ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - การสูญทรัพย์ครั้งใหญ่ช่วงวัยกลางคนอาจทำให้ตายไว - Short Clip
World Trend - ตลาดกัญชาสร้างงานชาวอเมริกันกว่า 2 แสนราย - Short Clip
World Trend - เกาหลีใต้เริ่มแบนถุงพลาสติกในซูเปอร์มาร์เก็ต - Short Clip
World Trend - มลพิษทางอากาศส่งผลร้ายต่อระดับสติปัญญามนุษย์ - Short Clip
World Trend - คนอารมณ์ไม่คงที่มีโอกาสติดสมาร์ตโฟน - Short Clip
World Trend - 'นักวิชาการผิวสี' ยังขาดโอกาสในวิชาชีพ - Short Clip
World Trend - อินเดียเตรียมเปิดไฮเปอร์ลูปปี 2021 - Short Clip
World Trend - สิงคโปร์รั้งอันดับ 1 ประเทศแข่งขันทางศก. - Short Clip
World Trend - นักวิจัยพิมพ์ 'กะโหลกใหม่' ให้สุนัขป่วย - Short Clip
World Trend - มหาวิทยาลัยจีนแซงหน้าสิงคโปร์ ขึ้นแท่นอันดับ 1 เอเชีย - Short Clip
 เงินบาทแข็งไม่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวไทย
World Trend - พบเชื้อโรคร่วงจากฟ้าพันล้านตัวต่อวัน - Short Clip
World Trend - ไปดูคอนเสิร์ตช่วยยืดอายุขัย - Short Clip
World Trend - แคลิฟอร์เนียหนุนบ้านใหม่ให้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ - Short Clip
World Trend - ทั่วโลกมีคนตายเพราะเซลฟี่กว่า 250 คน ในช่วง 6 ปี - Short Clip
'อ๊อกซฟอร์ด' ขึ้นแท่นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของโลก
World Trend - ยอดขายแก้วใช้แล้วทิ้งพุ่งสวนกระแสรักษ์โลก - Short Clip
World Trend - ​WHO จัด 'ภาวะหมดไฟ' เป็นอาการป่วย - Short Clip
World Trend - 'หนังสือเด็ก' กับความไม่หลากหลายทางเชื้อชาติ - Short Clip
World Trend - ทิ้งพลาสติกลงชักโครกส่งผลเสียต่อแหล่งน้ำ - Short Clip
World Trend - "บูมเมอแรง เจเนเรชัน" ทำพ่อแม่หน่ายใจ - Short Clip
Mar 10, 2018 10:45

คุณผู้ชมเคยได้ยินคำว่า "บูมเมอแรง เจเนเรชัน" ไหม ถ้าหากไม่เคยได้ยินมาก่อน ลองนึกภาพบูมเมอแรงที่เราขว้างออกไป แล้วมันก็ลอยกลับมา ด้วยลักษณะแบบนี้เอง คำว่าบูมเมอแรง จึงถูกนำมาใช้กับเจเนเรชันเด็กยุคใหม่ที่เติบโตขึ้นแล้วย้ายออกไปจากอ้อมอกพ่อแม่ แต่ก็มีอันต้องย้ายกลับเข้ามาเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน เหมือนบูมเมอแรงที่ปล่อยออกไปแล้วลอยกลับเข้ามานั่นเอง

ผลการศึกษาใหม่ จาก London School of Economics ร่วมกับ University of Essex ระบุว่า ปรากฏการณ์ บูมเมอแรง เจเนเรชัน หรือการที่ลูกเติบโตขึ้นและย้ายบ้านออกไปอยู่ด้วยตัวเอง แต่เนื่องจากไม่สามารถหาเงินจ่ายค่าที่พักอาศัยได้เพียงพอ จึงต้องย้ายข้าวของกลับมาอยู่กับพ่อแม่เหมือนเดิมนั้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้มากขึ้นเรื่อยๆ และปรากฏการณ์นี้ก็ไปกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้เป็นพ่อแม่ด้วย 

ผลการศึกษาระบุว่า มีคนหนุ่มสาวในอังกฤษ ที่อยู่ในช่วงวัย 25-34 ปี มากถึง 1 ล้าน 2 แสน 3 หมื่นคน เข้าข่ายเป็นบูมเมอแรง เจเนเรชัน ซึ่งการย้ายกลับมาอยู่กับพ่อแม่นั้นทำให้เกิดผลกระทบด้านลบหลายทาง โดยผลกระทบดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับการเกิดความเสื่อมของร่างกายอันเนื่องมาจากอายุมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า การที่ลูกย้ายออกจากบ้าน ความสัมพันธ์ในชีวิตสมรสระหว่างพ่อกับแม่จะดีขึ้น และจะทำให้เกิดจุดศูนย์ถ่วงใหม่ที่ลงตัว โดยผู้สูงวัยจะเริ่มหางานอดิเรกและกิจกรรมใหม่ๆ ทำ แต่การที่ลูกย้ายกลับมาอย่างกะทันหันจะไปรบกวนจุดศูนย์ถ่วงใหม่นี้ และทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นทันที นำมาซึ่งคุณภาพการใช้ชีวิตของพ่อกับแม่ที่แย่ลง 

สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษระบุว่ามีวัยรุ่นถึงหนึ่งในสี่ที่ยังอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเริ่มเก็บสถิติในปี 1996 และหากเทรนด์ยังคงเป็นไปในทิศทางนี้ต่อไป ก็อาจจะมีวัยรุ่นอีกกว่าห้าแสนคนที่จะย้ายกลับมาอยู่กับพ่อแม่ภายในอีกทศวรรษข้างหน้า ในขณะที่อีกหนึ่งแสนคนอาจจะไม่ย้ายออกจากบ้านพ่อแม่เลยตั้งแต่แรก

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาก็พบว่าการที่ลูกย้ายกลับเข้ามาอยู่กับพ่อแม่อีกครั้ง โดยที่ยังมีพี่น้องคนอื่นอาศัยอยู่ในบ้านด้วย จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบแบบเดียวกันแต่อย่างใด 

ทางที่จะพอช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องนี้ได้คือการที่รัฐบาลจะต้องออกนโยบายช่วยเหลือเรื่องที่พักอาศัย เพื่อให้วัยรุ่นที่ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่ตอนต้นสามารถรับผิดชอบค่าเช่าบ้านของตัวเองได้ ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับทั้งตัวลูกเอง และยังส่งผลดีต่อพ่อแม่อีกด้วย

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog