1 วัน - Short Clip
The Toppick - 'ธุรกิจการบิน' ตัวปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เติบโตเร็วที่สุด - Short Clip
The Toppick - วิกฤตเศรษฐกิจอาร์เจนตินา เพิ่มความเสี่ยงติดโรคทางเพศ - Short Clip
The Toppick - ซาอุดีฯต้องการนักท่องเที่ยวหลังรายได้จากน้ำมันลด- Short Clip
The Toppick - 'สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ' กระทบสายพานการผลิตไทย - Short Clip
The Toppick - รบ.จีนใช้มัลแวร์โจมตีโทรศัพท์อุยกูร์กว่า 2 ปี - Short Clip
The Toppick - 'แก่ก่อนรวย' เศรษฐกิจไทยพัฒนาไม่ทันสังคมสูงวัย - Short Clip
The Toppick - ธุรกิจไรด์แชร์ริงในเวียดนามแข่งกันดุเดือดเทียบชั้นอินโดนีเซีย - Short Clip
The Toppick - สไลเดอร์น้ำในปีนัง ยาวเป็นกิโลฯ ทำลายสถิติโลก - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกต้องเร่งรับมือ 'ภาวะโลกร้อน' ก่อนจะสายเกินแก้ - Short Clip
The Toppick - โมเดลเด็กบูมในจีน เปิดโอกาสลูกหรือใช้แรงงานเด็ก - Short Clip
The Toppick - เวียดนามเปิดโซลาร์ฟาร์มใหญ่ที่สุดในอาเซียน - Short Clip
The Toppick - เยอรมนี เตรียมออกกฎหมายแบนถุงพลาสติก - Short Clip
The Toppick - 'สกุลเงินดิจิทัลของจีน' อาจทำให้ทั่วโลกหันมาใช้เงินหยวน - Short Clip
The Toppick - อีเมลหลอกลวงทำบริษัทสูญเงินหลายหมื่นล้าน - Short Clip
World Trend - 'กูเกิล' ทุ่มเงินซื้อข้อมูลลูกค้า 'มาสเตอร์การ์ด' - Short Clip
The Toppick - พรรคฝ่ายขวาโบลิเวียชูผู้สมัคร 'เชื้อสายเกาหลี' ชิง ปธน. - Short Clip
The Toppick - โบลิเวียตั้งศูนย์ช่วยสัตว์ป่วยจากไฟป่าแอมะซอน - Short Clip
The Toppick - 'จีน' ออกประกาศห้ามประชาชนเที่ยวไต้หวันคนเดียว - FULL EP.
The Toppick - อินฟลูเอนเซอร์มีผลให้ขยะอาหารเพิ่มเพราะสั่งเกินจำเป็น - Short Clip
Aug 29, 2019 01:50

อินฟลูเอนเซอร์เป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้างปัญหาขยะอาหารเพิ่มากขึ้น จากการสั่งอาหารมาเพื่อถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดีย

เว็บไซต์ Insider รายงานว่า เหล่าอินฟลูเอนเซอร์เป็นส่วนหนึ่งที่ก่อนให้เกิดขยะจากอาหาร จากการสั่งอาหารที่มากเกินจำเป็นเพื่อนำมาถ่ายรูปลงโซเชียลมีเดีย ทั้งเป็นการทำเพื่อประชาสัมพันธ์ร้านอาหาร และการถ่ายรูปเพื่ออวดลงบัญชีส่วนตัว

พนักงานร้านอาหารในลอนดอนรายหนึ่งกล่าวว่า "เหล่าอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้มักจะสั่งอาหารจำนวนมากเพื่อมาถ่ายรูป และก็มักจะรับประทานไม่หมด"

ทางด้านพรู ฟรีแมน ผู้ก่อตั้งร้านอาหารDaisy Green Collection ในลอนดอน กล่าวว่า เหล่าอินฟลูเอนเซอร์เป็นตัวที่สร้างขยะอาหาร เพื่อให้ได้รูปภาพที่เฟอร์เฟ็ค แต่อย่างไรก็ตามร้านของเธอก็มีข้อเสนอให้แก่ทุกคนที่มารับประทานอาหาร โดยสามารถนำอาหารที่ทานไม่หมดห่อกลับบ้านได้ เพื่อลดปัญหาขยะที่เกิดจากการสั่งอาหาร

เหล่าอินฟลูเอเนเซอร์เหล่านี้บางรายได้รับการจ้างจากบริษัทPRเอเจนซี่ เพื่อถ่ายรูปและโปรโมทร้านอาหาร ซึ่งเหล่าอินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้จะได้รับงบประมาณในการสั่งอาหารเพื่อนำมาถ่ายรูป เพื่อให้ได้รูปที่ออกมาดูดีที่สุดเพื่อการโฆษณาเมนูอาหารในร้านต่างๆ ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ก่อให้เกิดขยะจากอาหารที่เหลือเพื่อใช้ในการถ่ายรูปและการโฆษณาเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามก็มีอินฟลูเอนเซอร์บางรายก็ออกมากล่าวว่า "พวกเขาจะไม่รับรีวิว หรือถ่ายรูปอาหารที่จะก่อให้เกิดขยะจากอาหาร ฟลูเอนเซอร์รายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า Clerkenwell Boy ในอินสตาแกรม กล่าวว่า เขาไม่ชอบการเห็นขยะอาหาร โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงเด็กจำนวนมากที่ยังหิวโหย"

รายงานของบริษัท Boston Consulting Group ระบุว่าภายในปี 2030 ทั่วโลกจะสร้างขยะอาหารกว่า 2,100 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันมีสตาร์ทอัปหลายรายหันมาทำธุรกิจกำจัดขยะตั้งแต่ธุรกิจประเภทการบริจาคของใช้มือสองให้แก่คนทั่วไป จนถึงคาเฟ่ที่นำอาหารที่เหลือทิ้งมาเป็นส่วนผสมในเมนูใหม่เพื่อลดจำนวนขยะจากอาหารให้ได้มากที่สุด


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog