รายการ Intelligence ประจำวันที่ 19 ส.ค. 54
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยืดเยื้อสู่เข้าสู่ปีที่ 8 ผ่านมาแล้ว 4 รัฐบาล คือรัฐบาลไทยรักไทย รัฐบาลหลังรัฐประหาร 49 รัฐบาลพรรคพลังประชาชน รัฐบาลประชาธิปัตย์ กำลังเดินหน้าเข้าสู่ยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย
การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่ปี 2547 ให้บทบาทนำกับฝ่ายความมั่นคง เสริมด้วยมิติด้านการพัฒนา ในขณะที่ภาคประชาสังคมส่งสัญญาณชัดเจนว่าการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ทไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีทางการทหารเพียงด้านเดียว จำเป็นต้องปรับกระบวนทัศน์ในการมองปัญหา ริเริ่มนโยบายใหม่ ๆ
ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นความขัดแย้งทางสังคมที่ยืดเยื้อ ต้องการความร่วมมือของทุกฝ่ายในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา แนวทางที่เรียกว่า “การสานเสวนา”คือการเปิดพื้นที่พูดคุยระหว่างบุคคลที่ไม่ค่อยมีโอกาสพูดคุย โดยเชิญนักคิด นักปฏิบัติ และผู้เกี่ยวข้องระดับนโยบาย มาประชุมร่วมกัน จึงถูกนำมาใช้
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีมหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการค้นหากุญแจนำไปสู่การคลี่คลายความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เริ่มดำเนินการสานเสาวนาทั้งกลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 จนถึงเดือนมีนาคม 2554 ร่วมหาคำตอบที่เป็นกุญแจนำไปสู่การคลี่คลายความรุนแรง ผลจากการเสวนาในรอบ 1 ปี ถูกนำมาเรียบเรียง เป็น “ภาพอนาคตจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 ภาพ คือ
1. ภาพดอกผกากรอง หมายถึง ฝ่ายรัฐ และฝ่ายขบวนการไม่มีการปรับตัวยังยึดมั่นตามแนวทางเดิม สถานการณ์จะยันกันไปเรื่อย ๆ ผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือประชาชนในพื้นที่
2. ภาพดอกมะลิ หมายถึง ฝ่ายรัฐปรับตัวฝ่ายเดียว ส่วนขบวนการยังไม่ปรับแนวทางต่อสู้ เช่น มีการกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณ ใช้กฎหมายที่เป็นธรรม รัฐเคารพอัตลัก���ณ์ที่แตกต่าง
3. ภาพดอกชบา หมายถึง ฝ่ายขบวนการปรับตัวฝ่ายเดียว แต่รัฐไม่ปรับ เช่น ส่งสัญญาณพร้อมเจรจา เริ่มมีการทำงานการเมือง รัฐจะเป็นฝ่ายตั้งรับสูญเสียมวลชนไปเรื่อย ๆ
4.ภาพการรวมดอกไม้หอม หมายถึง ฝ่ายรัฐ และฝ่ายขบวนการปรับตัวในด้านต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อประชาชนในพื้นที่และต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
Produced by VoiceTV