ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - วิจัยชี้ กินอาหารช้า ป้องกันโรคอ้วนได้ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ มนุษย์กังวลเรื่องชื่อเสียงตั้งแต่อนุบาล - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ หญิงแกร่งกว่าชายด้านชีวภาพ-รอดวิกฤตได้ดีกว่า - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ นั่งตัวตรงช่วยในการทำสอบ - Short Clip
World Trend - คนรักเกมและอีสปอร์ตแห่ร่วมงาน ‘Garena World’ - Short Clip
World Trend - เลบานอนเปลี่ยนรถถังให้เป็นปะการัง - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ นอนกับสุนัขหลับดีกว่านอนกับคู่รัก - Short Clip
World Trend - ​'ศิลปศาสตร์' อาจไม่สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจ? - Short Clip
World Trend - กินผักผลไม้ 5.5 ส่วนต่อวัน ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม - Short Clip
World Trend - นางแบบ Sports Illustrated เดินแบบพร้อมให้นมลูก - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ มนุษย์กังวลเรื่องชื่อเสียงตั้งแต่อนุบาล - Short Clip
World Trend - เด็กติดสมาร์ตโฟนส่งผลต่อความถนัดในการจับดินสอ - Short Clip
World Trend - ดื่มน้ำผลไม้มากเกินเสี่ยงตายไวเท่าน้ำอัดลม - Short Clip
World Trend - 'นักวิชาการผิวสี' ยังขาดโอกาสในวิชาชีพ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ผู้หญิงมีแนวโน้มเข้าใจสุนัขมากกว่าผู้ชาย - Short Clip
World Trend - เมียนมาร์จัดงาน LGBT แบบเปิดเผยครั้งแรก - Short Clip
World Trend - ไมโครซอฟท์เตรียมป้องกันการแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้แอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อสุขภาพผิว - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ สาวกเฟซบุ๊กยอมปิดบัญชีหากจ้าง 1 พันดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - 'ฮอร์โมนเพศชายสูง' กระตุ้นการซื้อสินค้าหรูหรา - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ แค่คิดว่าจะเครียดก็ส่งผลเสียต่อความจำ - Short Clip
Jul 6, 2018 09:08

งานวิจัยล่าสุดของสหรัฐอเมริการะบุว่า คนที่ตื่นขึ้นมาแล้วคิดว่าวันนั้นจะมีเรื่องให้เครียดทั้งวัน จะส่งผลเสียต่อระบบการเรียนรู้ของสมองไม่น้อย

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต รัฐเพนซิลเวเนีย สำรวจพฤติกรรมของอาสาสมัครที่เป็นผู้ใหญ่รวม 240 คน และคอยติดตามผลตลอดเวลาสองสัปดาห์ โดยตีพิมพ์ผลการศึกษาลงในวารสารชราภาพวิทยา Journals of Gerontology: Psychological Sciences

ระหว่างนั้นผู้ร่วมทดสอบจะต้องตอบคำถามวันละเจ็ดครั้งผ่านแอปพลิเคชันทางสมาร์ตโฟน โดยมีคำถามในตอนเช้าว่า คุณคิดว่าวันนี้จะมีเรื่องเครียดไหม ซึ่งในระหว่างวันจะถามถึงระดับความเครียดของแต่ละคน ก่อนจะปิดท้ายด้วยคำถามยามดึกที่ว่า คุณคิดว่าวันพรุ่งนี้จะมีเรื่องเครียดไหม นอกจากนั้น อาสาสมัครยังเข้ารับการทดสอบ Working memory หรือความทรงจำขณะทำงาน ซึ่งเป็นความจำระยะสั้นที่ใช้ในการจัดการข้อมูลในสมอง รวมวันละห้าครั้ง 

ผลที่ออกมาชี้ให้เห็นว่า ถ้าผู้ร่วมทดสอบตื่นขึ้นมาพร้อมความรู้สึกว่าวันนั้นจะมีเรื่องเครียด ความทรงจำขณะทำงานก็จะทำงานช้าลงในวันนั้น แม้ว่าความจริงแล้วอาจไม่มีเรื่องเครียดเกิดขึ้นจริงเลยก็ตาม ขณะเดียวกัน หากผู้ร่วมทดสอบคาดว่าวันถัดไปจะมีเรื่องเครียด จะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความทรงจำขณะทำงาน

มาร์ติน สลิวินสกี (Martin Sliwinski) ที่ร่วมวิจัยในโครงการนี้ มองว่า การศึกษานี้เป็นการยืนยันว่ามุมมองที่แต่ละคนมีต่อโลกล้วนส่งผลกับชีวิตประจำวัน เพราะความทรงจำขณะทำงานที่ลดลงนั้นจะส่งผลให้ทำงานพลาดมากขึ้น หรือขาดสมาธิในการทำงาน โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับความจำ ก็อาจทำให้ลืมกินยา หรืออาจทำอะไรพลาดขณะขับรถ ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงตามมา

ทีมวิจัยแนะนำว่า หากตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกว่าวันนั้นต้องมีเรื่องเครียด อาจลองตั้งระบบเตือนในโทรศัพท์ให้ผ่อนคลายด้วยการหายใจเข้าลึก ๆ ก่อนจะเริ่มวันใหม่ หรือถ้าความจำเริ่มส่อเค้าว่ามีปัญหา อาจจะลองติดข้อความไว้สักที่ว่า ไม่ควรขับรถในช่วงนี้


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog