คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่บริโภคข้าวน้อยลง รัฐบาลเลิกอุดหนุนชาวนา เครือข่ายเกษรตกรญี่ปุ่นตั้งข้อสังเกต ข้าวกำลังจะสูญเสียคุณค่าเชิงวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นอัตลักษณ์ของชาติ
นโยยบายข้าวของประเทศญี่ปุ่น
ปี 1900 – รัฐบาลควบคุมผลผลิตข้าวทั้งหมดในประเทศ คือ ซื้อ ขาย สต็อก ในช่วงต้นศตวรรษ ต้องการควบคุมราคาข้าวสารให้ต่ำ กรรมกรค่าแรงต่ำในภาคอุตสาหกรรมในเมืองจะได้ไม่เดือดร้อน
ปี 1947 - ออก food control act
ปี 1960 - อุดหนุนชาวนา ด้วยการทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น 2 เท่า เพื่อให้ชาวนามีรายได้เท่ากับคนที่ทำงานภาคอุตสาหกรรมในเมือง จะเห็นว่า นโยบายรัฐเปลี่ยนจากการอุดหนุนกรรมกรในภาคอุตสาหกรรม (อุดหนุนผู้บริโภค) ในช่วง วิกฤติเศรษฐกิจ มาสู่การอุดหนุนชาวนา เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทาศก.
ปี 1986 - รัฐบาลญี่ปุ่นใช้เงิน 1 ล้านล้านเยน ในการอุดหนุนชาวนา
ปี 1987 - ใช้เงิน 760 ล้านเยน ในการอุดหนุนชาวนา
ปี 1990 - อุดหนุนชาวนาสองทาง คือ พยุงราคาข้าวในปท.ให้สูง และ อุดหนุนชดเชยชาวนาที่ไม่ปลูกข้าว จ้างไม่ให้ชาวนาปลูกข้าว เพื่อควบคุมผลผลิตข้าวไม่ให้มากเกินไป
ปี 1998 - รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามลดพื้นที่ปลูกข้าวให้ได้ 30%
ปี 2016-2017 - ด้วยสนธิสัญญา TPP ส่งผลให้ญี่ปุ่น ต้องปล่อยมือจากการแทรกแซงราคาข้าว ยกเลิกการอุดหนุน
สมาพันธ์เกษตรอินทรย์ญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์กับแจแปนไทมส์ว่า “ข้าวคือหัวใจของประเทศชาติ ถ้ารัฐบาลละทิ้งชาวนา ละทิ้งรากเหง้า ละทิ้งอัตลักษณ์นี้ ด้วยการเลิกอุดหหนุนชาวนาและเปิดรับการค้าเสรีเรื่องข้าว นี่คือถนนไปสู่ความหายนะ เปิดตลาดเสรีเมื่อไหร่ ข้าวญี่ปุ่นร้อยละ 90 จะหายไปจากตลาดแน่ๆ”
Source :
http://www.japantimes.co.jp/life/2016/01/29/food/the-future-of-rice-farming-in-japan/#.WXH5FxXyiM8
https://www.ft.com/content/f4db3b26-6045-11e5-a28b-50226830d644