ไม่พบผลการค้นหา
ศาล รธน.มีมติคว่ำร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน
พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน : วิสัยทัศน์ที่ก้าวกระโดด?
2 ล้านล้าน ค้านทำไม?
เมื่อร่าง พ.ร.บ.2 ลล.ต้องตกไป จากคำวินิจฉัยศาล รธน.
'นายกฯ'ยันกู้ 2.2 ล้านล้าน ไม่ดันหนี้สาธารณะเกิน 50%
พิจารณา พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วันที่ 2
ปชป.ยื่นศาล รธน.สั่งเลือกตั้งเป็นโมฆะ
นักศึกษาจัดกิจกรรมประณามท่าที 6 องค์กรตาม รธน.
2 ล้านล้านล่ม กระทบนักเก็งกำไรอสังหาฯ
2 ล้านล้านตกไป : ประเทศไทยถูกตัดโอกาสเศรษฐกิจ
กมธ.พิจารณาพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน
'โคราช' พร้อมหรือยังกับการลงทุนพ.ร.บ.2 ล้านล้านบาท
สภาฯ ถก ร่าง พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท วันแรก
อำนาจยับยั้งพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านของศาล รธน.
'กิตติรัตน์' เสนอโครงการ 2 ล้านล้านบาทสู่สภาฯมี.ค.นี้
เฉลิม เตรียมเชิญ 'อภิสิทธิ์-ถาวร' ถกไฟใต้
ประชุมครม. หารือแนวทางคำตัดสินศาลโลก
กลุ่ม 29 มกรา หมื่นปลดปล่อย ประชาธิปไตย
เลขาฯสมช. เสนอชะลอ พรบ.นิรโทษกรรม
เปิดใจว่าที่นายสิบตำรวจที่หนึ่งของประเทศ
ข้อสังเกตนักวิชาการต่อคำวินิจฉัย 2 ล้านล้าน และอำนาจศาล รธน.
Mar 13, 2014 11:19
ประเด็นการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน เป็นข้อความที่ระบุไว้ หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พระราชบัญญัติเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เกิดอุปสรรคอนาคตรถไฟความเร็วสูงโดยทันที
 
ก่อนหน้านี้ ศาลพยายามไต่สวนว่าเงินที่กู้จากพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเงินแผ่นดินหรือไม่ โดยศาลเห็นว่าเป็นเงินแผ่นดิน จึงเข้าข่ายมาตรา 169 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ การจ่ายเงินแผ่นดินจะทำได้เฉพาะที่อนุญาตไว้ในกฎหมายงบประมาณที่เกี่ยวเนื่อง เว้นแต่กรณีจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งศาลเห็นว่า เงินกู้นี้ ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนแต่อย่างใด
 
เรื่องนี้ทำให้หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ เป็นเผือกร้อนตีกลับศาลรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะการเปรียบเทียบ กับคำวินิจฉัยการกู้เงินในอดีตอย่างพระราชกำหนดไทยเข้มแข็งในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ที่ทำได้ ทั้งที่มีรูปแบบใช้เงินคล้ายคลึงกัน รวมถึงการใช้อำนาจวินิจฉัยว่าการพัฒนาโครงสร้างนี้ยังไม่จำเป็นเร่งด่วน 
 
หากพิจารณามาตรา 4 พระราชกำหนดไทยเข้มแข็ง ซึ่งระบุการใช้จ่ายเงินที่กู้มากับมาตรา 6 ในเงินกู้สองล้านล้าน พบว่า มีความคล้ายคลึงกัน แต่ครั้งนั้น ศาลไม่เห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 จึงแปลความได้ว่า ศาลให้สามารถตรากฎหมายอื่นได้ เพื่อกำหนดการจ่ายเงินแผ่นดินด้วยกฎหมายนั้นเอง ในกรณีรวมถึงการใช้จ่ายเงินขององค์กรที่มีกฎหมายเป็นของตัวเอง ซึ่งไม่ต่างจากพระราชบัญญัติกู้เงินครั้งนี้ 
 
นอกจากนั้น นักวิชาการเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้นิยามความหมายใหม่ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติ และทำให้การพิจารณาแต่ละคดีเกิดปัญหา ผิดไปจากหลักการถ่วงดุลอำนาจ ดังกรณีที่ศาลไม่อนุญาติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญที่ให้สมาชิกวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว 
 
อำนาจตุลาการต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ ถ่วงดุลฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ แต่นักวิชาการเห็นว่า ศาลต้องมีข้อจำกัดในอำนาจของตัวเอง ซึ่งภาวะที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง และสถานการณ์การเมืองเช่นนี้ การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้องค์กรอื่นไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เอง ต้องคอยพะวง ขอความยินยอมจากศาล และถูกใช้ในทางการเมืองเกือบทุกเรื่อง
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog