รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 22 ธันวาคม 2555
รศ.ฉลอง สุนทราวณิชย์ ผู้อำนวยการหอประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัย ได้จัดเสวนา "เมื่อสยามสวมหมวกฝรั่ง" การเมือง-แฟชั่น-วัฒนธรรม ได้กล่าวถึงการสวมหมวกไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย วิถีชีวิตของคนไทยกับการสวมหมวกไม่คุ้นเคยกัน คนไทยไม่ได้คิดว่าการสวมหมวกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
แต่เมื่อการสวมหมวกในฐานะที่เป็นวัฒนธรรม-คนไทยในยุคก่อนสมัยใหม่เป็นอย่างไร เมื่อเข้าสู่สมัยใหม่ หมวกมีหน้าที่สัญลักษณ์เพิ่มเติม
หมวกยังจำแนกหน้าที่ฐานะ 5 อย่าง
1.เครื่องประดับศรีษะ เช่น ชฎา เทริด (tiara )หมวกทหารเลว
2.ป้องกันศรีษะ เช่นหมวกกันน็อค หมวกเกราะออกศึก
3.สัญลักษณ์พวกเดียวกัน เช่นหมวกทหารเลว
4. เครื่องป้องกันเรือนร่างเพื่อสุขอนามัย เช่นงอบ หมวกกุยเล้ย
5.สัญลักษณ์ทางศาสนา เช่นหมวกชาวมุสลิม นักบวชศาสนาคริสต์ หมวกชาวยิว
การสวมหมวกไม่ใช่วัฒนธรรมไทย แต่วัฒนธรรมการสวมหมวกมีอยู่จริงในวัฒนธรรมแต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย ซึ่งเริ่มนิยมมาตั้งแต่สมัยราชการที่ 4 แต่แพร่หลายเฉพาะชนชั้นสูงที่รับเอาวัฒนธรรมตะวันตก เมื่อเข้ายุคของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำให้มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ เข้ามาแพร่หลายในสามัญชน และเป็นการบังคับว่าถ้าไม่สวมหมวก ไม่แต่งแหม่ม ไม่นุ่งกางเกง ก็ไม่เป็นคนไทยหรือไม่ได้รับการบริการจาก
จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำให้พลเมืองไพร่สยาม เป็นพลเมืองที่มีอารยะ แต่งตามอารยประเทศตะวันตก ผู้หญิงต้องนุ่งผ้าถุง รองเท้า ถุงเท้า ใส่หมวก และไม่อยากเห็นไพร่ ถูกดูถูกไร้การศึกษา จึงให้แต่งตัวเหมือนกันหมด นี่คือการสร้างชาติ เพื่อไม่แตกต่างจากชั้นปกครองและยังเป็นการยกระดับ ไม่ให้ถากถุยระหว่างรับประทานอาหาร
แต่วัฒนธรรมการสวมหมวกกลับถูกต่อต้านลึกๆจากคนไทย ทำให้ความนิยมการสวมหมวกในยุคมาลานำไทย เสื่อมไปพร้อมกับความเสื่อมในการสร้างชาติและการเสื่อมถอยของอำนาจ จอมพล ป.พิบูลสงคราม