ไม่พบผลการค้นหา
นักท่องเที่ยวต่างชาติต้องทำประกันก่อนเข้าไทย
Biz insight  : ธุรกิจส่งสินค้าในจีนโตต่อเนื่อง แต่มีปัญหาขยะล้น.
ไทยเป็นศูนย์กลางซื้ออัญมณีระดับโลก
CLIP Biz Feed : อี-สปอร์ต เปิดโลกแห่งเกมให้เป็นโลกแห่งธุรกิจ
ILO เผยอุปสรรคการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในอาเซียน
ไทยหนุนสหพันธ์มหาวิทยาลัยเอเชียสู้ชาติตะวันตก
ชาวจีนเที่ยวเชิงแพทย์เพิ่ม-ช่วย รพ.เอกชนไทยเติบโต
Biz Feed - เงินสะพัดธุรกิจสัตว์เลี้ยงเกือบ 3 หมื่นล้านบาท - Short Clip
เว็บไซต์ตลาดมืดพัวพันหลายประเทศ รวมไทย
ไต้หวันตั้งเป้าขยายความร่วมมือในเอเชีย รวมถึงไทย
 เงินบาทแข็งไม่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวไทย
Tech Feed: Nextbit สมาร์ตโฟนระบบคลาวด์
World Trend - หัวเว่ย ยอดขายพุ่ง 15 เปอร์เซ็นต์ในครึ่งปีแรก - Short Clip
World Trend - Gravitymaster รุ่นใหม่จะวางขายเมษายนนี้ - Short Clip
 โรงแรมสำหรับนักเล่นเกมแห่งแรกในเอเชียเปิดที่ไทเป
Biz Feed - ไทยเบฟฯ ชนะประมูลหุ้น 'ซาเบโก' ผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ในเวียดนาม - Short Clip
Biz Feed - เงินดิจิทัลถูกแฮกครั้งใหญ่ที่สุดในโลกในญี่ปุ่น - Short Clip
Biz Feed - มูลค่าเครื่องบินด้อยค่าฉุดการบินไทยให้ขาดทุน - Short Clip
Biz Feed - แรงงานอาเซียนเสริม ศก.ไทย แต่หนีไม่พ้นถูกละเมิด - Short Clip
Biz Feed - แพทย์แคนาดาค้านขึ้นค่าแรงตัวเอง - Short Clip
ไทยร่วมกระแสนานาชาติทุ่มงบจับตาโลกไซเบอร์
Jun 20, 2017 02:54

รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย ทุ่มงบประมาณสั่งซื้อซอฟแวร์และออกกฎหมายป้องกันความมั่นคงทางไซเบอร์ แต่สื่อต่างประเทศระบุว่าหากมีการใช้กฎหมายเพื่อสอดแนมพลเรือน อาจกระทบสิทธิขั้นพื้นฐานและทำลายบรรยากาศทางธุรกิจ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าปัจจุบัน รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกต่างลงทุนด้านซอฟท์แวร์เพื่อตรวจสอบและจับตาความเชื่อมโยงระหว��างกลุ่มคนในโลกออนไลน์ เพื่อจะนำไปใช้ในการประเมินเครือข่ายและพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้สื่อออนไลน์ต่างๆ โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ระบุว่าแม้แต่หน่วยงานยุติธรรมของสหรัฐฯ ก็ยังใช้งบประมาณไปมากกว่า 5.8 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 197 ล้านบาท ไปกับซอฟท์แวร์สำหรับจับตาและเฝ้าระวังสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ 

ส่วนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยตั้งเป้าว่าจะใช้งบประมาณ 128 ล้านบาทเพื่อลงทุนด้านซอฟท์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลและระบุเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งซอฟท์แวร์ดังกล่าวจะทำหน้าที่รวบรวมและเก็บบันทึกข้อมูลทั้งหมดที่สามารถเข้าถึงได้ในสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และเฝ้าระวังกิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆ ของกลุ่มผู้ใช้สื่อเพื่อความมั่นคงทางไซเบอร์ และปราบปรามการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ โดยรัฐบาลไทยจะเปิดรับข้อเสนอจากผู้ผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ และจะนำซอฟท์แวร์ที่ได้ไปใช้ควบคู่กับกฎหมายไซเบอร์ฉบับใหม่ของไทยในอนาคต

รอยเตอร์รายงานเพิ่มเติมโดยอ้างอิงนายภูมิ ภูมิรัตน์ ที่ปรึกษาของกลุ่มธุรกิจไซเบอร์ G-Able (จีเอเบิล) ของไทย ระบุว่าการลงทุนของรัฐบาลไทยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ มีเป้าหมายเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ ซึ่งอนุญาตให้รัฐเข้าถึงข้อมูลของใครก็ตามที่เป็นผู้ต้องสงสัยว่าละเมิดกฎหมาย แต่สื่อต่างชาติตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมารัฐบาลไทยมักใช้กฎหมายคอมพิวเตอร์กับการจับกุมและดำเนินคดีทางการเมืองมากกว่าคดีอื่นๆ โดยเฉพาะคดีหมิ่นประมาทในสื่อออนไลน์ ทำให้ภาคประชาสังคมและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสื่อออนไลน์บางส่วนกังวลว่าจะมีการใช้ซอฟท์แวร์และกฎหมายใหม่ในการสอดแนมหรือเก็บข้อมูลพลเรือน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลของธุรกิจออนไลน์

นอกจากนี้ยังมีรายงานด้วยว่า หน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลียได้ลงนามความร่วมมือกับตำรวจไทยเพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะการเฝ้าระวังและปราบปรามกลุ่มอาชญากรที่ล่อลวงให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าสู่ขบวนการแชร์ลูกโซ่หรือลงทุนผ่านธุรกิจออนไลน์ปลอม ซึ่งทำให้มีผู้เสียหายหลายรายและหลายประเทศ ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยความร่วมมือระหว่างออสเตรเลียและไทยจะรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล บุคลากร รวมถึงการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการตรวจสอบรวบรวมหลักฐานในโลกออนไลน์

ส่วนกรณีที่เคยเกิดเหตุไวรัสมัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry โจมตีคอมพิวเตอร์กว่า 1 แสน 5 หมื่นเครื่องในกว่าร้อยประเทศทั่วโลกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีรายงานว่ากลุ่มแฮกเกอร์ที่ก่อเหตุนำเครื่องมือโจมตีทางไซเบอร์มาจากการเจาะระบบขโมยข้อมูลที่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ เก็บไว้ ทำให้มีผู้เรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐฯ รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับองค์กรและธุรกิจต่างๆ ซึ่งจากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ชัดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลสหรัฐฯ อาจเกิดขึ้นซ้ำรอยกับรัฐบาลอื่นๆ ได้เช่นกัน 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog