ไม่พบผลการค้นหา
แม้ทีมชาติจีนจะไม่ผ่านรอบคัดเลือกเป็น 1 ใน 32 ทีม เข้าไปฟาดแข้งในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่ประเทศรัสเซีย (2018 FIFA World Cup) แต่เม็ดเงินจากกลุ่มธุรกิจจีนกลับเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักให้กับ FIFA ในช่วงที่เงินสนับสนุนฟุตบอลโลกน้อยลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี จากประเด็นอื้อฉาวเรื่องการทุจริตในองค์กร FIFA

นับตั้งแต่ฟุตบอลโลกปี 2006 ที่ประเทศเยอรมนีมูลค่าเม็ดเงินสปอนเซอร์ที่ทางสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศหรือ “FIFA” ได้รับ พุ่งสูงขึ้นเป็นเท่าตัว จาก 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เยอรมัน พุ่งสู่ 1,624 ล้านในฟุตบอลโลกที่บราซิลเมื่อ 4 ปีก่อน ด้วยธุรกิจที่เข้ามาของเกี่ยวกับฟุตบอลมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เม็ดทางการตลาดมหาศาลเงินไหลไปสู่วงการฟุตบอลทั่วโลก กลายเป็นกีฬาที่เดิมเติบโตด้านมูลค่าอย่างก้าวกระโดด เห็นได้จากมูลค่าการแข่งขันฟุตบอลในลีกต่างๆ ที่ได้เงินทั้งสปอนเซอร์และค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แต่ฟุตบอลโลก 2018 ครั้งนี้ที่รัสเซีย พบว่าตัวเลขจำนวนเงินสปอนเซอร์ที่ FIFA ได้รับกลับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปี เหลือ 1,450 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าสาเหตุจากที่ FIFA เผชิญคำถามเรื่องความโปร่งในองค์กร ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ FIFA หลายคนถูกตำรวจสากลเข้าจับกุมระหว่างมีการประชุมในสวิสเซอร์แลนด์เมื่อปี 2015 จากการที่เข้าไปพัวพันกับการคอรัปชั่น และติดสินบน ทำให้มีสปอนเซอร์ทั้งระดับพาร์ทเนอร์หลัก, ผู้สนับสนุนสากล และผู้สนับสนุนระดับท้องถิ่นหลายรายประกาศถอนตัว  โดยมีแบรนด์ชื่อดังที่เป็นสปอนเซอร์หลายใหญ่อย่าง Sony, Johnson & Johnson และCastrol ที่ได้ประกาศถอนตัวไป

“สปอนเซอร์รายใหม่โดยเฉพาะจีน ได้ช่วยให้ FIFA พ้นจากมรสุม” ข้อความจาก รายงาน “World Football 2018” ของ Nielsen บริษัทด้านการตลาดระดับโลก รายงานชิ้นนี้ระบุว่าฟุตบอลโลก 2 ครั้งที่ผ่านมาสปอนเซอร์จากทวีปเอเชียมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 39% ในฟุตบอลโลกรัสเซีย จากฟุตบอลโลกที่บราซิลซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ 20%

เอเชียกลายมาเป็นภูมิภาคที่สนับสนุนฟุตบอลโลกสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีนที่พาเหรดเข้าร่วมสนับสนุน อย่างเครื่องใช้ฟ้าแบรนด์ Hisense  ไปจนถึง Vivo สมาร์ทโฟนสัญชาติจีน หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์ Mengniu ที่ได้สิทธิ์ในการขายโยเกิร์ตและไอศกรีมภายในสนามฟุตบอลที่ใช้ทำการแข่งขัน

ที่ฮือฮาที่สุดจะเป็น เครือบริษัท Wanda Group ที่เป็นบริษัทจากจีนเจ้าแรกที่ได้ที่เป็นสัญญาเป็นพาร์ทเนอร์หลักกับ FIFA (คือผู้สนับสนุนระดับสูงสุดของฟุตบอลโลก) ร่วมกับอีก 6 บริษัทอย่าง Coca Cola , Adidas, Hyundai, Gazprom และVisas แม้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าอย่างเป็นทางการของสัญญาระหว่าง FIFA กับทาง Wanda Group แต่คาดกันไว้เป็นหนึ่งในข้อตกลงทางธุรกิจที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของ FIFA ซึ่งกินระยะยาวไปถึงฟุตบอลโลกปี 2030 ทำให้ FIFA พอจะเอาตัวรอดจากปัญหาความถดถอยด้านการเงินหลังมีวิกฤตความเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งขององค์กรไปได้

ทั้งนี้ Wanda Group มีบริษัทในเครือเป็น InFront Media บริษัทด้านการตลาดกีฬาที่ ถือสิทธิ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์การถ่ายทอดฟุตบอลโลกครั้งนี้ และในปี 2022 ที่ประเทศกาตาร์ ใน 26 ประเทศทั่วทวีปเอเชีย

Simon Chadwick ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวองค์กรด้านกีฬาจากมหาวิทยาลัยซัลฟอร์ด ได้ให้มุมมองเรื่องนี้กับ The Guardian ว่า เหล่าบริษัทในจีนมีมุมมองด้านศีลธรรมแตกต่างจากในตะวันตก ที่จะบอกว่าได้กลุ่มทุนจีนเข้ามาสนับสนุน FIFA ในยุคของ Gianni Infantino ประธาน FIFA คนปัจจุบันซึ่งชูนโยบายเรื่องความโปร่งใส ซึ่งเข้ามาแทน Sepp Blatter ประธานคนก่อนซึ่งโดนกล่าวหาเรื่องคอรัปชั่นจนต้องออกจากตำแหน่งไปในปี 2015 ทำให้ปีต่อมาเพียงปีเดียวเงินค่าสปอนเซอร์ของ FIFA ลดลงถึง 369 ดอลลาร์สหรัฐฯ มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ จากการที่บริษัทจากยุโรปและอเมริกาเหนือที่เป็นสปอนเซอร์หลักมาโดยตลอดได้ถอนตัวออกไป เป็นช่องว่างให้กับการเข้ามาของธุรกิจจีนได้เปิดโอกาสให้แบรนด์จากจีนเข้าถึงผู้ชมหลายล้านคนผ่านมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุด

การรุกคืบเข้ามาใน FIFA ของกลุ่มธุรกิจจีนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง (Xi Jinping) ที่ชื่นชอบในฟุตบอลเป็นการส่วนตัว และที่ผ่านรัฐบาลจีนได้ทำการพัฒนาฟุตบอลในประเทศให้เติบโตและกลับมาเป็นที่นิยมในจีนมากขึ้น โดยเห็นได้จากมูลค่าฟุตบอลลีกในประเทศจีนที่สามารถใช้เม็ดเงินดึงผู้เล่นดาวดังจากฝั่งยุโรปได้ และจำนวนแฟนฟุตบอลในจีนที่สูงขึ้น ตามรายงานของ Nielsen ได้เผยตัวเลขว่ามีสัดส่วนคนที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองให้ความสนใจในกีฬาฟุตบอลมากขึ้นจากในปี 2017

ทั้งนี้การได้สิทธิ์เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ถือเป็นความฝันของรัฐบาลจีนมาโดยตลอดในระยะเวลาหลายปี และการที่ทุนสัญชาติจีนเข้าไปหนุนหลัง FIFA ที่กำลังพยายามจะฟื้นฟูจากความตกต่ำ อาจจะปูทางไปสู่ความความฝันอันยิ่งใหญ่ของรัฐบาลจีนก็เป็นได้

Smanachan Buddhajak
0Article
0Video
0Blog