ไม่พบผลการค้นหา
ผอ.สำนักควบคุมยาสูบ ชี้แจงความต่างของประกาศพื้นที่ปลอดบุหรี่ที่มีผลบังคับใช้ 3 ก.พ. หวังคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ ย้ำต้องปฏิบัติตาม ครอบคลุมพื้นที่โรงเรียน โรงพยาบาลและทางเข้า - ออก อีก 5 เมตร อ้างไม่รู้หรือเป็นต่างชาติ ไม่ได้ ฝ่าฝืนปรับ 5,000 บาท

นพ.ชยนันท์ สิทธิบุศย์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าว ถึงความแตกต่างของประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่ที่มีการแก้ไข เรื่องกำหนดประเภทหรือชื่อของสถานที่สาธารณะ สถานที่ทำงานและยานพาหนะให้ส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดของสถานที่และยานพาหนะ เป็นเขตปลอดบุหรี่และมีผลบังคับใช้ 3 ก.พ. 2562 ว่า ประกาศนี้จะมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่องพื้นที่สาธารณะ ห้ามมิให้มีการสูบบุหรี่ เพื่อคุ้มครองประชาชน 

แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 

1.พื้นที่มีการห้ามสูบบุหรี่เด็ดขาด กินพื้นที่ตั้งแต่ ทางเข้า-ออกไปอีก 5 เมตร ได้แก่ สถานศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา คือ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา สถานพยาบาล ทุกระดับด้วยเช่นกัน  

2.สถานที่สาธารณะ ได้แก่ สวนสาธารณะ,วัด,ตลาด ,ป้ายรถเมล์  และวิน มอร์เตอร์ไซต์ พื้นที่เหล่านี้ ต้องปลอดบุหรี่ 100 %  

3.พื้นที่สามารถกำหนดให้มีเขตบุหรี่ได้ แล้วแต่นโยบายของหน่วยงานนั้นๆ จะจัดให้มีที่สูบก็ได้ไม่มีก็ได้ ได้แก่ สถานที่ราชการ ,รัฐวิสาหกิจ ,ท่าอากาศยาน โดยที่ผ่านมามีการกำหนดให้มีการจัดบริการหรือห้องสูบบุหรี่เป็นการเฉพาะในสนามบินทั้งสุวรรณภูมิ และเชียงใหม่ ซึ่งสถานที่เหล่านี้ ต้องไม่โจ่งแจ้งหรือสะดุดตา อยู่ในพื้นที่ทางเข้า-ออก 

4.พื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ทางเดินสวนอาหาร ทางเดินของคอนโดมิเนียมถือว่าเป็นพื้นที่มีต้องการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งนี้ยังความ หมายร่วมถึงบริเวณหน้าทางช่องระบายอากาศก็ครอบคลุมถือว่าเป็นพื้นที่สาธารณะด้วยเช่นกัน  

นพ.ชยนันท์ กล่าวด้วยว่า สำหรับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าวจะได้รับโทษปรับ 5,000 บาท ขณะเดียวกันหากผู้ประกอบการปล่อยให้มีการสูบบุหรี่ในพื้นที่ก็จะได้รับโทษปรับ 3,000 บาทเช่นกัน อีกทั้งกรณีผู้กระทำผิดฝ่าฝืนจะอ้างความเป็นต่างชาติก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องเคารพกฎหมาย เหมือนกับคนไทยไปสิงค์โปร์ห้ามถ่มน้ำลายลงพื้นที่ ยังต้องปฏิบัติตาม ฉะนั้นคนไทยหรือไกด์ทัวร์ต้องควบคุมตักเตือนนักท่องเที่ยวด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง