ไม่พบผลการค้นหา
ยิ่งลักษณ์เยือนเอเชียกลาง หารือความสัมพันธ์รอบด้าน
ทูตจีนประจำไทยสนใจโครงการรถไฟความเร็วสูง
ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างประเทศ
เกมการเมืองเก้าอี้ดนตรีของออสเตรเลีย และอาการของนายแมนเดลา...ทรงตัว
งานหย่าร้างในรัสเซียและการฉลองครบรอบการอภิเษกสมรสในญี่ปุ่น
นโยบายทหารสหรัฐฯ ต่อเอเชียกำลังเป็นไฟที่มอด?
โครเอเชียเข้าร่วมอียู ฮ่องกงประท้วงจีน
มิเชล โอบาม่าหลบไป... เป็ง ลี่หยวนมาแล้ว
อียิปต์อาการโคม่า ลีกวนยูชูทักษิณ
อนาคตศาสตร์ บริหารความเสี่ยงระยะสั้น
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.เดวิด เสตร็คฟัส อดีตนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกียวโต
เปรียบเทียบระบบราชการไทยและญี่ปุ่น
วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศจีน
สหรัฐฯใช้ภาพทางอากาศแฉเกาหลีเหนือ ขยายโรงงานผลิตนิวเคลียร์
เยือน เยือน เยือน สัปดาห์แห่งการเยือนของผู้นำเอเชีย
ไทยและพม่าร่วมสร้างระเบียบตามแนวชายแดน
สิ่งท้าทายของนโยบายต่างประเทศไทยในปี 2556 ตอนที่ 2
รัชทายาทองค์ล่าสุดของอังกฤษ-จอร์ช อเล็กซานเดอร์ หลุยส์ แห่งเคมบริดจ์
'ยิ่งลักษณ์' ติดอันดับ 30 หญิงทรงอานุภาพที่สุดของโลก
สื่อญี่ปุ่นประเมินนายกฯยิ่งลักษณ์สอบผ่าน
ฤาหมู่เกาะโอกินาวาจะเป็นของจีน?
May 11, 2013 13:08

รายการ Go Global ประจำวันที่ 11 พฤษภาคม 2556

 
การเลือกตั้งในมาเลเซียพลิกโฉมหน้าครั้งสำคัญของการเมืองภายใน เมื่อพรรคที่อยู่อำนาจมาหลายทศวรรษ ได้แก่ กลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลบาริซาน แนชันนัล ชนะการเลือกตั้งแบบเฉียดชิว ชี้ถึงจุดสั่นคลอนของพรรคร่วมรัฐบาล แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมา มาเลเซียภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค จะสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่นโยบายของรัฐบาลยังเอื้อประโยชน์แก่ชาวมาเลย์ส่วนใหญ่ สร้างความเหลื่อมล้ำทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่มชาวจีนและอินเดียอย่างมาก
 
รัฐบาลอังกฤษปฏิเสธกล่าวขอโทษต่อจีน ต่อกรณีที่นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายเดวิด แคมรอน ให้การต้อนรับผู้นำศาสนาแห่งทิเบต "ดาไลลามะ" เมื่อปีที่ผ่านมา และย้ำว่า ขอให้มองข้ามจุดต่างด้านการเมืองและอย่าให้ส่งผลกระทบต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่อกัน ทางด้านจีนนั้น ได้ประกาศอย่างชัดเจนต่อการยึดถือนโยบายจีนเดียว และมักใช้เครื่องมือทางการเมืองและเศรษฐกิจในการบีบบังคับนานาประเทศให้ปฏิเสธการตอบรับต่อดาไลลามะ อย่างไรก็ดี คาดว่า ความสัมพันธ์ของจีนและสหราชอาณาจักรน่าจะปรับตัวไปในทางดีขึ้น เมื่อนายแคเมอรอนมีกำหนดเยือนปักกิ่งในเดือนกันยายนปีนี้
 
สร้างสร้างแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อญี่ปุ่น เมื่อนักวิชาการจีนกลุ่มหนึ่งต้องการค้นหาหลักฐานที่อาจยืนยันว่า เกาะโอกินาวาเป็นของจีนมาก่อน นำไปสู่ความขัดแย้งระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นจากการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเซนกากุ/เตียวหยู การออกมาประกาศของนักวิชาการเกี่ยวกับการศึกษานี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของการตอบโต้ต่อกรณีที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนศาลเจ้ายาซุกุนิ สุสานของทหารผ่านศึกญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจีนมองว่า เป็นการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์อันโหดร้ายอย่างต่อเนื่องของญี่ปุ่น
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog