วิกฤติการเมืองไทยในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา หลังผ่านรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง ช่วงเดือนเมษา-พฤษภา 53 มีผู้เสียชีวิต 91 ราย บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ทำให้การเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 ถูกนำเสนอเป็นวาระชี้ชะตาประเทศไทย หนึ่งในนโยบายที่เกือบทุกพรรคนำมาหาเสียง คือ นโยบายปรองดอง
พรรคเพื่อไทย นำเสนอแผนปรองดอง 7 ขั้น คือ
1.จัดการเลือกตั้ง ให้เสียงประชาชนตัดสินการเดินหน้าประเทศ
2.หลังเลือกตั้ง พรรคที่ได้เสียงมากที่สุดเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล
3.รัฐบาล ต้องบริหารประเทศด้วยความเป็นอิสระ
4.ทหารต้องเคารพผลการเลือกตั้ง ไม่แทรกแซงการเมือง
5.สถาบันต้องถูกเชิดชูไว้เหนือการเมือง
6.แก้ไขรัฐธรรมนูญ รักษาระบบนิติรัฐ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ และลงประชามติ
7.ตั้งคณะกรรมการที่มาจากคู่ขัดแย้งทุกฝ่าย ค้นหาความจริง 91 ศพ และ ออกกฎหมายนิรโทษกรรม ตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา
พรรคภูมิใจไทยยังคงเสนอ แนวทางการออกกฎหมายนิรโทษกรรม เฉพาะประชาชนที่ได้รับโทษ จากการเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับคนเสื้อเหลือง - เสื้อแดง ช่วงเดือนเมษา-พฤษภา 53 โดยจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาอีกครั้ง หลังจากร่างกฎหมายฉบับนี้ตกไปเนื่องจากการยุบสภา
จุดยืนของพรรคภูมิใจไทย ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม ในคดีที่เกี่ยวกับการตัดสิทธิทางการเมืองอันเนื่องจากการยุบพรรค และคดีเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน
พรรคภูมิใจไทย เห็นว่าการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม จะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรองดอง ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง
Produced by VoiceTV