ไม่พบผลการค้นหา
กัลฟ์ สนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รพ.ราชวิถี สถาบันบำราศนราดูรและสถาบันโรคทรวงอก รวม 29 ล้านบาท ร่วมสู้ COVID-19

กัลฟ์ สนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่รพ.ราชวิถี สถาบันบำราศนราดูรและสถาบันโรคทรวงอก รวม 9 ล้านบาท ร่วมสู้ COVID-19

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) นำโดย นายสิตมน รัตนาวะดี (ที่ 3 จากซ้าย) ในนามตัวแทนนายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ร่วมด้วยนายบุญชัย ถิราติ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการบริหาร มอบเงินรวม 9 ล้านบาท แก่รพ.ราชวิถี สถาบันบำราศนราดูร และสถาบันโรคทรวงอก สนับสนุนการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นท่ามกลางการแพร่ระบาดของ COVID-19

image001.jpg

<ในภาพจากซ้ายไปขวา: นางสาวญาณิศา วัฒนคำนวณ ผู้อำนวยการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), นายบุญชัย ถิราติ กรรมการบริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), นายสิตมน รัตนาวะดี ผู้ช่วยฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), น.พ. อภิชาต วชิรพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร, น.พ. เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก,นางนงนารถ สัตถาผล หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี>

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF มอบเงินสนับสนุนแก่โรงพยาบาล ราชวิถี 4 ล้านบาท สถาบันบำราศนราดูร 4 ล้านบาท และสถาบันโรคทรวงอก 1 ล้านบาท เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับการรักษาผู้ป่วย COVID-19 และผู้ป่วยภาวะการหายใจล้มเหลว เช่น เครื่องช่วยหายใจชนิดอัตราการไหลสูง (High Flow Oxygen Therapy Device) เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวกสองระดับ (BiPAP) เครื่องช่วยหายใจชนิดเคลื่อนย้าย และเครื่องติดตามและเฝ้าระวังสัญญาณชีพผู้ป่วยแบบศูนย์กลาง เป็นต้น

นายสิตมน รัตนาวะดี ในนามตัวแทนนายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ทางกลุ่มบริษัทกัลฟ์มีความตั้งใจและมีส่วนเข้าไปช่วยเหลือด้านสาธารณสุขและด้านการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง เราตระหนักดีว่าขณะนี้หน่วยงานทางการแพทย์หลายแห่งประสบปัญหาขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงประสงค์ที่จะสานต่อเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ด้านนี้โดยการมอบเงินสนับสนุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้เพียงพอสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่มียอดเพิ่มขึ้นตามลำดับ”

“กลุ่มบริษัทกัลฟ์ขอเป็นกำลังใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขในทุกภาคส่วน ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อยับยั้งสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 กัลฟ์หวังว่าความร่วมมือของทุกคนจะช่วยทำให้ยอดของผู้ป่วย COVID-19 ลดลงในเร็ววัน” นายสิตมน รัตนาวะดี กล่าว

น.พ. อภิชาต วชิรพันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันบำราศนราดูร กล่าวว่า “ทางสถาบันบำราศนราดูรขอขอบคุณทางกลุ่มบริษัทกัลฟ์เป็นอย่างมาก เงินที่ได้โรงพยาบาลจะไปจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ เพราะถ้าโรงพยาบาลมีเครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงหนักให้ได้รับการรักษาที่เป็นไปตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตสูง แม้ว่าโรคนี้จะน่ากลัว แต่ก็ป้องกันได้ ถ้าทุกคนร่วมกัน Social Distancing (เว้นระยะห่างทางสังคม) และมี Social Responsibility (ความรับผิดชอบต่อสังคม) ถ้าร่วมมือกันเราก็จะควบคุมสถานการณ์ได้”

ด้านสถาบันโรคทรวงอก น.พ. เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการ กล่าวว่า “เนื่องจากอาการของโรคโควิด-19 เป็นอาการที่เกี่ยวกับปอดและทางเดินหายใจ เราจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อที่จะเข้ามารักษา ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมของสถานที่ รวมไปถึงเรื่องของเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ โดยในแต่ละครั้งที่มีคนไข้ติดเชื้อเข้ามารับการรักษา จะต้องใช้เวลาเตรียมการนานกว่า 2 ชั่วโมง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดทั้งทีมแพทย์และคนไข้เอง ซึ่งการที่กัลฟ์บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการซื้อเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์ให้กับสถาบันโรคทรวงอกในครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล และช่วยให้การรักษาของทีมแพทย์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

“ทางโรงพยาบาลราชวิถีต้องขอขอบคุณกลุ่มบริษัทกัลฟ์ด้วยใจจริง โดยเงินที่ได้มาจะนำไปจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จะเป็นประโยชน์และได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยอย่างแน่นอน” นางนงนารถ สัตถาผล หัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี กล่าว

มอบ 20 ล้านแก่คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ก่อนหน้านี้กัลฟ์ได้การมอบเงิน 20 ล้านให้แก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจและเครื่องช่วยพยุงการทำงานของปอดและหัวใจหรือเครื่อง ECMO สำหรับผู้ป่วยโรค COVID-19 การร่วมสนับสนุนการก่อสร้าง พัฒนา และปรับปรุงสถานพยาบาล รวมไปถึงการสนับสนุนด้านการศึกษาแก่นักศึกษาแพทย์เพื่อประโยชน์ในระยะยาว

บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF มอบเงินสนับสนุนจำนวน 20 ล้านบาทแก่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจจำนวน 5 เครื่อง และเครื่องช่วยพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ (เครื่องเอคโม – ECMO) จำนวน 3 เครื่อง ซึ่งเครื่อง ECMO มีศักยภาพในการทำงานทดแทนปอดและหัวใจได้ ช่วยเหลือผู้ป่วยที่ปอดหรือหัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ หรือเกิดความผิดปกติขึ้น นับเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่สำคัญและขาดแคลนท่ามกลางการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19)

GULF presents 20M donation to Ramathibodi Hospital.JPG

<จากซ้ายไปขวา: นายสิตมน รัตนาวะดี ผู้ช่วยฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), นางพรทิพา ชินเวชกิจวานิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), ศ. นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, ศ. นท. หญิง พญ.ศิรินธรา สิงหรา ณ อยุธยา รองคณบดีฝ่ายวิเทศน์สัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, อ. นพ. ไพโรจน์ บุญคงชื่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์, ผศ. นพ. ภาวิทย์ เพียรวิจิตร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล>

นายสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ผ่านมากัลฟ์ได้มีการมุ่งดำเนินโครงการด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง สำหรับในโอกาสนี้บริษัทฯ ตระหนักถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเยอะ เราจึงขอมอบเงินสนับสนุนจำนวน 20 ล้านเพื่อให้ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ เพื่อรองรับและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตผู้ป่วย COVID-19 รวมถึงยังสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคปอดและหัวใจต่อไปได้อีกด้วย”

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในขณะนี้ ก็ทำให้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องเร่งเตรียมการในการรักษาผู้ป่วยขั้นรุนแรง ซึ่งอาจจะมีจำนวนมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเครื่อง ECMO และเครื่องช่วยหายใจ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ต้องใช้ในสถานการณ์เช่นนี้”

สำหรับการติดเชื้อไวรัส COVID-19 นั้น ผศ. นพ.กำธร มาลาธรรม หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “ผู้ป่วยร้อยละ 85 มีอาการน้อย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่เรากังวลกลุ่มร้อยละ 15 ที่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมีอาการรุนแรง ลุกลามอย่างรวดเร็ว ปอดอักเสบ ต้องช่วยการหายใจด้วยอุปกรณ์พิเศษอย่างเครื่อง ECMO ที่ทำหน้าที่เหมือนปอดและหัวใจเทียม”

000_1PH3QH.jpg

“สถานการณ์การติดเชื้อในประเทศไทยยังเป็น Golden Period ที่ผู้ติดเชื้อยังไม่มาก แต่เริ่มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ยังเป็นไปได้สองทางคือ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แบบใน สิงคโปร์ หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแบบ อิตาลี อิหร่าน บุคลากรทางการแพทย์หวังว่าจะเป็นแบบแรก เพื่อที่บุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์จะยังมีเพียงพอสำหรับการรักษาผู้ป่วย ซึ่งการป้องกันนั้นย่อมสำคัญกว่าการรักษา ยิ่งยังไม่มีวัคซีน เราจึงขอให้ทุกคนร่วมกันดูแลตัวเอง เพื่อที่จะได้ผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน” รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว

เครื่องช่วยพยุงการทำงานของปอดและหัวใจ (เครื่อง ECMO) ใช้เพื่อประคับประคองเพื่อรอให้อวัยวะกลับมาทำงานเป็นปกติ เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลวจากการติดเชื้ออย่างรุนแรงที่ปอด รวมถึงประคับประคองระหว่างรอการปลูกถ่ายหัวใจหรือปอด นับเป็นอีกนวัตกรรมทางแพทย์ที่ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในโรงพยาบาล