ไม่พบผลการค้นหา
พ.ร.บ คู่ชีวิตกลับออกมาให้ประชาชนได้ยลโฉม หลังจากจากกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่าง และจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2562 ที่โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ เวลา 8.30 – 15.00 ทันทีที่ พ.ร.บ คู่ชีวิตเปิดตัวให้ประชาชนได้ยลโฉมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ว่ายังไม่สมศักดิ์ศรี ไม่มีความเท่าเทียม ใครคิดเห็นอย่างไรก็อยากจะเชิญชวนทุกท่านผ่านคอลัมน์นี้

ในขณะที่การแก้ประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 หมวด “สมรส” ที่ฝ่ายภาคประชาชนส่วนหนึ่ง ต้องการผลักดัน ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิม โดยเปลี่ยนคำที่มีกรอบคิดทางเพศออก เช่น ชายหญิง เป็น บุคคล , สามี ภรรยา เป็น คู่สมรส และ บิดา มารดา เป็น บุพพการี เพื่อเป็นการขยายสิทธิ์ในการสมรสให้ทุกคน โดยไม่มีกรอบทางเพศมากำหนด

ที่ฉันมองว่าเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” เพราะว่า แนวคิด “สมรส” กับ “คู่ชีวิต” ในวันนี้มันเดินทางไปไกลว่านั้นแล้ว และส่วนที่มองว่าเป็นเรื่องเดียวกัน คือ เราควรเอากรอบทางเพศ ออกทั้ง 2 แนวทาง คือ “สมรส” ต้องได้ทุกเพศ และ “คู่ชีวิต” ต้องได้ทุกเพศ หรือเปรียบเทียบกับ P.A.C.S ในประเทศฝรั่งเศส ที่เกิดจากรองรับคู่รักเพศเดียวกัน แต่วันนี้เดินทางมาถึงคู่รักต่างเพศ 

ฉันได้ให้ความเห็นอันนี้ในงาน งาน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ฉันได้พูดประเด็นนี้ และหารือในงาน Gender Talk Episode 3
"ขยับ-จับมือ - คลอดกฎหมายเพื่อความเสมอภาคและเป็นธรรม" 

"เป็นไปได้ไหมคะ ที่เราจะร่วมกันผลักดัน
การแก้ไขประมวลแพ่งพาณิชย์ มาตรา 1448
เพื่อความเท่าเทียมในการสมรส

ด้วยมาตรา 77 บัญญัติไว้ว่า
รัฐพึงให้มีกฎหมายเท่าที่จำเป็น ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับ ประชาชน ในการดำเนินชีวิต หรือ ในการทำมาหากิน 

เพราะว่า พ.ร.บ. คู่ชีวิตไม่มีทางที่จะเท่าเทียมได้
และหากเรามอง พ.ร.บ. คู่ชีวิตไม่เป็นการสมรส
เราก็จะมีแนวคิด Civil Partnership, Civil Union
ที่เราก็ต้องผลักดันให้มีสิทธิได้ถึงทุกเพศ
มันอาจเป็นแนวทางการสร้างครอบครัว ที่จะเป็นเพื่อน หรือใครก็ได้ที่ต้องดูแลกัน อยู่ด้วยกัน ไม่จำเป็นต้อง Romantic Love

เพราะทุกวันนี้คนเป็นโสดมากขึ้น เราอาจต้องมองหาทางออก เพราะว่าความเป็นจริง มีคนจำนวนมากที่อยู่บ้านเดียวกันด้วยปัจจัยต่างกัน มันเป็นไปได้ไหมถ้าเราไม่สมรส แต่อยากอยู่กับเพื่อนสนิท ดูแลกัน หรืออยู่ใครที่เราไว้ใจ เวลาเจ็บไข้ เราควรมีกฏหมายที่สามารถให้สิทธิเพื่อดูแลกันในฐานะที่อยู่ร่วมบ้านเดียวกัน

หรือแม้แต่จะอยู่ด้วยกันแบบ Romantic Love ที่ไม่ผูกมัดเท่าสมรส และออกจากความสัมพันธ์ได้ง่ายกว่า ก็อาจจะเป็นการอยู่ดูใจกันก่อนสมรสเต็มรูปแบบ

จะอยู่กันแบบไหนก็ตาม มันถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องยอมรับว่าในสังคมไทยมีความสัมพันธ์หลายรูปแบบมากขึ้น

ฉันคิดว่าวันนี้ถึงเวลาที่เราควรต้องเห็นทางออกของ พ.ร.บ คู่ชีวิต กับ การสมรสอย่างเท่าเทียมตามประมวลกฎหมาจยแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 แล้วหรือยัง วันนี้เราน่าจะเห็นบทสรุปแล้วใช่ไหม และน่าจะตัดสินใจเลือกทางออกที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน ไม่ใช่ของใคร

ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
ครูธัญ - ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น นักกิจกรรมส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ และสส ปาร์ตี้ลิส ลำดับที่ 25 พรรคอนาคตใหม่
1Article
0Video
14Blog