ไม่พบผลการค้นหา
คลี่ปัญหาความเหลื่อมล้ำ- ไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม
19 ปี วัดพระบาทน้ำพุ ภาพสะท้อนสถานการณ์โรคเอดส์ในไทย
วิสัยทัศน์ ทอท.
นโยบายการต่างประเทศในมือ “สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล”
ยกระดับรายได้ ปรับสมดุลย์ใหม่เศรษฐกิจไทย
“ด้วยสองมือพ่อ”
ทิศทางเศรษฐกิจไทยหลังน้ำท่วม
วิเคราะห์การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันสุดท้าย
วิเคราะห์การอภิปรายไม่ไว้วางใจวันแรก
4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ “ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา”
สิงคโปร์ยังมั่นใจลงทุนในไทย
"ท่องเที่ยวไทยครึ่งปีหลัง"
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 5 ปีหลังรัฐประหาร กับชัยชนะ 4 ครั้งของ ทรท.-พปช.- พท.
“บ้านหลังแรก” คนจนไม่มีสิทธิ ?
ตุลาการผิดเลน !
โปรดฟังอีกครั้ง ! “ไม่ยอมรับรัฐประหาร”
การ์ตูนเพื่อผู้ถูกกระทำ ?
“หุ้นไทยครึ่งปีหลัง”
ขับเคลื่อนประเทศไทย ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน 2558 (ตอน1)
ภาคประชาชนเสนอ รัฐบาล'ยิ่งลักษณ์'...แก้ปัญหาคนจน!
เปิดภารกิจ “กรมชลประทาน” ในภาวะน้ำท่วม
Sep 16, 2011 14:05

รายการ  Intelligence ประจำวันที่ 16 กันยายน 2554

 

สถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554  เกิดจากปริมาณฝนที่ตกต่อเนื่องจากอิทธิพลพายุนกเตน  และลมมรสุมพาดผ่านประจำปี   ทำให้เกิดขึ้นน้ำท่วมกระจายเป็นวงกว้าง ตั้งแต่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

 

คุณชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน ชี้แจงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคเหนือผ่าน 4 ลุ่มน้ำหลัก คือ ปิง วัง ยม น่าน  ผ่านเขื่อนหลัก 4 เขื่อน คือ เขื่อนภูมิพล  เขื่อนกิ่วลม  เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อย  ขณะนี้สถานการณ์ในลุ่มน้ำปิง และลุ่มน้ำวังอยู่ในภาวะปกติแล้ว

ส่วนลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่านยังอยู่ในสภาวะน่าเป็นห่วง

 

โดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์  ขณะนี้รองรับน้ำไปแล้วกว่า 95 %  หรือ 9,048 ล้านลูกบาศก์เมตร จากปริมาณความจุเขื่อนที่ 10,640 ล้านลูกบาศก์เมตร   เขื่อนรองรับน้ำได้อีกเพียง 400 ล้านลูกบาศก์เมตร  จึงต้องมีการปล่อยน้ำล้นอัตโนมัติไปจนกว่าฝนจะหมด คาดว่าจะถึงกลางเดือนตุลาคม ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำน่านจะเพิ่มสูงขึ้นต่อไป   ส่วนเขื่อนภูมิพล ไม่มีปัญหาน้ำล้นเหมือนเขื่อนสิริกิติ์ เพราะรองรับน้ำได้อีก 2000 ล้านลูกบาศก์เมตร จากความจุเขื่อน 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

ส่วนสถานการณ์น้ำที่ปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดนครสวรรค์ ปริมาณน้ำปีนี้อยู่ 3042 ลบ.เมตร ต่อวินาที  สูงกว่าหลายปีที่ผ่านมา  แต่น้อยกว่าปี 2549  ปริมาณน้ำสูงสุดอยู่ที่ 5,000 ลย.เมตรต่อวินาที  ขณะที่สถานการณ์น้ำเขื่อนเจ้าพระยา และพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ยังน่าเป็นห่วง เพราะปริมาณน้ำทุกทิศไหลมารวมในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ยังไม่สามารถผันน้ำไปพักในทุ่งเจ้าพระยาได้ รอให้ชาวนาเก็บเกี่ยวผลผลิตหลัง 15 กันยายน

 

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วม – น้ำแล้ง ระยะยาว คือ การบริหารจัดการ 25 ลุ่มน้ำในประเทศไทย อธิบดีกรมชลประทานยอมรับว่า ต้องมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอีก  ขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ชลประทาน 28 ล้านไร่ จากพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด 320 ล้านไร่  ตามแผนพัฒนา 25 ลุ่มน้ำ ถ้าทำเต็มแผน จะเพิ่มพื้นที่ชลประทานเป็น 60 ล้านไร่  ทำให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในภาวะน้ำท่วม และน้ำแล้ง

 
 
Produced by VoiceTV
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog